ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
  • 1 สิงหาคม 2556
  • 678
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

กรอบแผนบูรณาการแก้ไขปัญหา

          มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2553
          กรอบแผนบูรณาการงบประมาณการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554-2559 มีจำนวน 933 โครงการ วงเงิน 19,580.8 ล้านบาท ประกอบด้วยแผนงาน 4 แผนงาน ได้แก่
          1. แผนงานศึกษาออกแบบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและก่อสร้าง จำนวน 325 โครงการ วงเงิน 15,492.5 ล้านบาท
          2. แผนงานลงทุนป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จำนวน 112 โครงการ วงเงิน 2,010 ล้านบาท
          3. แผนงานฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมและระบบนิเวศ จำนวน 328 โครงการ วงเงิน 1,664 ล้านบาท
          4. แผนงานเสริมสร้างองค์ความรู้และการมีส่วนร่วม จำนวน 258 โครงการ วงเงิน 414.3 ล้านบาท
          ผลการดำเนินการ
          หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรธรณี และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการกัดเซาะชายฝั่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึงปัจจุบัน จำนวน 15 เรื่อง ดังนี้

          1. รายงานวิชาการการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรธรณี พ.ศ.2545
          ขอบเขตการศึกษา
          1. กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล โดยมุ่งเน้นข้อมูลด้านธรณีวิทยา ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับงานสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
          2. ข้อมูลในการป้องกัน แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
          3. ข้อมูลนโยบายและแผนสำหรับการจัดการชายฝั่งทะเลของประเทศ
          4. ข้อมูลและความรู้ทั่วไปสำหรับงานของรัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เพื่อความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล
          ผลการศึกษา
          1. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งรายจังหวัด
          2. สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
          3. แนวทางป้องกันและแก้ไข รายการศึกษาหน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ ขอบเขตการศึกษาและผลการศึกษา

          2. รายงานวิชาการ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรธรณี  พ.ศ.2546
          ขอบเขตการศึกษา
          1. สาเหตุหลักทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลในรูปแบบต่างๆ
          2. ข้อมูลสำหรับใช้กำหนดนโยบายและแผนสำหรับการ จัดการชายฝั่งทะเลของประเทศ
          3. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและพิบัติภัยชายฝั่ง
          4. ข้อมูลและความรู้ทั่วไปสำหรับหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกิดความ เข้าใจ มีจิตสำนึกที่ถูกต้องต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล
          5. การประยุกต์ใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยาในการจัดการชายฝั่ง แบบยั่งยืน
          ผลการศึกษา
          1. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดระนอง
          2. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดพังงา
          3. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดภูเก็ต
          4. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดกระบี่
          5. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดตรัง
          6. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดสตูล
          7. ปริมาณการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง
          8. สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
          9. แนวทางการป้องกันและแก้ไข รายการศึกษา หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ ขอบเขตการศึกษาและผลการศึกษา

          3. โครงการศึกษาแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปากแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ถึงปากแม่น้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
          หน่วยงาน/ปีที่ดำเนินการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พ.ศ.2546
          ขอบเขตการศึกษา
          ตั้งแต่ปากแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ถึงปากแม่น้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
          ผลการศึกษา กำหนด 5 กลยุทธ์และมาตรการรองรับ 19 มาตรการ ได้แก่
          กลยุทธ์ที่ 1 การแก้ไขและป้องกันการถูก กัดเซาะของชายฝั่งทะเล
          กลยุทธ์ที่ 2 การฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
          กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาองค์ความรู้และการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชน
          กลยุทธ์ที่ 4 การปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชายฝั่งทะเล
          กลยุทธ์ที่ 5 ปรับปรุงการบริหารจัดการชายฝั่งทะเล

