ขนาด
หญ้าทะเล
  • 18 กรกฎาคม 2556
  • 2,106
หญ้าทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ชนิดพันธุ์ของหญ้าทะเล

           ชนิดพันธุ์หญ้าทะเล ในน่านน้ำไทยพบหญ้าทะเล 13 ชนิด จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 60 ชนิดพันธุ์ที่พบทั่วโลก (Waycoott et al., 2004) ในฝั่งทะเลอันดามันพบหญ้าทะเล 12 ชนิด ขาดเพียงชนิดเดียวคือ หญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppiamaritima) ซึ่งพบเฉพาะทางฝั่งทะเลอ่าวไทยเท่านั้นส่วนฝั่งอ่าวไทย พบหญ้าทั้งสิ้น 12 ชนิดเช่นกัน โดยไม่พบหญ้าเงาใบใหญ่ (Halophila major) ซึ่งเป็นหญ้าทะเลที่เพิ่งมีรายงานการพบเฉพาะทางฝั่งอันดามันของประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ (Tuntiprapas, et al., 2015) โดยชนิดพันธุ์หญ้าทะเลสามารถแบ่งได้ง่ายๆตามลักษณะของใบเป็น2กลุ่ม คือกลุ่มที่มีใบแบนยาวหรือใบกลมยาว และกลุ่มที่มีใบแบนสั้นรูปรี

           การเรียกชื่อหญ้าทะเลนั้น มีความหลากหลายไปตามพื้นที่ของชุมชนชายฝั่งทะเล และยังมีความแตกต่างกันระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน (สมบัติ, 2534 เป็นผู้บุกเบิกในการตั้งชื่อภาษาไทย) สำหรับใช้เรียกหญ้าทะเลชนิดต่างๆ ฝั่งทะเลอันดามัน โดยอาศัยชื่อพื้นเมืองที่ชาวบ้านเรียกเป็นพื้นฐาน ประกอบเข้ากับลักษณะเฉพาะของหญ้าทะเลแต่ละชนิด ดังนี้

           1. กลุ่มที่มีใบแบนยาว หรือ ใบกลมยาว

             หญ้าคาทะเล (Enhalus acorides)
              หญ้าต้นหอมทะเล(Syringodium isoetifolium)
             หญ้ากุยช่ายทะเล(Halodule uninervis)
             หญ้ากุยช่ายเข็ม(Halodule pinifolia)
             หญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppia maritima)
               หญ้าชะเงาใบมน (Cymodocea rotundata)
             หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย(Cymodocea serrulata)
             หญ้าชะเงาเต่า(Thalassia hemprichii)

           

2. กลุ่มที่มีใบแบนสั้นรูปรี

              หญ้าเงา หรือหญ้าใบมะกรูด หรือหญ้าอำพัน (Halophila ovalis)
              หญ้าเงาใบเล็ก(Halophila minor)
              หญ้าเงาใบใหญ่ (Halophila major)
              หญ้าเงาใส (Halophila decipiens)
              หญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii)
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • ขยะทะเล
    ขยะทะเล
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล