แผนที่สถานภาพแนวปะการัง
แผนที่สถานภาพแนวปะการังในน่านน้ำไทย
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ภายใต้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการสำรวจสถานภาพแนวปะการังทั่วประเทศ ซึ่งในอดีต ในปี พ.ศ. 2542 ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือแผนที่แนวปะการังในน่านไทย 2 ฉบับ คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน (โดยขณะนั้นหน่วยงานอยู่ในสังกัดของกรมประมง) การสำรวจครั้งนั้นได้ใช้วิธีสำรวจแบบ Manta-tow technique ซึ่งเรือลากนักดำน้ำไปบนผิวน้ำเพื่อประเมินสถานภาพแนวปะการังด้วยสายตา เป็นการสำรวจอย่างหยาบ ได้ข้อมูลรวดเร็วและครอบคลุมเป็นพื้นที่กว้าง ทำให้เห็นสถานภาพของแนวปะการังเกือบทั่วประเทศ มีแหล่งตกสำรวจอยู่บ้างเล็กน้อย
เป็นความจริงที่ว่า แนวปะการังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลจากผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภัยทางธรรมชาติ การติดตามสำรวจสถานภาพแนวปะการังจำเป็นต้องดำเนินการทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันให้ได้มากที่สุด ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งที่อยู่ทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ) จึงได้สำรวจสถานภาพแนวปะการังโดยวิธี Manta-tow technique ขึ้นอีกครั้งหลังจากแนวปะการังของประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปในทางลบครั้งใหญ่เนื่องจากผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาวในปี พ.ศ. 2553 โดยเสนอเป็นแผนที่แสดงสถานภาพแนวปะการังตามชายฝั่งและเกาะต่างๆ ทั่วประเทศ ซี่งเป็นผลจากการสำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง 2558
สถานภาพแนวปะการังในน่านน้ำไทยรายจังหวัด