ขนาด
กัดเซาะชายฝั่ง
  • 9 กรกฎาคม 2556
  • 2869
กัดเซาะชายฝั่ง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ข้อมูลเบื้องต้น

          ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด

          ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นที่ยอมรับว่าต้องมีการเยียวยาอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งกว่า 12 ล้านคน และพื้นที่ชายฝั่งยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจหลายด้าน ได้แก่ การท่องเที่ยว การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงชายฝั่ง ซึ่งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ต่อชุมชนและประเทศอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย ป่าชายเลน แนวปะการัง และหญ้าทะเลอีกด้วย 

          พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย มีลักษณะธรณีสัณฐานที่เป็นที่ราบน้ำขึ้นถึง (tidal flat) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าชายเลน เช่น บริเวณอ่าวไทยตอนบน ซึ่งเป็นที่สะสมตัวของตะกอนที่มีขนาดเล็ก และมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นชุมชน ที่อยู่อาศัย และทำนากุ้ง ส่งผลให้ป่าชายเลนเดิมถูกทำลาย ทำให้พื้นที่นี้มีการกัดเซาะรุนแรง ส่วนในบริเวณหาดขนานแผ่นดิน (mainland beaches) ลักษณะการกัดเซาะเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากเมื่อมีสิ่งปลูกสร้างไปขวางทิศทางของกระแสน้ำ ก็จะทำให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่ข้างเคียง นอกจากนั้น การกัดเซาะเกิดจากการขาดตะกอนสะสมตัว (sediment deposit) เนื่องจากธรณีสัณฐานชายฝั่งประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้างและยาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 0.5 – 4 เมตร มีแม่น้ำสายใหญ่และยาวไหลผ่านพื้นที่ลุ่มดินอ่อน และมีต้นน้ำอยู่บนเขา พัดพาเอาตะกอนปริมาณมากไหลออกมาสู่ปากแม่น้ำ และสมตัวอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลประกอบปัจจัยทางยุทธศาสตร์ คลื่น ลม น้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำ ที่พัดตะกอนนอกชายฝั่งมาสะสมตัวอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล สาเหตุที่ขาดตะกอนมาสะสมตัวเป็นเพราะสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไปขวางกั้นทางน้ำ เช่น สะพาน ถนน การขุดทรายก่อสร้างตามแม่น้ำลำคลอง ส่งผลกระทบให้ตะกอนบนบกลดลง ไม่สามารถไปชดเชยตะกอนที่อยู่บริเวณชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะได้เพียงพอ เมื่อถึงฤดูมรสุมหรือมีคลื่นลมมากระทบชายฝั่ง พัดพาตะกอนออกไปจากชายฝั่ง อีกประเด็นหนึ่ง คือ ป่าไม้ต้นน้ำและต้นน้ำถูกทำลาย แม่น้ำเกิดการตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ มีมนุษย์เข้าไปทำกิจกรรมอยู่บริเวณริมแม่น้ำ ก็ส่งผลต่อการลดปริมาณของตะกอนที่ไหลลงสู่แม่น้ำด้วยเช่นกัน 

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