          4. โครงการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี และการออกแบบโครงสร้างป้องกันเบื้องต้น
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับ กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) พ.ศ.2547
          ขอบเขตการศึกษา ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเล จำนวน 252 หมู่บ้าน 54 ตำบล ในเขต 7 อำเภอ ในเขตจังหวัดปัตตานี โดยเน้นบริเวณพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะรุนแรงมาก ระยะประมาณ 25 กม. และขนานกับแนวชายฝั่งบนพื้นดิน 2 กม. ยาวประมาณ 50 ตร.กม.
          ผลการศึกษา จัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ 7 พื้นที่ ได้แก่
          พื้นที่ 1 บ้านตันหยงเปาว์ ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก
          พื้นที่ 2 บ้านปากบางตาวา ต.บางตาวา อ.หนองจิก
          พื้นที่ 3 บ้านตะโล๊ะสมิแล และ บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง
          พื้นที่ 4 บ้านท่ากุน บ้านท่าด่าน และบ้านท่าพง ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง
          พื้นที่ 5 บ้านคลองต่ำ และบ้านคาโต ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ
          พื้นที่ 6 บ้านปะนาเระ และบ้านบางมะรวด ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ
          พื้นที่ 7 บ้านบน ถึงบ้านลุ่ม ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี

          5. โครงการศึกษาหาสาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแนวทางการแก้ไขป้องกันชายฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับ กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) พ.ศ.2548
          ขอบเขตการศึกษา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง พื้นที่ที่มีขอบเขตติดกับแนวชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย 10 ตำบล ในเขตอำเภอปากพนัง และอำเภอหัวไทร มีแนวความยาวชายฝั่งประมาณ 72 กม.
          ผลการศึกษา กำหนดความจำเป็นเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหา ดังนี้
          - พื้นที่วิกฤติเร่งด่วน บ้านปลายทราย บ้านโก้งโค้งบ้านหัวถนนชยทะเล บ้านหน้าศาล บ้านนำทรัพย์ บ้านเกาะฝ้าย รูปแบบการแก้ไข วิธีที่ 1 กำแพงป้องกันคลื่น วิธีที่ 2 เขื่อนกันคลื่น
          - พื้นที่วิกฤติบ้านเกาะเพชร บ้านหัวทรง บ้านหัวอ้ายเต่า บ้านหน้าสตน บ้านหน้าสตน บ้านเกาะยาว บ้านหน้าศาล รูปแบบการแก้ไข แบบอ่อน (soft solution)
          - พื้นที่ติดตามเฝ้าระวัง ควรประเมินและติดตามเฝ้าระวังเป็นระยะ
          - พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปกติ เป็นพื้นที่ที่มีการกัดเซาะอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป

          6. โครงการสำรวจและศึกษาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทย (จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา)
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรธรณี พ.ศ.2549
          ขอบเขตการศึกษา
          1. ประเมินสภาพพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการกัดเซาะชายฝั่ง และสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บนพื้นฐานข้อมูลทางธรณีสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง สมุทรศาสตร์ และวิศวกรรมชายฝั่ง พร้อมกำหนดเขตและระดับความรุนแรงของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
          2. กำหนดแนวทางการลดผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง ตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น พร้อมแนะแบบโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
          ผลการศึกษา แนวทางแก้ไขในพื้นที่เสี่ยงภัย ใน 6 พื้นที่ดังนี้
          พื้นที่ 1 บ้านพอก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี แนวทางแก้ไข 3 แนวทาง
          พื้นที่ 2 บ้านทางขัน บ้านเยาะ อ. ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แนวทางแก้ไข 1 แนวทาง
          พื้นที่ 3 บ้านแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช แนวทางแก้ไข 1 แนวทาง
          พื้นที่ 4 บ้านอู่ตะเภา ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา แนวทางแก้ไข 1 แนวทาง
          พื้นที่ 5 บ้านเก้าเส็ง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา แนวทางแก้ไข 1 แนวทาง
          พื้นที่ 6 บ้านเกาะจีน ปากบางเทพา อ.เทพา จ.สงขลา แนวทางแก้ไข 1 แนวทาง รายการศึกษา หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ ขอบเขตการศึกษาและผล

