ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
  • 1 สิงหาคม 2556
  • 564
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ยุทธศาสตร์ด้านกัดเซาะชายฝั่ง

          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดทำยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2551 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

          วิสัยทัศน์
          “แนวชายฝั่งทะเลทั่วประเทศมีการจัดการพื้นที่เชิงบูรณาการ โดยคำนึงถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ การรักษาคุณค่าของระบบนิเวศชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

          พันธกิจ
          1. ป้องกันปัญหาการกัดเซาะและพังทลายในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ยังมีสภาพปกติตามธรรมชาติ
          2. แก้ไขและฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาการกัดเซาะและพังทลาย
          3. สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

          วัตถุประสงค์
          1. เพื่อจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยวิธีบูรณาการโดยเน้นการศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของทางเลือกต่างๆที่จะพิจารณานำมาใช้ในการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง
          2. เพื่อลดระดับความเสี่ยงจากผลกระทบของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลโดยการเลือกใช้เทคนิคการจัดการแก้ไขและฟื้นฟูพื้นที่อย่างเหมาะสมและรอบคอบ
          3. เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและความเข้าใจแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน บริเวณชายฝั่งและชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่ชายฝั่งเกี่ยวกับระบบการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของนิเวศชายฝั่งและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องความเสี่ยงและผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
          4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้เกี่ยวขั้องอื่นๆ ในการจัดการปัญหาและความเสี่ยงจากการกัดเซาะชายฝั่งเป้าหมาย
          5. จัดทำระบบป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ถูกกัดเซาะ พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยทั้งหมด
          6. จัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล
          7. บูรณาการ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
          8. กำหนดนโยบาย แนวทาง และมาตรการดำเนินงานระดับพื้นที่
          9. เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

          ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย

          ประกอบด้วย 5 มาตรการดังนี้
          1. การพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อใช้ในกระบวนการตัดสินใจวางแผนและดำเนินงาน
          1.1 ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
          1.2 รวบรวม และจัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ของชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง
          1.3 ทำระบบฐานข้อมูลที่มีมาตรฐานและทันสมัยสามารถแสดงผลการประมวลข้อมูลสถานการณ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศ เพื่อใช้ในการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง

          2. การมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
          2.1 เพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
          2.2 เสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงาน สถาบัน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

          3. การจัดทำแผนแม่บท และ/หรือ แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่งเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่
          3.1 สร้างโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ และขั้นตอนการตัดสินใจ วางแผน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทุกประเด็นปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่องและร่วมมือกันปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ 
          3.2 จัดทำแผนบูรณาการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศและแผนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่วิกฤติ และพื้นที่เร่งด่วน ซึ่งประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับชาติ

          4. การป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่ง
          4.1 กำหนดและจำแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเล หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกมาตรการจัดการป้องกัน แก้ไข หรือฟื้นฟูพื้นที่แต่ละประเภท/แห่งตามความเหมาะสม 
          4.2 จัดทำยุทธศาสตร์การจัดการและแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่ง 
          4.3 แก้ไขและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาการกัดเซาะให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติ หรือสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ตามศักยภาพ 
          4.4 ป้องกันพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาระบบนิเวศชายฝั่งทะเล และพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมในพื้นที่อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่ง ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างยั่งยืน

          5. การพัฒนาระบบกำกับ ตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินงาน ด้านการจัดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง กำหนดกลไกในการติดตามและประเมินผล
          5.1 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่และเกี่ยวข้องให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการ[บังคับใช้โดยเฉพาะในพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน
          5.2 กำหนดมาตรการเชิงรุกในการติดตาม และตรวจสอบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลตลอดจนจัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในระดับพื้นที่

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife