ขนาด
พื้นที่มาตรการในการทำประมง
  • 24 สิงหาคม 2556
  • 1,848

นิยามและการประกาศ

          พื้นที่กำหนดมาตรการทำการประมงเป็นพื้นที่การจัดการทรัพยากรประมง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อ พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2528) ซึ่งมาตรา 32 เป็นมาตราที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำการประมงเพื่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ

          พื้นที่กำหนดมาตรการทำการประมงของประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเลตามพรบ. การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งประกอบด้วย ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งประกาศจังหวัดที่อาศัยอำนาจประกาศตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในน่านน้ำทะเลปัจจุบัน โดยส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง ได้รวบรวมจัดหมวดหมู่กฎหมายที่เกี่ยวกับพื้นที่กำหนดมาตรการในการทำประมงออกเป็น 9 หมวดเพื่อให้สะดวกและง่ายในการทำความเข้าใจแก่ชาวประมงผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบและถือปฏิบัติ ประกอบกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้ประกาศการบังคับใช้ระเบียบฉบับที่ 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2551 ว่าด้วยการจัดตั้งระบบของประชาคมยุโรปเพื่อป้องกันยับยั้งและขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Council Regulation (EC) No 1005/2008 of 29 September 2008 establishing a community system to prevent, deter and eliminate illegal, unreported and unregulated fishing) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ตามระเบียบนี้สินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้จากการทำประมงทะเลจะส่งออกไปยังประชาคมยุโรป จำเป็นต้องมีเอกสารรับรองว่าไม่ได้มาจากการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและการควบคุม

ตารางกฎหมายที่เกี่ยวกับพื้นที่กำหนดมาตรการทำการประมง

เรื่อง ประเภทกฎหมาย
พรบ. พรก. ประกาศ คณะปฏิวัติ ประกาศ กระทรวง ระเบียบกระทรวง คำสั่งจังหวัด
1. กฎหมายควบคุมการทำประมงในฤดูสัตว์น้ำมีไข่       5    
2. กฎหมายควบคุมการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลากอวนรุน       15 1  
3. กฎหมายควบคุมการทำประมงด้วยเครื่องมือปลากะตักและอวนล้อมจับ       7    
4. กฎหมายควบคุมการทำประมงด้วยเครื่องมือคราดหอย       5    
5. กฎหมายควบคุมการทำประมงตามชนิดของสัตว์น้ำ       6    
6. กฎหมายควบคุมการทำการประมงด้วยเครื่องมืออื่นๆ       6    
7. กฎหมายควบคุมการทำการประมงตาม พรบ.การประมง พ.ศ. 2490 ด้านอื่นๆ 4 1 1 8    
8. กฎหมายควบคุมการทำประมงนอกน่านน้ำไทย       1 1  
9. ประกาศจังหวัดเกี่ยวกับการควบคุมการทำการประมง           22
รวม 4 1 1 53 2 22
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