          7. โครงการจัดทำแผนหลักและแผน ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน (จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรปราการ จ. ฉะเชิงเทรา)
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พ.ศ.2551
          ขอบเขตการศึกษา ตั้งแต่ปากแม่น้ำแม่กลองถึงปากแม่น้ำบางปะกง ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และ ฉะเชิงเทรา มีระยะทางตามแนวชายฝั่งยาว 100 กิโลเมตร
          ผลการศึกษา
          1. จัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ต่อปัญหาการ กัดเซาะชายฝั่ง แบ่งเป็น 3 ระดับ
          ระดับที่ 1 พื้นที่วิกฤตเร่งด่วน
          ระดับที่ 2 พื้นที่เร่งด่วน
          ระดับที่ 3 พื้นที่เฝ้าระวัง
          2. จัดทำข้อกำหนดการศึกษาในพื้นที่ ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ถึง ต.บางปู อ.เมือง  จ.สมุทรปราการ
          3. ศึกษาวิจัยและออกแบบเบื้องต้นโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะ อ. แหลมฟ้าผ่า จ.สมุทรปราการ
          4. แนวทางการแก้ไขปัญหาในภาพรวมและมาตรการแก้ไขเชิงพื้นที่ 5. แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน

          8. โครงการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตะกอนชายฝั่งทะเล
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรธรณี พ.ศ.2551
          ขอบเขตการศึกษา
          1. สำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตะกอนชายฝั่งทะเลในบริเวณพื้นที่ศึกษา และถ้าเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ (action research) ในการหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการ (Integrated Knowledge) โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการป้องกัน แก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุด และเป็นมิตรต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพของชายหาด
          2. ออกแบบโครงสร้างต้นแบบในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
          3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น และบริษัทเอกชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและการจัดการดูแลทรัพยากรชายฝั่งในบริเวณพื้นที่ศึกษา
          ผลการศึกษา
          1. โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ ในรูปแบบปะการังเทียม
          2. ผลการศึกษาโดยใช้แบบจำลองทางกายภาพ (physical model)
          3. ผังและรายละเอียดการจัดวางปะการังเทียม

          9. โครงการศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่แหลมตะลุมพุก ถึงปากน้ำทะเลสาบสงขลา
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พ.ศ.2552
          ขอบเขตการศึกษา
          1. ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิศวกรรมชายฝั่ง
          2. จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
          3. จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
          ผลการศึกษา
          1. แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโครงการศึกษาจัดทำแผนหลัก
          2. แบบก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรธรรมราช
          3. แบบก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ต.ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา

          10. โครงการศึกษาวางผังแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและวางผังท่าเรือเพื่อรองรับการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออก
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พ.ศ.2552
          ขอบเขตการศึกษา
          1. เพื่อจัดทำแผนแม่บทที่บูรณาการร่วมกับโครงสร้างที่มีอยู่เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือในภาคตะวันออก
          2. วิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
          3. คัดเลือกพื้นที่วิกฤต กำหนดแนวทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา
          4. ประเมินค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
          5. จัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นไปได้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่วิกฤต
          ผลการศึกษา
          1. แนวทางแก้ไขในพื้นที่วิกฤต 5 พื้นที่
          พื้นที่วิกฤตที่ 1 ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง แนวทางแก้ไข 3 แนวทาง
          พื้นที่วิกฤตที่ 2 หมู่ที่ 14 ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี แนวทางแก้ไข 4 แนวทาง
          พื้นที่วิกฤตที่ 3 หมู่ที่ 16 ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี แนวทางแก้ไข 3 แนวทาง
          พื้นที่วิกฤตที่ 4 หมู่ที่ 6 ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด แนวทางแก้ไข 3 แนวทาง
          พื้นที่วิกฤตที่ 5 หมู่ที่ 1 ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ จ.ตราด แนวทางแก้ไข 3 แนวทาง
          2. การวางผังท่าเรือเพื่อรองรับการขยายตัวพื้นที่อุตสาหกรรม
          3. แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้านตะวันออก
          4. ข้อกำหนดการศึกษาในพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง และเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุร

