ขนาด
วาฬ/โลมา
  • 7 สิงหาคม 2556
  • 1,570
วาฬ/โลมา สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สถานภาพวาฬและโลมาในน่านน้ำไทย

1. วาฬและโลมาทางฝั่งอ่าวไทย

          วาฬและโลมาทางฝั่งอ่าวไทยพบรวม 19 ชนิด จากทั้งสิ้น 25 ชนิด จากการสำรวจ ในปี พ.ศ.2552 พบว่า

- บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส มีประชากรวาฬและโลมามากที่สุดจำนวน 146 ตัว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโลมาหลังโหนกและโลมาอิรวดี

- บริเวณอ่าวไทยตอนกลาง พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบประชากรวาฬและโลมาจำนวน 140 ตัว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโลมาหลังโหนกและโลมาหัวบาตร หลังเรียบ

- บริเวณอ่าวไทยตอนบน พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการพบประชากรวาฬและโลมาจำนวน 135 ตัว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโลมาอิรวดีและโลมาหัวบาตร หลังเรียบ

- บริเวณที่พบประชากรวาฬและโลมาน้อยที่สุด คือ อ่าวไทยตะวันออก ตั้งแต่ชายฝั่งจังหวัดชลบุรีถึงตราด พบจำนวน 100 ตัว เป็นกลุ่มโลมาอิรวดี

          สำหรับข้อมูลการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 จากการสำรวจในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนพบมีการแพร่กระจายของโลมาอิรวดีประมาณ 100 ตัว บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร ปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม และปากแม่น้ำบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังพบโลมาเผือกหรือโลมาหลังโหนกจำนวน 1-2 ตัว บริเวณปากแม่น้ำแม่กลองและปากแม่น้ำบางตะบูน โดยพบอยู่ร่วมกันกับกลุ่มโลมาอิรวดี โลมาหัวบาตรหลังเรียบ 30-40 ตัว จากการศึกษาของลักขณา และคณะ, มปป. พบว่าในปี พ.ศ.2553 วาฬและโลมาเกยตื้นจำนวน 4 ตัว ได้แก่ วาฬบรูด้า 2 ตัว โลมาริสโซและโลมาฟันห่าง ส่วนในปี พ.ศ.2554 พบซากวาฬและโลมาจำนวน 3 ตัว ได้แก่ วาฬเพชฌฆาตดำ วาฬบรูด้าและโลมาปากขวด

ตารางชนิดและจำนวนของโลมาและวาฬที่พบในฝั่งอ่าวไทย

ชนิด ปี พ.ศ.
2552 2553 2554 (ซาก)
วาฬเพชฌฆาตดำ - - 1
วาฬบรูด้า 15 2 1
โลมาปากขวด 25 - 1
โลมาหลังโหนก 141 1-2 -
โลมาอิรวดี 215 30-40 -
โลมาหัวบาตร หลังเรียบ 125 -
รวม 521 33-44 3

2. วาฬและโลมาทางฝั่งทะเลอันดามัน

          ปัจจุบันพบวาฬและโลมาในประเทศไทยทั้งสิ้น จำนวน 25 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบในฝั่งทะเลอันดามัน 22 ชนิด จากการสำรวจทางอากาศของกาญจนา (2540) พบโลมาอิรวดีบริเวณเกาะสาหร่าย และโลมาปากขวด บริเวณเกาะมุกด์ จังหวัดสตูล ต่อมาปี พ.ศ.2552 จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งใน พบว่าฝั่งทะเลอันดามันมีประชากรวาฬและโลมาประมาณ 308 ตัว โลมาชนิดเด่นคือ โลมาปากขวด โลมาหลังโหนก และกลุ่มโลมากระโดด โลมาฟันห่างและโลมาลายจุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 พบว่าสถานภาพโลมาและวาฬในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบางพื้นที่เช่น จังหวัดตรัง ที่พบประชากรมีจำนวนวาฬและโลมาลดลงเนื่องจากถูกลักลอบจับไปเลี้ยงในสวนสัตว์โลมา โดยพบประชากรจำนวนวาฬและโลมาจำนวน 252 ตัว โลมาชนิดเด่น คือ กลุ่มโลมากระโดด โลมาฟันห่าง และโลมาลายจุด โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และโลมาหลังโหนก

ตารางชนิดและจำนวนของโลมาและวาฬที่พบในฝั่งทะเลอันดามัน

ชนิด ปี พ.ศ.
2552 2553 2554 (ซาก)
วาฬบรูด้า - 10 -
โลมาปากขวด 3 80 30
โลมาหลังโหนก - 63 60
โลมากลุ่มโลมากระโดด โลมาฟันห่างและโลมาลายจุด (Stenella spp.) - 90 90
โลมาอิรวดี 6 25 25
โลมาหัวบาตร หลังเรียบ - 40 40
รวม 9 308 252

ผลสรุปสถานภาพวาฬและโลมา ในปี พ.ศ.2550-2554 มีรายละเอียดดังนี้

1. บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก พบโลมาอิรวดีบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด จำนวน 100-150 ตัว โลมาปากขวดบริเวณอ่าวระยอง โลมาหัวบาตรหลังเรียบในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 30-40 ตัว โลมาหลังโหนกบริเวณอ่าวตราด จำนวน 30-40 ตัว พบวาฬบรูด้า และวาฬโอมูระ จำนวน 1-5 ตัว และพบปลาฉลามวาฬ บริเวณแหลมแม่พิมพ์ถึงอ่าวระยอง จังหวัดระยอง

2. บริเวณอ่าวไทยตอนบน พบโลมาอิรวดีในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (ปากแม่น้ำบางปะกง) จำนวน 30-40 ตัว จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี จำนวน 70-80 ตัว โลมาหัวบาตรหลังเรียบในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรปราการ และชลบุรี จำนวน 30-40 ตัว โลมาหลังโหนกในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี (ปากน้ำแม่กรอง-บางตะบูน) จำนวน 1-10 ตัว พบวาฬบรูด้าและวาฬโอมูระ จำนวน 30-35 ตัว และพบปลาฉลามวาฬ บริเวณคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ

3. บริเวณอ่าวไทยตอนกลาง พบโลมาปากขวดในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โลมาหัวบาตรหลังเรียบในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ปากน้ำปราณ-เขาหัวกะโหลก อ่าวประจวบและบางสะพานน้อย) จำนวน 15-20 ตัว จังหวัดชุมพร (ปากน้ำชุมพร) จำนวน 15-20 ตัว จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ่าวดอนสัก) และนครศรีธรรมราช (อ่าวขนอม) จำนวน 50-60 ตัว พบวาฬบรูด้าและวาฬโอมูระ จำนวน 5-10 ตัว และพบปลาฉลามวาฬบริเวณอ่าวมะนาม บ้านกรูดถึงบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กองหินชุมพร และเกาะเต่าถึงหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ

4. บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบโลมาอิรวดีในพื้นที่จังหวัดสงขลา (ทะเลสาบสงขลาตอนบนหรือทะเลหลวง) จำนวน 10-20 ตัว มีรายงานการพบเห็นโลมาปากขวดในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา โลมาหัวบาตรหลังเรียบในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา จำนวน 30-40 ตัว โลมาหลังโหนกในพื้นที่จังหวัดสงขลา (ปากทะเลสาบสงขลา) จำนวน 5-10 ตัว พบวาฬบรูด้าและวาฬโอมูระ จำนวน 1-5 ตัว และพบปลาฉลามวาฬบริเวณเกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี

5. บริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีการรายงานพบเห็นโลมาปากขวดในพื้นที่จังหวัดระนองและอ่าวพังงา จำนวน 30-40 ตัว พบวาฬบรูด้าและวาฬโอมูระ จำนวน 1-5 ตัว พบปลาฉลามวาฬ บริเวณเกาะสิมิลัน เกาะตาชัย เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา อ่าวป่าตอง เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต

6. บริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง พบโลมาหัวบาตรหลังเรียบบริเวณอ่าวพังงาถึงจังหวัดสตูล จำนวน 40-50 ตัว พบโลมาหลังโหนกในพื้นที่อ่าวพังงา (จังหวัดกระบี่ พังงาและภูเก็ต) จำนวน 20-30 ตัว อ่าวปะเหลียน จังหวัดตรัง และเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล จำนวน 40-50 ตัว พบวาฬบรูด้าและวาฬโอมูระ จำนวน 1-5 ตัว พบปลาฉลามวาฬ บริเวณเกาะลันตา เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และหมู่เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี จัหวัดสตูล

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