ขนาด
เต่าทะเล
  • 4 กรกฎาคม 2556
  • 3,746
เต่าทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

การดำรงชีวิตของเต่าทะเล

          ลักษณะเด่นของสัตว์จำพวกเต่าคือ มีเกราะที่หนาและหนัก ห่อหุ้มเพื่อป้องกันอันตราย แต่ก็ต้องแลกกับการเคลื่อนที่ช้า ขณะอยู่บนบก เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำทะเล เต่ามีการปรับเปลี่ยนรูปร่างทำให้สามารถเคลื่อนที่ใต้น้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยการพัฒนาลำตัวลู่น้ำและมีขาคู่หน้าเหมือนใบพาย สภาวะแวดล้อมในน้ำทำให้เรื่องน้ำหนักกดทับลดน้อยลง จึงสามารถเพิ่มขนาดของร่างกายกว่าเต่าที่อาศัยอยู่บนบก นอกจากนี้ ขนาดลำตัวที่ใหญ่ขึ้นยังช่วยลดการสูญเสียน้ำและความร้อนออกจากร่างกายเพราะมีสัดส่วนของพื้นที่ิผิวต่อปริมาตรลดลง และยังช่วยให้มีโอกาสรอดจากสัตว์ผู้ล่าต่างๆ มากขึ้น ปัญหาที่พบในการอาศัยอยู่ในน้ำทะเลอีกประการคือการขาดแคลนน้ำจืดซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายโดยปกติเต่าทะเลได้รับน้ำจืดจากอาหารและการกลืนกินน้ำทะเลบางส่วน แต่เนื่องจากมีส่วนประกอบของเกลือแร่จำนวนมากซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ดังนั้นเต่าทะเลจึงมีพัฒนาการของต่อมเกลือ (Salt gland) อยู่บริเวณหลังตาเพื่อทำหน้าที่ขับเกลือแร่ส่วนเกินออกจากร่างกายในรุปของน้ำตา เต่าทะเลมีความสารถในการมองเห็นได้ดี และความสามารถนี้ในการดมกลิ่นที่ยอดเยี่ยมทั้งบนบกและใต้น้ำ เต่าทะเลแรกเกิดใช้ความสารถนี้ในการดมกลิ่นจดบันทึกองคืประกอบทางเคมีของแหล่งกำเนิด เพื่อย้อนกลับมาเมื่อเติบโต

          การศึกษาในปัจจุบัน ยังพบว่า เต่าทะเลมีความสารถในการรับรู้สนามแม่เหล็กโลกเพื่อใช้ในการทำแผนที่เส้นทางการอพยพย้ายถิ่น

ชีวิตใต้น้ำของเต่าทะเล : ปอดที่มีขนาดใหญ่ ทอดขนานใต้กระดองตามแนวยาวของลำตัว ซึ่งปอดขนาดใหญ่นี้ช่วยทำให้อยู่ใต้น้ำได้นาน 4-7 ชั่วโมง

ชีวิตใต้น้ำของเต่าทะเล

ประสาทสัมผัสของเต่าทะเล

สมอง

แม้ว่าเต่าทะเลจะมีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีความจำที่ดี สามารถจดจำแหล่งหากิน แหล่งกำเนิด และแหล่งวางไข่ได้อย่างแม่นยำ โดยอาศัยการรับรู้ด้านกลิ่น และเดินทางไปมายังสถานที่ต่างๆ โดยอาศัยสายตา และการรับรู้สนามแม่เหล็กโลก

จมูก

การดมกลิ่นเป็นความสามารถพิเศษของเต่าทะเล เมื่ออยู่ใต้น้ำเต่าทะเลจะกลืนน้ำผ่านไปยังโพรงจมูกแล้วคายออก ทำให้สามารถรับรู้ถึงกลิ่นใต้น้ำ ลูกเต่าแรกเกิดสามารถรับรู้องค์ประกอบทางเคมีอันเป็นลักษณะเฉพาะของแหล่งกำเนิด บันทึกเป็นความทรงจำ (Imprinting) เพื่อย้อนกลับสู่สถานที่ซึ่งพวกมันจากมาได้

ตา

ความสามารถในการได้ยินของเต่าทะเลมีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมีกระดูกหูเพียงชิ้นเดียวและไม่มีช่องเปิดของหูภายนอก เต่าทะเลสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ต่ำ และรับรู้แรงสั่นสะเทือน

หู

เต่าทะเลมีความสามารถในการมองเห็นใต้น้ำได้ดี แต่เมื่ออยู่บนบกจะมีสายตาสั้น ลูกเต่าแรกเกิดสามารถตอบสนองแสงที่มีช่วงคลื่นสั้นจากแสงอุลตราไวโอเลตจนถึงม่วงเขียวได้ดี

ต่อมเหงื่อ (Salt Gland) ช่วยกำจัดเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยจะอยู่บริเวณหลังตา

ต่อมเหงื่อ (Salt Gland)

รูปทรงของเต่า จะลู่น้ำ ช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ

รูปทรงของเต่า จะลู่น้ำ

(ก)กระดูกนิ้วที่ยื่นยาวออกมาเป็นพิเศษ (ภาพจากการเอ็กซ์เรย์) พบกระดูกนิ้วเชื่อมต่อกันด้วยเอ็นและเนื้อเยื่อพังพืด เมื่อห่อหุ้มด้วยผิว ทำให้ขาคู่หน้าของเต่าทะเลมีลักษณะ เหมือนใบพายเรือ ช่วยให้ว่ายน้ำได้ดีขึ้น

(ข) รูปทรงที่ลู่น้ำ ทำให้เต่าทะเล เคลื่อนที่โดยมีแรงต้านที่น้อยขณะเดียวกันลำตัวด้านบนที่โค้งและลำตัวด้านล่างที่ตรงทำให้เกิดแรงยกขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเนื่องจากมวลน้ำด้านบนไหลผ่านเร็วกว่ามวลน้ำด้านล่างเป็นหลักการทำงานเช่นเดียวกับปีกของเครื่องบิน

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