ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
  • 1 สิงหาคม 2556
  • 537
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย

          ตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ทราบสถานการณ์การกัดเซาะในภาพรวมของทั้งประเทศ โดยจะพบว่าในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีการกัดเซาะชายฝั่งที่แตกต่างกัน ดังนี้

          1. การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
          การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภายใต้ฝั่งอ่าวไทยจะเกิดขึ้นในทุกจังหวัดบริเวณพื้นที่ราบน้ำขึ้นถึงบริเวณป่าชายเลน บริเวณหาดทรายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเขตอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย จากการสำรวจพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร เกิดขึ้นใน 12 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส และพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะปานกลางเฉลี่ย 1-5 เมตรต่อปี มี 16 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎ์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและมีการกัดเซาะขั้นรุนแรงมากที่สุด

          2. การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน 
          เกิดขึ้นน้อยกว่าชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยโดยพื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรงในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี ใน 5 จังหวัด คือ ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล และพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะปานกลางเฉลี่ย 1 – 5 เมตรต่อปีใน 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล โดยทั่วไปพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอันดามันเกิดขึ้นในพื้นที่หาดทรายมากกว่าที่ราบน้ำขึ้นถึงต่อเนื่องกับป่าชายเลน

          ดังนั้น เพื่อให้สามารถทราบสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทยโดยละเอียด จึงได้แบ่งพื้นที่ชายฝั่งทะเลออกเป็น 6 พื้นที่ โดยมีรายละเอียดผลการศึกษาสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในแต่ละพ้ืนที่ ดังนี้
          1. อ่าวไทยฝั่งตะวันออก
          2. อ่าวไทยตอนบน
          3. อ่าวไทยตอนกลาง
          4. อ่าวไทยตอนล่าง
          5. ทะเลอันดามันตอนบน 
          6. ทะเลอันดามันตอนล่าง 

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife