ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

นิยามศัพท์กัดเซาะชายฝั่ง

          นิยามศัพท์กัดเซาะชายฝั่ง
          เพื่อการอธิบายตัวย่อลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งที่แสดงไว้ในแผนที่ออนไลน์ http://marinegiscenter.dmcr.go.th/gis/ กดเลือกกลุ่มข้อมูล การกัดเซาะชายฝั่ง และเลือกชั้นข้อมูลสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งปี 2559

คำอธิบายการจัดความสำคัญเร่งด่วน
มาก (1) = พื้นที่กัดเซาะหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างหากไม่มีมาตรการ แก้ไขหรือพื้นที่ที่มีโครงสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันในระยะยาวซึ่งส่งผลกระทบต่อ พื้นที่ข้างเคียง
ปานกลาง (2) = พื้นที่กัดเซาะที่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กัดเซาะที่ไม่รุนแรง แต่มีแนวโน้มการกัดเซาะลุกลามไปยังพื้นที่ข้างเคียงหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่ถูกวิธีอาจทำ ให้เกิดการกัดเซาะลุกลามไปกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ หรือพื้นที่ที่มีโครงสร้างป้องกันที่สร้างโดย หน่วยงานท้องถิ่นและเอกชน ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาแล้วบางส่วนและไม่ส่งผลกระทบมาก
น้อย (3) = พื้นที่กัดเซาะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้าง โดยมากเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างโครงสร้างป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งการกัดเซาะมีแนวโน้มเข้าใกล้สู่จุดสมดุล หรือพื้นที่ที่มีโครงสร้างป้องกันที่มี ประสิทธิภาพแต่ในระยะยาวโครงสร้างอาจส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมควรแก้ไขเมื่อมีความ พร้อมทางงบประมาณ

คำอธิบายประสิทธิภาพของโครงสร้าง
แข็งแรง (1) = ไม่มีการชำรุดในระดับโครงสร้าง
ชำรุด (2) = เริ่มมีการกัดเซาะและการแตกร้าว บริเวณฐานรากของโครงสร้างที่ปรากฏชัดเจน
เสื่อมสภาพ (3) = เหลือโครงสร้างเพียง 50% เริ่มเห็นแนวโน้มว่ามีการกัดเซาะของคลื่นเพิ่มเติม
หมดสภาพ (4) = ไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะของคลื่นได้

ข้อมูล : กองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง
วันที่ : สิงหาคม 2560