ขนาด
วาฬ/โลมา
  • 9 สิงหาคม 2556
  • 447
วาฬ/โลมา สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ภาวะคุกคามต่อวาฬและโลมา

          ในอดีต วาฬและโลมา เป็นหนึ่งในอาหารสำคัญของประเทศที่มีพื้นที่ติดทะเล รวมถึงการใช้ไขมันมาผลิตเป็นเทียนไข ถึงแม้ว่าการล่าสัตว์กลุ่มนี้จะมีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อจำนวนประชากรของวาฬและโลมามาก เพราะเครื่องมือและเรือที่มีขนาดเล็กและใช้พลังงานจากลมหรือจากแรงคน จนถึงช่วงปี ค.ศ.1800 ที่มีการพัฒนาเรือที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำท ำให้มนุษย์สามารถเดินทางไปในทะเลได้ไกลและเร็วขึ้น รวมถึงเครื่องมือในการล่าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ปืนยิงฉมวกขนาดใหญ่ ทำให้สามารถติดตามวาฬและโลมาเพื่อล่าได้ดีขึ้น ส่งผลให้จำนวนประชากรของสัตว์เหล่านี้ทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงทศวรรษที่ผ่านมาที่ปัญหาการล่าวาฬและโลมาเริ่มลดลง แต่ภัยคุกคามด้านอื่นกลับเพิ่มขึ้นเช่น การติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง การปนเปื้อนของมลพิษทางทะเล มลภาวะทางเสียงจากการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม และเสียงโซน่าจากเรือดำน้ำของทหาร ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของปลาวาฬและโลมาบางชนิดทำให้เกิดการเกยตื้นหมู่ได้

          สถิติการเกยตื้นสัตว์ทะเลหายากในช่วง 16 ปีงบประมาณ (ตุลาคม 2546 – กันยายน 2561) พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นรวม 4,539 ตัว คิดเป็นค่าเฉลี่ยปีละ 284±170 ตัว  ในจำนวนนี้ประกอบด้วยเต่าทะเล 2,404 ตัว คิดเป็น 53% โลมาและวาฬ 1,937 ตัว คิดเป็น 43% และพะยูน 198 ตัว คิดเป็น 4% โดยในแต่ละปีมีแนวโน้มของการเกยตื้นเพิ่มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะการแจ้งข่าวสารการเกยตื้นที่สะดวกและความตระหนักในการรับรู้ของชุมชนชายฝั่งที่เพิ่มมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยการเกยตื้นต่อปีของเต่าทะเล โลมาวาฬ และพะยูน เท่ากับ 150±104, 121±69, และ 12±4 ตัวต่อปี ตามลำดับ

          ข้อมูลรายงานสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากเกยตื้น ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นทั้งหมด 865 ตัว โดยเป็นโลมาและวาฬ 273 ตัว (ร้อยละ 31 ) พะยูน 24 ตัว (ร้อยละ 3) และเต่าทะเล 568 ตัว (ร้อยละ 66) 

 

ซากวาฬและโลมาเกยตื้น

ซากวาฬและโลมาเกยตื้น

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin