ขนาด
เต่าทะเล
  • 6 กรกฎาคม 2556
  • 1,154
เต่าทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

แหล่งวางไข่เต่าทะเล

1. ฝั่งอ่าวไทย
          แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญ ได้แก่ เกาะคราม จังหวัดชลบุรี เต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่พบสองชนิด คือเต่าตนุและเต่ากระ ซึ่งมีการบันทึกจำนวนหลุมไข่เต่าทะเลไว้ตั้งแต่ปี 2528 - 2543 เนื่องด้วยเกาะครามเป็นเขตที่อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ การเข้าออกจากเกาะจึงมีการดูแลเข้มงวด พื้นที่จึงยังคงความสงบเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งวางไข่เต่าทะเล นอกจากนั้น การลักลอบเก็บไข่เต่าก็มีน้อย ปัญหาใหญ่เกิดจากการติดเครื่องมือประมง ซึ่งยังพบอยู่เป็นประจำ จึงทำให้จำนวนแม่เต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่ลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเต่ากระที่ขึ้นวางไข่ในปัจจุบันลดลงกว่าในอดีตอย่างมาก และพบเป็นปัญหาใหญ่กว่าเต่าตนุ สาเหตุใหญ่เนื่องจากเต่ากระเป็นเต่าทะเลชนิดที่มีการล่ามากที่สุดในอดีต เนื่องจากกระดองมีสีสันสวยงามและมีราคาสูงกว่าเต่าทะเลชนิดอื่น นอกจากนั้นเต่ากระส่วนใหญ่อาศัยบริเวณน้ำตื้นในแนวปะการัง จึงถูกล่าจับได้ง่าย

แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญ

2. ฝั่งทะเลอันดามัน
          แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญ ๆ แบ่งได้เป็น 3 แห่งคือ หมู่เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา, หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และ หาดสวนมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต

          เนื่องจากสภาพหาดมีแหล่งวางไข่แยกเป็นหลายหาด และแต่ละหาดมีความยาวมาก การเก็บข้อมูลจึงไม่ค่อยสมบูรณ์ จะเห็นว่าข้อมูลที่ได้ในปีแรก ๆ ได้จากการบันทึกของผู้ประมูลไข่เต่าทะเล ซึ่งการบันทึกข้อมูลไม่ได้แยกประเภทของเต่าทะเลไว้ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลรวมของเต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง แต่อย่างไรก็ตามจำนวนเต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่ในปัจจุบัน ลดลงกว่าเมื่อ 15 กว่าปีก่อนถึง 90% ซึ่งสาเหตุการลดจำนวนลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน

สรุป
          ในประเทศไทย ยกเว้นเพียงเต่าหัวฆ้อนซึ่งพบได้น้อยและไม่พบการวางไข่ เต่าทะเลที่เหลือมีการวางไข่บริเวณชายหาดของทะเลฝั่งอันดามัน (เต่ามะเฟือง เต่าตะนุ เต่าหญ้า และเต่ากระ) และทะเลฝั่งอ่าวไทย (เต่าตะนุ และเต่ากระ) เต่าทะเลที่พบวางไข่มากที่สุดคือเต่าตะนุ รองลงมาเป็นเต่ากระ เต่าทั้งสองชนิดนี้ เลือกวางไข่ตามชายหาดของเกาะต่างๆ ในขณะที่เต่าหญ้าและเต่ามะเฟืองมีสถิตการวางไข่ที่น้อย และชอบที่จะวางไข่ตามแนวชายหาดของแผ่นดินใหญ่

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa