เต่าทะเล
- 13 ตุลาคม 2556
- 2,170
การกินอาหารและแหล่งอาหารของเต่าทะเล
บริเวณชายฝั่งของแผ่นดินใหญ่และทะเลรอบเกาะแก่งต่างๆ อุดมไปด้วยแหล่งอาหารสำหรับเต่าทะเล ประกอบไปด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศหญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ระบบนิเวศแนวปะการัง และแนวหินโขด ระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งชนิดพันธุ์และความชุกชุมของพืชและสัตว์เหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นบ้านของเต่าทะเลตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงโตเต็มวัย
แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยุ่อาศัยของสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะเต่ากระ จากผลการสำรวจแนวปะการังของประเทศไทย พ.ศ. 2550 มีพื้นที่รวม 99,749 ไร่ เป็นพื้นที่ปะการังในบริเวณอ่าวไทย 48,685 ไร่ และบริเวณทะเลอันดามัน 51,064 ไร่ สภาพปะการังในอ่าวไทยมีความเสื่อมโทรม โดยสาเหตุหลักมาจากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวในปี 2541 ส่วนสภาพปะการังในทะเลฝั่งอันดามัน มีแนวโน้มของการฟื้นตัวมากกว่าความเสื่อมโทรม
แหล่งอาหารอีกแหล่งหนึ่งทีสำคัญกับเต่าทะเล โดยเฉพาะเต่าตนุ คือ หญ้าทะเล ประเทศ ไทยมีพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลที่สำรวจพบในปี 2554 มากกว่า 100,000 ไร่ ประกอบไปด้วยหญ้าทะเล 12 ชนิด แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญ เป็นผู้ผลิตที่เปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้เป็นสารอินทรีย์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน และแหล่งหากินของสัตว์น้ำนานาชนิด
นอกจากนี้ยังมีแมงกระพรุน หรือ ฟองน้ำ ที่เต่าสามารถกินเป็นอาหาร แม้ว่าอาหารเหล่านี้มีสารพิษก็ตาม แต่เต่าทะเลก็จะมีความสารถในการสะสมพิษในร่างกายโดยไม่เป็นอันตราย
พฤติกรรมการกินอาหารของเต่าทะเล
บริเวณชายฝั่งของแผ่นดินใหญ่และทะเลรอบเกาะแก่งต่างๆ อุดมไปด้วยแหล่งอาหารสำหรับเต่าทะเล ประกอบไปด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศหญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ระบบนิเวศแนวปะการัง และแนวหินโขด ระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งชนิดพันธุ์และความชุกชุมของพืชและสัตว์เหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นบ้านของเต่าทะเลตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงโตเต็มวัยแนวปะการังเป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะเต่ากระ แหล่งอาหารอีกแหล่งหนึ่งทีสำคัญกับเต่าทะเล โดยเฉพาะเต่าตนุ คือ หญ้าทะเล นอกจากนี้เต่าสามารถกินแมงกะพรุนหรือฟองน้ำเป็นอาหาร ถึงแม้ว่ามันจะมีสารพิษ เนื่องจากเต่าทะเลมีความสามารถในการสะสมพิษในร่างกายโดยไม่เป็นอันตราย พฤติกรรมการกินอาหารแบบนี้สามารถลดการแก่งแย่งอาหารในธรรมชาติ เต่าทะเลแต่ละชนิดจึงเลือกกินอาหารที่แตกต่างกัน บางชนิดเลือกที่จะกินเนื้อเป็นอาหาร (carnivorous) บางชนิดเป็นพวกที่กินพืช (herbivorous) หรือบางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์ พฤติกรรมการกินอาหารที่แตกต่างกันนี้ทำให้เต่าทะเลมีวัฒนาการช่องปาก (beak) ที่แตกต่างกันออกไป ชนิดอาหารที่แตกต่างทำให้เต่าทะเลมีอยู่ในที่ที่แตกต่างด้วยเช่นกัน เต่าตะนุมีพัฒนาการของปากเพื่อการกินหญ้าและสาหร่ายทะเลโดยมีรอยหยักขนาดเล็กอยู่บนริมฝีปากบนและล่างเป็นเต่าทะเลชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยในขณะที่เต่าตะนุขนาดเล็กจะกินทั้งพืชและสัตว์ เต่าหัวฆ้อนและเต่าหญ้า มีปากใหญ่และแข็งแรงเพื่อการบดเคี้ยวเปลือกที่แข็งของปู กุ้ง และหอย นอกจากนี้ยังกินอาหารชนิดอื่นๆ ได้แก่ แมงกะพรุนและพืชทะเลชนิดต่างๆ เต่ากระมีปากที่เรียวและงอเป็นมุมแหลม เพื่อการหากินตามซอกหลืบต่างๆ ของแนวปะการังอาหารของเต่ากระมีความหลากหลายมากพบตั้งแต่ฟองน้ำ ปะการัง กุ้ง หมึก เพรียง แม้กระทั้งงูทะเล ส่วนเต่ามะเฟืองมีปากที่บอบบางกว่า เป็นหยักขนาดใหญ่ เพื่อกัดกินสัตว์ที่ไม่มีเปลือกแข็ง ได้แก่ แมงกะพรุน ภายในช่องปากและลำคอมีอวัยวะคล้ายหนามเล็กๆ (papillae) จำนวนมากเรียงตัวชี้ไปทางด้านหลัง เพื่อช่วยในการกลืนอาหาร
ลดการแย่งชิงอาหารและที่อยู่
เพื่อลดการแก่งแย่งอาหารในธรรมชาติ เต่าทะเลแต่ละชนิดจึงเลือกกินอาหารที่แตกต่างกัน บางชนิดเลือกที่จะกินเนื้อเป็นอาหาร (Carnivorous) บางชนิดเป็นพวกที่กินพืช (Herbivorous) หรือบางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์ พฤติกรรมการกินอาหารที่แตกต่างกันนี้ทำให้เต่าทะเลมีวัฒนาการช่องปาก(beak) ที่แตกต่างกันออกไป ชนิดอาหารที่แตกต่างทำให้เต่าทะเลมีบริเวณที่อยู่อาศัยที่แตกต่างด้วยเช่นกัน
เต่าตนุ มีพัฒนาการของปากเพื่อการกินหญ้าและสาหร่ายทะเลโดยมีรอยหยักขนาดเล็กอยู่บนริมฝีปากบนและล่างเป็นเต่าทะเลชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยในขณะที่เต่าตะนุขนาดเล็กจะกินทั้งพืชและสัตว์
เต่าหัวฆ้อนและเต่าหญ้า มีปากใหญ่และแข็งแรง เพื่อการบดเคี้ยวเปลือกที่แข็งของปู กุ้ง และหอย นอกจากนี้ยังกินอาหารชนิดอื่นๆได้แก่ แมงกระพรุนและพืชทะเลชนิดต่างๆ
เต่ากระ มีปากที่เรียวและงอเป็นมุมแหลม เพื่อการหากินตามซอกหลืบต่างๆ ของแนวปะการังอาหารของเต่ากระมีความหลากหลายมากพบตั้งแต่ฟองน้ำ ปะการัง กุ้ง หมึก เพรียง แม้กระทั้งงุทะเล
เต่ามะเฟือง มีปากที่บอบบางกว่า เป็นหยักขนาดใหญ่ เพื่อกัดกินสัตว์ที่ไม่มีเปลือกแข็ง ได้แก่ แมงกระพรุน ภายในช่องปากและลำคอมีอวัยวะคล้ายหนามเล็กๆ(Papillae) จำนวนมากเรียงตัวชี้ไปทางด้านหลังเพื่อช่วยในการกลืนอาหาร