ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
  • 1 สิงหาคม 2556
  • 451
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

มติ ครม. และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2551
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ ทส. เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี โดยให้
          1. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศ และทำการฟื้นฟูแนวชายฝั่งด้วยระบบธรรมชาติ ทั้ง ป่าชายเลน และป่าชายหาด
          2. กรมทรัพยากรธรณีพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อใช้ในกระบวนการตัดสินใจและการวางแผน
          3. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษากำหนดให้กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

          มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2552
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการ บูรณาการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอ โดยให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการ
          1. เร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการกัดเซาะเชิงบูรณาการ 5 ปี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปี
          2. จัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย(ปากแม่น้ำปราณบุรีจนถึงปากพนัง) และชายฝั่งทะเลอันดามัน
          3. ศึกษาวิจัยรูปแบบและวิธีป้องกัน รักษา และฟื้นฟูป่าชายเลน และป่าชายหาดที่เสื่อมโทรมจากการกัดเซาะฯ
          4. ประสานสำนักงบประมาณรวบรวมสถิติการใช้งบประมาณในการป้องกัน / แก้ไขปัญหาการกัดเซาะฯ
          5. จัดประชุมวิชาการระดับชาติ / นานาชาติ
          6. จัดทำแผนขอรับทุนการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิศวกรรมชายฝั่ง วิทยาศาสตร์ทางทะเล สมุทรศาสตร์ ฯลฯ)

          มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2553
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแผนบูรณาการ งบประมาณการจัดการและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ.2554–2559 รวมระยะเวลา 6 ปี เป็นวงเงิน 19,580.8 ล้านบาท จำนวน 933 โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดย
          1. ให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบประสานการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบแผนบูรณาการงบประมาณฯ
          2. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
          3. ให้กระทรวงมหาดไทยประสานจังหวัดและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งข้อมูลแผนงาน/โครงการ การจัดการป้องกันการกัดเซาะให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบเพื่อบูรณาการแผนเพิ่มเติม

          กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
          1. พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
          2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          3. ประมวลกฏหมายที่ดิน
          4. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2554
          5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
          6. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
          7. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2553

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด