ขนาด
วาฬ/โลมา
  • 5 สิงหาคม 2556
  • 8,541
วาฬ/โลมา สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ชนิดพันธุ์วาฬและโลมา

          วาฬและโลมา จัดเป็นสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งมีหลักฐานว่าวิวัฒนาการมาจากสัตว์บกจำพวก Mesonyx ซึ่งมีรูปร่างคล้ายหมาผสมหนู เมื่อประมาณ 45 ล้านปีมาแล้ว

วาฬและโลมา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

          1. ชนิดที่ไม่มีฟัน (Baleen whale) ซึ่งจะมีแผงกรอง (Baleen plate) ทำหน้าที่กรองอาหาร จัดอยู่ในกลุ่ม Suborder Mysticeti|

          2. ชนิดที่มีฟัน (Toothed whale) จัดอยู่ในกลุ่ม Suborder Odontoceti.

จากการศึกษาปลาวาฬและโลมาที่มีชีวิตอยู่ทั่วโลกพบทั้งหมด 78 ชนิดใน 13 วงศ์ ปัจจุบันในประเทศไทยสำรวจพบวาฬและโลมา จำนวน 27 ชนิด จาก 5 วงศ์

          วาฬและโลมามีการปรับตัวหลายๆ ประการเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในน้ำ เช่น มีวิวัฒนาการรูปร่างให้เพรียวทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็ว และเนื่องจากยังใช้ปอดในการหายใจ จมูกหรือช่องหายใจจึงเลื่อนไปอยู่บนสุดของส่วนหัว เพื่อสะดวกในการหายใจ ท่อหายใจกับช่องปากแยกกันเพื่อสะดวกในการกินอาหารใต้น้ำ มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นทดแทนขน ซึ่งลดรูปไปเนื่องจากไม่เหมาะสมในการใช้งานใต้น้ำ โดยการมีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายตอร์ปิโดทำให้มีอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวต่อปริมาตรต่ำ เป็นการลดพื้นที่ที่สัมผัสน้ำ การปรับปรุงโดยเพิ่มชั้นไขมัน (Blubber) ใต้ผิวหนังให้หนาขึ้นเป็นฉนวนกันความร้อน โดยในชั้นไขมันจะมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงน้อยป้องกันการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำ ระบบเส้นเลือดดำจะถูกล้อมด้วยเส้นเลือดแดงซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า นอกจากนั้นการปรับตัวโดยลดอัตราการหายใจลง เป็นการลดการสูญเสียความร้อนที่ออกมากับอากาศและเป็นผลให้วาฬและโลมาสามารถดำน้ำได้นาน โดยเฉพาะวาฬหัวทุย (Physeter macrocephalus) สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 3,000 เมตร ลูกโลมาและวาฬแรกเกิดจะมีขนาดเมื่อเทียบกับตัวแม่ค่อนข้างใหญ่กว่าสัตว์ชนิดอื่น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย

          ลูกวาฬและโลมาบางชนิดมีขนอยู่ 2 ข้างของแนวปากบน (Snout)และจะหดหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬและโลมาส่วนใหญ่คลอดลูกโดยส่วนหางออกมาก่อน เพื่อให้ส่วนของช่องหายใจเป็นส่วนสุดท้ายที่ออกมาสัมผัสน้ำทะเล และสามารถว่ายน้ำได้ทันที โดยโผล่ขึ้นมาสูดอากาศหายใจครั้งแรกในทันทีที่คลอด ลูกแรกเกิดมีขนาดใหญ่ประมาณ 40% ของแม่

จากการศึกษาจนถึงปัจจุบัน พบวาฬและโลมาในประเทศไทย จำนวน 27 ชนิด จัดอยู่ใน 6 วงศ์ ดังนี้

          1. วงศ์ Balaenopteridae ปลาวาฬชนิดไม่มีฟัน เป็นวงศ์วาฬชนิดไม่มีฟัน กลุ่ม Rorquals whale (วาฬที่มีอกเป็นร่องๆ) ลักษณะเด่นของวงศ์นี้คือ มีครีบหลังรูปสามเหลี่ยมอยู่ส่วนท้ายลำตัวและช่วงท้อง จากใต้คางลงไปมีลักษณะเป็นร่องๆ ยาวไปตามลำตัว 30-100 ร่อง วาฬวงศ์นี้ทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิดใน 3 สกุล รวมทั้งวาฬสีน้ำเงิน (Blue whale) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้น ในประเทศไทยพบวาฬชนิดไม่มีฟันรวม 5 ชนิด คือ

