ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
  • 11 กรกฎาคม 2566
  • 877
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สถานภาพการกัดเซาะชายฝั่ง (2564)

          ชายฝั่งทะเล คือ บริเวณเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นดินและพื้นทะเล ดังนั้นพื้นที่ชายฝั่งทะเลจึงเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากแผ่นดิน และทะเล ทำให้ชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามธรรมชาติ และส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวหรือปรับสภาพเข้าสู่สมดุลได้เอง แต่ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจทำให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร และยังทำให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดตามธรรมชาตินั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนไม่สามารถปรับเข้าสู่สมดุลได้ โดยเฉพาะปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุของการกัดเซาะทั้งจากกระบวนการทางธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ และจำเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์สถานภาพการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นระบบ และยั่งยืน

สถานภาพชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2563
          ประเทศไทยมีความยาวชายฝั่งทะเล 3,151.13 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย 2,039.78 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน 1,111.35 กิโลเมตร จากการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถแบ่งพื้นที่ชายฝั่ง ออกได้ดังนี้ 

ก) พื้นที่ชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (CE) มีความยาวประมาณ 822.81 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น
     (1) พื้นที่กัดเซาะที่ยังไม่ดำเนินการแก้ไข (NDS) ระยะทาง 89.19 กิโลเมตร
          - พื้นที่กัดเซาะรุนแรง (SV) ระยะทาง 11.11 กิโลเมตร
          - พื้นที่กัดเซาะปานกลาง (ME) ระยะทาง 45.03 กิโลเมตร
          - พื้นที่กัดเซาะน้อย (LE) ระยะทาง 33.05 กิโลเมตร
     (2) พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งที่มีการดำเนินการแก้ไขแล้ว (DS) ระยะทาง 733.62 กิโลเมตร

ข) พื้นที่ชายฝั่งที่ไม่มีการกัดเซาะ (CN) ระยะทาง 2,328.32 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น
     (1) พื้นที่ชายฝั่งสมดุล (EQ) ระยะทาง 1,588.69 กิโลเมตร
​     (2) พื้นที่หาดหิน/หน้าผา (CC) ระยะทาง 485.33 กิโลเมตร
​     (3) พื้นที่ชายฝั่งที่มีการสะสมตัวของตะกอน (AS) ระยะทาง 29.52 กิโลเมตร
​     (4) พื้นที่ก่อสร้างรุกล้ำแนวชายฝั่ง (CI) ระยะทาง 70.12 กิโลเมตร
​     (5) พื้นที่ปากแม่น้ำ/ปากคลอง (RM) ระยะทาง 154.66 กิโลเมตร


สถานภาพชายฝั่งทะเลประเทศไทย พ.ศ. 2563


สถานภาพแนวชายฝั่งทะเลประเทศไทย พ.ศ. 2563


ข้อมูลสถานภาพการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง 23 จังหวัด พ.ศ. 2563 (ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563)


สถานภาพชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2563


ข้อมูลพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งทะเลรายจังหวัด พ.ศ. 2563


ข้อมูลสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ประเทศไทย พ.ศ. 2563


ข้อมูลพื้นที่ที่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2563

          แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างชัดเจน ได้แก่ จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตร ในขณะที่จังหวัดจังหวัดตราด จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดตรัง ระยะทางตั้งแต่ 5 – 10 กิโลเมตร จังหวัดที่พบการกัดเซาะที่มีระยะทางน้อยกว่า 5 กิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดพังา และจังหวัดกระบี่ ส่วนจังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสตูล ไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2566
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้