          11. โครงการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรธรณี พ.ศ.2552
          ขอบเขตการศึกษา
          1. วิเคราะห์อัตราการการเคลื่อนตัวทางดิ่งของแผ่นดิน ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับของจุดที่ตั้งสถานีวัด ระดับน้ำทะเล โดยใช้เทคนิครังวัดด้วยสัญญาณดาวเทียม จีพีเอสอย่างต่อเนื่อง
          2. อัตราการเคลื่อนตัวทางดิ่งของแผ่นดินเพื่อใช้ในการ วิเคราะห์หาอัตราการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงของระดับ น้ำทะเล ณ จุดที่ตั้งสถานีวัดระดับน้ำทะเล และระดับ น้ำทะเลโดยเฉลี่ยในอ่าวไทย
          ผลการศึกษา
          1. อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยบริเวณสถานีวัด ระดับน้ำเกาะมัตโพน ในช่วงปี 1963-2003 เป็น +5.0 + 22 มม./ปี
          2. อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยบริเวณสถานีวัด ระดับน้ำอ่าวสัตหีบ ในช่วงปี 1963-2003 เป็น +6.6+1.4 มม./ปี รายการศึกษา หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ ขอบเขตการศึกษาและผลการศึกษา

          12. โครงการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตะกอนชายฝั่งทะเลพื้นที่จังหวัดระยองและจันทบุรี
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรธรณี พ.ศ.2552
          ขอบเขตการศึกษา
          1. สำรวจ ศึกษา และติดตามการเปลี่ยนแปลงธรณี สัณฐานชายฝั่งทะเลในบริเวณพื้นที่ศึกษา
          2. ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ พื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. หาแนวทางลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงธรณี สัณฐานชายฝั่งทะเล การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน องค์การท้องถิ่น และภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการ เปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลและการจัดการดูแลทรัพยากร ชายฝั่งในบริเวณพื้นที่ศึกษ
          ผลการศึกษา
          1. แนวทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลหาดแก่นเสม็ด
          2. แนวทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลหาดแม่พิมพ์
          3. แนวทางบูรณาการการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล หาดเจ้าหลาว
          4. ทางเลือกในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเกาะแมว
          5. ทางเลือกในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแหลมหญ้า รายการศึกษา หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการขอบเขตการศึกษาและผลการศึกษา

          13. โครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลต่อสภาพการใช้ที่ดินชายฝั่งของประเทศไทย
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พ.ศ.2552
          ขอบเขตการศึกษา
          เพื่อศึกษาวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (sea level rise) ต่อสภาพการใช้ที่ดินและระบบนิเวศชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด
          ผลการศึกษา
          1. ผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อระดับน้ำ ทะเลเพิ่มขึ้น 1 2 3 และ 5 เมตร จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นมูลค่า 0.92 2.52 4.04 และ 4.82 ล้านบาท ตามลำดับ
          2. ผลกระทบด้านประชากร ประชากรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอยู่ระหว่าง 1.38 ล้านคน เมื่อน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 1 เมตร และเพิ่มขึ้นเป็น 13.63 ล้านคน เมื่อน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 5 เมตร
          3. ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยเฉพาะการรุกล้ำของน้ำเค็มไปตามแม่น้ำลำลอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชาชน

          14. โครงการศึกษาวิจัย และสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พ.ศ.2553
          ขอบเขตการศึกษา
          1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
          2. สำรวจออกแบบรายละเอียดโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อรูปแบบของโครงสร้าง
          ผลการศึกษา
          จัดลำดับความเหมาะสมของทางเลือกไว้ 3 รูปแบบตามลำดับ คือ กล่องคอนกรีตบนเสาเข็ม กล่องคอนกรีตบนหินทิ้งหินทิ้ง และคันเสริมแผ่นใยสังเคราะห์

