กัดเซาะชายฝั่ง
การจัดการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
ปัจจุบันแนวชายฝั่งทะเลทั่วประเทศที่ประสบปัญหาการกัดเซาะรวมระยะทางประมาณ 830 กิโลเมตร แยกเป็นแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ระยะทางประมาณ 730 กิโลเมตร (โดยในจำนวนนี้ แยกเป็นกัดเซาะปานกลาง 502 กิโลเมตร และกัดเซาะรุนแรง 228 กิโลเมตร) และแนวชายฝั่งทะเลด้านอันดามันที่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร (โดยในจำนวนนี้ แยกเป็นกัดเซาะปานกลางประมาณ 75 กิโลเมตร และกัดเซาะรุนแรงประมาณ 25 กิโลเมตร) การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาวะโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันและรักษาพื้นที่ชายฝั่งที่เหลืออยู่ การแก้ไขฟื้นฟูชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาการกัดเซาะและพังทลาย การสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ตลอดแนวชายฝั่งทะเล พร้อมกับเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อคุณค่าด้านการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ รวมทั้งสร้างกลไกการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างเป็นระบบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการพัฒนาแนวชายฝั่งทะเลให้สมบูรณ์อย่างยั่งยืน
ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน กรมประมง องค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยงานท้องถิ่น และบริษัทเอกชน ได้ร่วมกันสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในจังหวัดสงขลา เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเขิงเทรา และระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง
ตารางจำนวนและรูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามลักษณะโครงสร้าง
จังหวัด | กำแพงกันคลื่น | เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore Break Water) | เขื่อนหินทิ้ง (Revetment) | กำแพงปากแม่น้ำ (Jetty) | เขื่อนดักตะกอน (Groin) | เขื่อนไม้ไผ่กันคลื่น | เข็มคอนกรีตสลายพลังคลื่น | ไส้กรอกทราย | โครงสร้างรูปแบบ อื่นๆ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สงขลา | 14 | 17 | 4 | - | 3 | - | 3 | - | 4 |
เพชรบุรี | 5 | 29 | - | 2 | 18 | - | - | - | 1 |
สมุทรสงคราม | 2 | - | - | - | - | - | - | - | - |
สมุทรสาคร | 2 | 2 | - | - | - | 2 | - | 1 | - |
กรุงเทพมหานคร | - | - | - | - | 1 | - | - | - | - |
สมุทรปราการ | 2 | - | - | - | - | - | - | 1 | - |
ฉะเชิงเทรา | - | 1 | - | - | - | - | - | 1 | - |
ระยอง | 7 | 11 | - | - | 2 | - | - | - | - |
รวมจำนวนโครงสร้าง | 32 | 60 | 4 | 2 | 24 | 2 | 3 | 3 | 5 |
ที่มา : โครงการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย
ตารางจำนวนและรูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามหน่วยงานกำกับดูแล
จังหวัด | กรมเจ้าท่า | กรมโยธาธิการและผังเมือง | กรมทางหลวง | กรมทรัพยากรธรณี | กรมชลประทาน | กรมประมง | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | หน่วยงานท้องถิ่นและบริษัทเอกชน | รวมรายจังหวัด |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สงขลา | 10 | 7 | 2 | 5 | - | 2 | 4 | 15 | 45 |
เพชรบุรี | 2 | - | - | 28 | 14 | - | - | 11 | 55 |
สมุทรสงคราม | - | 1 | - | 1 | - | - | - | - | 2 |
สมุทรสาคร | - | 2 | - | 2 | - | - | 2 | 1 | 7 |
กรุงเทพมหานคร | 1 | - | - | - | - | - | - | - | 1 |
สมุทรปราการ | - | 1 | - | 1 | - | - | 1 | - | 3 |
ฉะเชิงเทรา | - | 1 | - | - | - | - | - | 1 | 2 |
ระยอง | 6 | 15 | - | 17 | - | - | - | - | 38 |
รวมจำนวนโครงสร้าง |
19 |
27 |
2 |
54 |
14 |
2 |
7 |
28 |
153 |
ที่มา : โครงการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย
ตัวอย่างรูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง