ขนาด
คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
  • 22 สิงหาคม 2556
  • 15,205

นิยามและการประกาศ

          พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ถูกกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
          1. การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 43 โดยพื้นที่ที่มีลักษณะเข้าข่ายมาตราที่ 43 ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติ แตกต่างจากพื้นที่บริเวณอื่นโดยทั่วไป พื้นที่ที่ระบบนิเวศอาจถูกทำลายหรือได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ได้โดยง่ายและพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันเก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์แต่พื้นที่นั้นยังมิได้ประกาศกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์
          2. การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 45 โดยพื้นที่ที่เข้าข่ายตามมาตรา 45 ได้แก่ พื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวมเขตผังเมืองเฉพาะ เขตควบคุมอาคาร เขตนิคมอุตสาหกรรม เขตควบคุมมลพิษ โดยที่เขตพื้นที่เหล่านี้ต้องมีสภาพปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยทันทีและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่มีอำนาจตามกฎหมายหรือไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขปัญหาได้ โดยการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจำเป็นจะต้องมีการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 44

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า