          15. โครงการศึกษาบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรปราการ: กรณี ศึกษานำร่องเพื่อการออกแบบ ณ บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พ.ศ.2553
          ขอบเขตการศึกษา
          1. เก็บข้อมูลและวิเคราะห์สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งแบบบูรณาการองค์ความรู้ บริเวณแนวชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรปราการ
          2. วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ศึกษาและอ่าวไทยตอนบน
          3. ทดสอบมาตรการแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่นำร่องโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ (action research) และเผยแพร่ความรู้จากงานวิจัยต่อชุมชนและสังคมระดับประเทศ
          ผลการศึกษา
          1. โครงสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นสามารถช่วยลดพลังงานคลื่นในบริเวณพื้นที่นำร่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมในการป้องกันคลื่นลมได้ถึงร้อยละ 40-80
          2. มาตรการเร่งด่วนที่ควรนำมาใช้ คือ การออกกฎข้อบังคับในการควบคุมการใช้น้ำบาดาลเพื่อลดการทรุดตัวของแผ่นดินบริเวณชายฝั่งทะเล
          3. การสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นควรทำพร้อมกับการปลูกป่าชายเลนเพื่อเร่งการสร้างเสถียรภาพของชายฝั่งทะเล

          การดำเนินงานโดยหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวง ทส. จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
          1. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550
          ขอบเขตการศึกษา
          1. พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน บริเวณกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดสมุทรสาคร
          2. เพื่อสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ สาเหตุ วิธีการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียนและพื้นที่ข้างเคียง
          3. สำรวจออกแบบรูปแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง เพื่อแก้ไขและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียนและพื้นที่ข้างเคียง
          4. จัดทำแผนปฏิบัติการและเสนอแนะแนวทางสำหรับการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จำเป็นในพื้นที่ชุมชน
          ผลการศึกษา
          เสนอให้ใช้รูปแบบรอดักทราย ตัวที (T-Groin) ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยให้มีการปลูกป่าชายเลนหลังจากมีการสร้างรอดักทรายแล้วเสร็จ มีค่าก่อสร้างโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ จะมีราคาค่าก่อสร้างประมาณ 316 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน ดอกเบี้ยต้นทุน การบำรุงรักษาหลังโครงการ และภาระผูกพันต่างๆ) ค่าก่อสร้างโครงการเฉพาะส่วนหัวตัวทีของรอดักทราย ประมาณ 160 ล้านบาท ส่วนขาตัวทีของรอดักทราย ประมาณ 176 ล้านบาทและจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 89.47 ของประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการต้องการให้มีการดำเนินการก่อสร้างโดยเร่งด่วน

          2. โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำที่ดินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะกลับมาใช้ประโยชน์ (Land Reclamation)
          หน่วยงาน/ ปีที่ดำเนินการ สำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2553
          ขอบเขตการศึกษา
          1. ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาที่ดินชายฝั่งทะเลที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและประชาชน
          2. ศึกษาและวิเคราะห์มาตรการและกลไกของกฎหมาย วิธีปฏิบัติของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการนำที่ดินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะกลับมาใช้ประโยชน์
          3. เตรียมความพร้อมและจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติของประเทศไทย
          ผลการศึกษา
          1. ปัญหาด้านกฎหมายและองค์กรของไทย ได้แก่ สถานะทางกฎหมายของที่ดินชายฝั่งที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ เงื่อนไขและเวลาที่มีผลทางกฎหมาย
อำนาจหน้าที่และกลไกเพื่อการจัดการรัฐและหน่วยงานของรัฐ
          2. ในต่างประเทศจะมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการที่ดินชายฝั่งทะเลของตนเอง โดยรัฐจะมีอำนาจในการจัดการที่ดินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะได้อย่างบูรณาการผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่างๆ
          3. ข้อเสนอสำหรับประเทศไทย คือ
          - การใช้มาตรการแบบอ่อน (soft solution) ได้แก่ การเติมทรายให้ชายหาด ในการจัดการที่ดินชายฝั่งทะเลที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะอย่างสมดุลและยั่งยืน
          - การควบคุมกิจกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและกำหนดแนวถอยร่นให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
          - การจัดการองค์ความรู้เรื่อง กระบวนการชายฝั่ง
          - การกำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความหลากหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม
          - การกำหนดวิธีการในการจัดการตะกอนทราย ดินเลนหรือตะกอนเลน และป่าชายเลน
          - การจัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบแนวทาง มาตรฐานการปฏิบัติ รวมทั้งการปฏิบัติที่เป็นต้นแบบในการจัดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของชาติ รายการศึกษา หน่วยงาน/ปีที่ดำเนินการ ขอบเขตการศึกษาและผลการศึกษา

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด