ขนาด
หญ้าทะเล
  • 18 กรกฎาคม 2556
  • 1,681
หญ้าทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ภาวะคุกคามแหล่งหญ้าทะเล

ปัจจุบันทรัพยากรชายฝั่งทะเลมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงมาก โดยระบบนิเวศหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศแรก ๆ ที่ได้รับกระทบจากกิจกรรมต่างๆและการพัฒนาชายฝั่งทะเลเช่นเดียวกับป่าชายเลนและแนวปะการังทั้งนี้ การเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลนั้นเกิดได้ทั้งจากปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยจากสิ่งที่กระทำโดยมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ความเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลจากปัจจัยจากธรรมชาติ

1) ภาวะโลกร้อน (Greenhouse effect) ภาวะโลกร้อนส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นด้วย โดยอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงมากกว่าภาวะปกติของแหล่งหญ้าทะเลนั้นๆ จะมีผลต่อวงจรชีวิตของหญ้าทะเล มีผลต่อการเจริญเติบโต การออกดอกและเมล็ดของหญ้าทะเลอีกทั้งความเครียดจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ทำให้การกระจายตัวของหญ้าทะเลเปลี่ยนแปลง (Short and Neckles,1999) นอกจากนี้ การโผล่พ้นน้ำทะเลนานๆ อุณหภูมิและแสงแดดที่เพิ่มขึ้นทำให้หญ้าแห้งความร้อนมีผลทำให้หญ้าตายได้

2) ภัยธรรมชาติอื่นๆ เหตุการณ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 นั้นได้ส่งผลกระทบต่อแนวหญ้าทะเลในฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร โดยแหล่งหญ้าทะเลที่ได้รับผลกระทบมากได้แก่ บริเวณบ้านทุ่งนางดำและด้านเหนือของเกาะพระทอง จังหวัดพังงา ในบางพื้นที่พบว่าตะกอนที่ถูกกวนให้ฟุ้งกระจายและพัดพาไปตามแรงคลื่นมีผลทำให้หญ้าทะเลช้ำและกลายเป็นสีน้ำตาลและใบเน่าตายไปในเวลา 2-3 สัปดาห์ถัดมาในขณะที่การฟื้นตัวของแหล่งหญ้าทะเลที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน นอกจากนี้ ความารุนแรงจากพายุต่างๆ ส่งผลกระทบต่อแหล่งหญ้าทะเลเช่นกัน เช่นพายุไซโคลนที่ทำให้หญ้าทะเลที่อ่าวเฮอร์วีในประเทศออสเตรเลียตายทั้งหมด (Preen and Marsh, 1995) หรือไต้ฝุ่นลินดาที่เกิดทางตอนใต้ของประเทศเวียดนามทำให้แหล่งหญ้าทะเลที่เกาะคอนเดาเสียหายและมีการเปลี่ยนแหล่งหญ้าทะเลในเวลาต่อมา (Hoa, 2001) ความเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

1. การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นท้องทะเลต่างๆ เช่น การขุดลอกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ และการก่อสร้างท่าเรือ เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่หญ้าทะเลถูกทำลายโดยตรง

2. การพัฒนาชายฝั่งทะเลเช่นการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดตะกอนชะล้างลงสู่ทะเล โดยตะกอนดังกล่าวจะปกคลุมใบหญ้าและปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของหญ้าทะเล

3) การเดินเรือ และการสัญจรทางน้ำ ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อแหล่งหญ้าทะเล ทำให้ใบหญ้าทะเลถูกตัดขาด หน้าดินถูกคุ้ย เกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนในน้ำ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล

4) การทำประมงบางประเภท เช่น คราดหอย เรืออวนลากขนาดเล็ก เรืออวนรุน เรืออวนทับตลิ่งขนาดใหญ่ ที่ทำการประมงในแหล่งหญ้าทะเล ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่แหล่งหญ้าทะเล และสัตว์ทะเล

5) น้ำเสียตามชายฝั่งทะเล เช่น การทำเหมืองแร่ ท่าเทียบเรือ สะพานปลา โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนบ้านเรือน และการทำนากุ้ง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล

หญ้าทะเลที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 17 กันยายน 2562
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์