          2. วงศ์ Physeteridae มีอยู่ 1 ชนิด คือ

  ชื่อไทย-อังกฤษ และชื่อวิทยาศาสตร์ อันดามัน อ่าวไทย ข้อมูลเพิ่มเติม
วาฬหัวทุย (Great sperm whale) Physeter macrocephalus (Linnaeus, 1758) /    

          3. วงศ์ Kogiidae มีอยู่ 2 ชนิด คือ

  ชื่อไทย-อังกฤษ และชื่อวิทยาศาสตร์ อันดามัน อ่าวไทย ข้อมูลเพิ่มเติม
วาฬหัวทุยเล็ก (Pygmy sperm whale) Kogia breviceps (de Blainville, 1838) / /  
วาฬหัวทุยแคระ (Dwarf sperm whale) Kogia simus (Owen, 1866)  /    

          4. วงศ์ Ziphiidae มีอยู่ 3 ชนิด คือ

  ชื่อไทย-อังกฤษ และชื่อวิทยาศาสตร์ อันดามัน อ่าวไทย ข้อมูลเพิ่มเติม
วาฬฟันสองซี่ (Ginkgo toothed whale) Mesoplodon ginkgodens (Nishiwaki and Kamiya, 1958) /    
วาฬเบลน์วิลล์ (Blainville's beaked Whale) Mesoplodon densirodtris  /    
วาฬคูเวียร์ (Cuvier’s beaked whale) Ziphius cavirostris (Cuvier, 1823) /    

          5. วงศ์ Delphindae มีอยู่ 15 ชนิด คือ

  ชื่อไทย-อังกฤษ และชื่อวิทยาศาสตร์ อันดามัน อ่าวไทย ข้อมูลเพิ่มเติม
วาฬเพชฌฆาต (Killer whale) Orcinus orca (Linnaeus, 1758)  /  /  
วาฬเพชฌฆาตดำ (False Killer whale) Pseudorca crassidens (Owen, 1846)  /  /  
วาฬเพชฌฆาตเล็ก (Pygmy killer whale) Feresa attenuata (Gray, 1875)  /  /  
วาฬนำร่องครีบสั้น (Short-finned pilot whale) Globicephala macrorhynchus (Gray, 1846)  /  /  
วาฬหัวแตงโม (Melon-headed whale) Peponcephalus electra (Gray, 1846)    /  
โลมาเผือก,หลังโหนก (Indo-Pacific humpback dolphin) Sousa Chinensis (Osbeck,1765)  /  /  
โลมาปากขวด (Indo-Pacific bottlenose dolphin) Tursiops aduncus (Ehrenberg, 1832)  /  /  
โลมาฟันห่าง (Rough-toothed dolphin) Steno bredanensis (Lessen, 1828)  /  /  
โลมาปากยาว (Long-beaked common dolphin) Delphinus capensis (Gray, 1828)  /  /  
โลมากระโดด (Spinner dolphin) Stenella longirostris (Gray, 1828)  /  /  
โลมาแถบ (Striped dolphin) Stenella coeruleoalba (Meyen, 1833)  /  /  
โลมาลายจุด (Spotted dolphin) Stenella attenuata (Gray, 1846)  /  /  
โลมาฟราเซอร์ (Fraser’s dolphin) Lagenodelphis hosei (Fraser, 1956)  /    
โลมาอิรวดี , หัวบาตร (Irrawaddy dolphin) Orcaella brevirostris (Gray, 1866)  /  /  
โลมาริสโซ (Risso’s dolphin) Grampus griseus (Cuvier, 1812)  /  /  

          6. วงศ์ Phocoenidae มีอยู่ 1 ชนิด คือ

  ชื่อไทย-อังกฤษ และชื่อวิทยาศาสตร์ อันดามัน อ่าวไทย ข้อมูลเพิ่มเติม
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise) Neophocaena phocaenoides (Cuvier, 1829) / /  
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • พะยูน
    พะยูน
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์