เต่าทะเล
- 1 กรกฎาคม 2556
- 13,334
ข้อมูลทั่วไปของเต่าทะเล
เต่าทะเลเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยมีหลักฐานพบว่าอาศัยอยู่ทั่วไปในสมัย 130 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่าเคยพบซากโบราณ (fossil) ก่อนหน้านั้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านปีการแพร่กระจายของเต่าทะเล พบอยู่เฉพาะในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เต่าทะเลทั่วโลกพบอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน คือ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) เต่าตนุ (Chelonia mydas) เต่าหลังแบน (Natator depressus) เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าหญ้าแคมป์ (Lepidochelys kempi) ในประเทศไทยพบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่าหัวค้อน โดยเต่าหัวค้อนไม่เคยพบขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปี ที่ผ่านมาเพียงแต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยเท่านั้น
หมายเหตุ นักอนุกรมวิธาน ได้รวมเต่าตนุดำ (Chelonia agassizii) เข้าเป็นชนิดเดียวกันกับเต่าตนุแล้ว
การเดินทางเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเต่าทะเล เมื่อถึงเวลาพ่อและแม่เต่าทะเลจะว่ายน้ำจากแหล่งหากินอันแสนไกล เพื่อมาผสมพันธุ์และบรรจงเลือกแหล่งวางไข่ ณ ชายหาดอันเงียบสงบแล้วจากไป ปล่อยให้ลูกน้อยฟักออกมาเพียงลำพัง ลูกเต่าแรกเกิดซึ่งมีขนาดเล็กและมีกระดองที่ยังไม่แข็งแรง จะต้องรีบคลานจากหาดทรายในเวลาค่ำคืนลงสู่ทะเล และว่ายน้ำออกสู่ทะเลลึกเพื่อหลีกหนีศัตรูตามธรรมชาติอันมีมากมายบริเวณชายฝั่ง แม้กระนั้นก็ตามลูกเต่าเหล่านี้มีโอกาสรอดเพียง 1 ใน 1,000 ตัว ที่จะเจริญเติบโตเป็นพ่อแม่เต่าทะเลเพื่อสืบทอดอนาคตของชาติพันธุ์ต่อไป
การขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยในอดีตที่ผ่านมา เต่าทะเลถูกล่าจับไปเป็นจำนวนมาก โดยเนื้อและไข่ถูกนำไปเป็นอาหาร กระดอง นำไปเป็นเครื่องประดับและเครื่องตบแต่ง หนังถูกนำไปเป็นผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องหนังต่างๆ นอกจากนั้นไขมันของเต่าทะเลยังสามารถนำไปสกัดใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ หรือน้ำหอมที่มีราคาอีกด้วยนอกจากการล่าจับเพื่อใช้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ในอดีตได้มีการเปิดว่าประมูลเก็บฟองไข่เต่าทะเลเพื่อการค้า โดยผู้ว่าประมูลสามารถรวบรวมไข่เต่าทะเลนำไปค้าขาย ซึ่งในเงื่อนไขหนึ่งคือไข่เต่าทะเลประมาณ 20 % จะต้องนำไปเพาะฟักเป็นตัวเพื่อปล่อยกลับลงสู่ทะเล
เต่ากระ