กัดเซาะชายฝั่ง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แนวทาง คือ
1. การแก้ไขปัญหาโดยการใช้ธรรมชาติ
ได้แก่ การฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ปะการังและหญ้าทะเล ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
2. การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะแบบไม่ใช้โครงสร้าง
วิธีการนี้เหมาะสำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีชุมชนอาศัยไม่หนาแน่นและมีปัญหาการกัดเซาะที่ไม่รุนแรง ได้แก่
2.1 การปลูกพืช
2.2 การเสริมทรายชายหาด
2.3 ไส้กรอกทราย
2.4 ปักแนวไม้ไผ่กันคลื่น
3. การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม
วิธีการนี้เป็นการแก้ไขโดยการสลายพลังงานของคลื่นที่เหมาะสม หรือเพื่อช่วยดักตะกอนเลนทรายชายฝั่งและช่วยยึดแนวชายฝั่ง แนวทางการแก้ไขปัญหานี้เหมาะสำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีปัญหาถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง แต่มักจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง ทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่อง ได้แก่
3.1 กำแพงป้องกันคลื่น (Seawall)
3.2 คันดักทราย (Groin)
3.3 เขื่อนกันคลื่น (Breakwater)
3.4 เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty)
3.5 หัวหาด (Head Land)
4. การใช้มาตรการควบคุมทางกฏหมายและการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งให้เหมาะสม
ต้องใช้การบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
ข้อดีและข้อจำกัดของรูปแบบการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง