ขนาด
วาฬ/โลมา
  • 19 กรกฎาคม 2566
  • 286
วาฬ/โลมา สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สถานภาพโลมาและวาฬ (2564)

          ชนิดโลมาและวาฬที่มีการศึกษาในเชิงสถานภาพ การประมาณจำนวนประชากร และการแพร่กระจายจำกัดอยู่ในกลุ่มประชากรใกล้ฝั่ง 5 ชนิด ได้แก่ โลมาปากขวด โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาหลังโหนก โลมาอิรวดี และวาฬบรูด้า โดยปีงบประมาณ 2560 พบโลมาและวาฬกลุ่มนี้ จำนวน 1,552 ตัว ปีงบประมาณ 2561 พบจำนวน 2,143 ตัว ชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด คือ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ รองลงมา คือ โลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด และวาฬบรูด้า ปีงบประมาณ 2562 พบโลมาและวาฬจำนวน 2,181 ตัว ชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด คือ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ รองลงมา คือ โลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด และวาฬบรูด้า ปีงบประมาณ 2563 พบโลมาและวาฬจํานวน 2,542 ตัว ชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด คือ โลมาอิรวดี รองลงมา คือ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด และวาฬบรูด้า ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2564 มีการประเมินประชากรโลมาและวาฬประจำถิ่น ได้จำนวน 2,273 ตัว ชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด คือ โลมาอิรวดี รองลงมาเป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด และวาฬบรูด้า ตามลำดับ ส่วนแนวโน้มประชากรโลมาและวาฬพบว่าเพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563 และลดลงในปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากในช่วง ปี พ.ศ. 2564 ไม่สามารถดำเนินการสำรวจภาคสนามได้อย่างเต็มที่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด - 19)

          การประเมินประชากรโลมาและวาฬ ใช้ข้อมูลจากการสำรวจในพื้นที่สําคัญ (hot spot) ร่วมกับข้อมูลพื้นที่การแพร่กระจายจากการพบเห็น และพื้นที่การเกยตื้น โดยการสำรวจสถานภาพสัตว์ทะเลหายากกลุ่มของโลมาและวาฬที่ผ่านมาเป็นการประเมินโดยใช้ข้อมูลจากการสํารวจในพื้นที่ที่สําคัญ (hot spot) และมีประชากรโลมาและวาฬประจำถิ่นเป็นหลัก ซึ่งไม่ครอบคลุมพื้นที่การแพร่กระจายทั้งหมด ดังนั้นวิธีการประเมินจำนวนประชากรแบบใหม่ (Re-estimated) ซึ่งมีแนวทางการประเมินโดยใช้ข้อมูลจากการสํารวจในพื้นที่สำคัญร่วมกับข้อมูลพื้นที่การแพร่กระจายของแต่ละชนิด คือรวมข้อมูลจากพื้นที่การพบเห็นและพื้นที่การเกยตื้นมาใช้ประเมินจำนวนประชากรสําหรับกลุ่มโลมาและวาฬใกล้ฝั่ง ซึ่งสามารถประมาณจำนวนประชากรกลุ่มโลมาและวาฬใกล้ฝั่งในปี พ.ศ. 2564 ได้ประมาณ 8,779 ตัว

          สูตรคำนวณ
          ความหนาแน่น (Density) : D = จำนวนประชากรในพื้นที่สํารวจ (Hotspot/Field survey area)
          พื้นที่การแพร่กระจาย (Coverage) : C = พื้นที่การพบเห็นและพื้นที่การเกยตื้นแต่ละชนิด (Buffered of Strandings and Sightings)
          จำนวนประชากรทั้งหมด (Whole population size) = จำนวนประชากรในพื้นที่สํารวจ (Hotspot/Field survey area) × พื้นที่การแพร่กระจายแต่ละชนิด (Buffered of Strandings and Sightings) : D × C
          สําหรับกลุ่มประชากรโลมาและวาฬที่อยู่นอกชายฝั่งมีการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล (Migratory/Offshore) ส่วนใหญ่เป็นการรับแจ้งพบเห็นในธรรมชาติ ซึ่งไม่พบจากการสำรวจในธรรมชาติหรือพบเห็นได้น้อยมาก จะประเมินจำนวนประชากรโลมาและวาฬกลุ่มนี้ จากข้อมูลสถานภาพหรือประชากรของโลมาและวาฬชนิดนั้นๆ ในระดับภูมิภาค (Regional population) หรือระดับโลก (Global population)

 

ชนิดโลมาและวาฬประจำถิ่น (Residence species) กราฟแสดงจํานวนโลมาและวาฬกลุ่มประจำถิ่น ปีงบประมาณ 2560 – 2564 แสดงพื้นที่การสำรวจ (Hotspot/Field survey area) (พื้นที่สีชมพู) และพื้นที่การพบเห็นและพื้นที่การเกยตื้น (Buffered of Strandings and Sightings) (พื้นที่สีฟ้า) ของโลมาและวาฬกลุ่มใกล้ฝั่ง

          ปลากระดูกอ่อน
          ปลากระดูกอ่อนที่มีการศึกษาในเชิงสถานภาพ การจำแนกอัตลักษณ์เฉพาะตัว และการแพร่กระจายมี 2 ชนิด ได้แก่ ฉลามวาฬ และกระเบนแมนต้า ดังนี้
          ฉลามวาฬ พบเห็นได้บ่อยในแหล่งดำน้ำสำคัญของประเทศไทย การสำรวจฉลามวาฬจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยเครือข่ายนักดำน้ำในการแจ้งข่าว รวมถึงการรวบรวมข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ จากการจำแนกอัตลักษณ์ของฉลามวาฬ พบว่าในปี พ.ศ. 2558 พบฉลามวาฬ 41 ตัว ปีพ.ศ. 2559 พบฉลามวาฬ 12 ตัว ในปี พ.ศ. 2561 พบฉลามวาฬ 90 ตัว ปี พ.ศ. 2562 พบฉลามวาฬ 141 ตัว ในปี พ.ศ. 2563 พบฉลามวาฬ 89 ตัว และในปี พ.ศ. 2564 พบฉลามวาฬ 21 ตัว ทางฝั่งอ่าวไทย 9 ตัว และฝั่งทะเลอันดามัน 12 ตัว ซึ่งจากการจำแนกอัตลักษณ์พบว่าเป็นปลาฉลามวาฬตัวใหม่ทั้งหมดที่ยังไม่เคยมีประวัติพบเห็นมาก่อนในน่านน้ำไทย ทั้งนี้ ฉลามวาฬสามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันตลอดทั้งปี โดยมีการพบเห็นบริเวณชายฝั่งและเกาะในเกือบทุกจังหวัดฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) อ่าวไทยตอนบน (สมุทรสาคร เพชรบุรี) อ่าวไทยตอนกลาง (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี) อ่าวไทยตอนล่าง (นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส) ส่วนทะเลอันดามันสามารถพบปลาฉลามวาฬได้บริเวณชายฝั่งและเกาะตั้งแต่อันดามันตอนบน (ระนอง พังงา ภูเก็ต) อันดามันตอนล่าง (กระบี่ ตรัง สตูล)
          ปลากระเบนแมนต้า มีการพบเห็นบริเวณฝั่งอันดามันมากกว่าฝั่งอ่าวไทย สําหรับการจำแนกอัตลักษณ์เฉพาะตัวสามารถทำได้โดยใช้ภาพถ่ายที่เหมาะสมบริเวณด้านท้องของปลากระเบนแมนต้าซึ่งทำได้ค่อนข้างยาก (แต่ก็สามารถทำได้) โดยในปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม พ.ศ. 2563 – มิถุนายน พ.ศ. 2564) สามารถจำแนกอัตลักษณ์ปลากระเบนแมนต้าที่พบฝั่งทะเลอันดามันได้ 18 ตัว ซึ่งพบได้มากบริเวณเกาะบอน เกาะตาชัย จังหวัดพังงา เกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต หินแดง-หินม่วง จังหวัดกระบี่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีข้อมูลการพบเห็นบริเวณแท่นผลิตปิโตรเลียม จังหวัดสงขลา แต่ไม่สามารถจำแนกอัตลักษณ์เฉพาะตัวได้

จำนวนปลากระเบนแมนต้า (Manta Rays) ที่จำแนกอัตลักษณ์ได้ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2564 แสดงจำนวนฉลามวาฬ (Whale shark) ที่จำแนกอัตลักษณ์ได้ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 – 2564 และพื้นที่การแพร่กระจายของฉลามวาฬและปลากระเบนแมนต้าในปีงบประมาณ 2564

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