ขนาด
หญ้าทะเล
  • 18 กรกฎาคม 2556
  • 1,437
หญ้าทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

การแพร่กระจาย

           แหล่งหญ้าทะเล ในประเทศไทยสามารถพบได้ในหลายพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำที่ติดป่าชายเลน ชายฝั่งน้ำตื้นที่มีพื้นทรายหรือทรายปนโคลน และที่ลึกติดกับแนวปะการัง (Chansang and Poovichiranon, 1994) โดยพบแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทะเลรวมถึงเกาะแก่งต่างๆ ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัดชายฝั่ง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

          จากฐานข้อมูลทรัพยากรหญ้าทะเลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี พ.ศ. 2563 สรุปขอบเขตพื้นที่ศักยภาพเป็นแหล่งหญ้าทะเล* มีพื้นที่ประมาณ 160,628 ไร่ ใน 17 จังหวัดชายฝั่ง โดยฝั่งอ่าวไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 54,148 ไร่ ฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่ 106,480 ไร่ พบหญ้าทะเลรวม 12 ชนิด โดยในฝั่งทะเลอันดามันสามารถพบหญ้าทะเลได้ทั้ง 12 ชนิด มีหญ้าคาทะเลและหญ้าใบมะกรูด เป็นชนิดที่สามารถพบได้ทั่วไป ส่วนฝั่งอ่าวไทย พบหญ้าทั้งสิ้น 11 ชนิด มีหญ้าใบมะกรูดและหญ้ากุยช่ายเข็ม เป็นชนิดที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยไม่พบหญ้าเงาใบใหญ่ ซึ่งเป็นหญ้าทะเลที่เพิ่งมีรายงานการพบเฉพาะทางฝั่งอันดามันของประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนหญ้าตะกานน้ำเค็ม ซึ่งเคยมีรายงานพบในแหล่งธรรมชาติบริเวณแปลงปลูกป่าชายเลนของจังหวัดเพชรบุรีเท่านั้น แต่ปัจจุบันสำรวจไม่พบหญ้าทะเลแพร่กระจายในพื้นที่เดิมที่เคยพบ โดยพบว่าต้นไม้ป่าชายเลนที่ปลูกได้เจริญปกคลุมจนเกือบเต็มพื้นที่ จนทำให้หญ้าทะเลไม่ได้รับแสงแดดและตายลงในที่สุด 

          แหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่สุดในน่านน้ำไทยคือ บริเวณเกาะลิบง จังหวัดตรัง และยังมีแหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันอีกหลายพื้นที่ อาทิ เกาะศรีบอยา-เกาะปู จังหวัดกระบี่ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา อ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่าวทุ่งคา-สวี จังหวัดชุมพร และอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

ตาราง ชนิดหญ้าทะเลที่พบรายจังหวัดฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันปี พ.ศ. 2563 ​

ชื่อชนิด ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ฯ นครศรีฯ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
หญ้าชะเงาใบมน (/) - - - - - - / - - - - - / / / /* (/)
หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย / - - (/) - - - - - - - - / /* /* / / (/)
หญ้าคาทะเล  / /* (/) (/) - - / / / - - - /* /* /* /* /* /*
หญ้าเงาแคระ (/) - (/) - - - / / - / / / / / / / / /
หญ้าเงาใส (/) (/) / /* - - / / - - - - / / / / / /
หญ้าเงาใบใหญ่ - - - - - - - - - - - - / / /* / / /
หญ้าเงาใบเล็ก (/) (/) / / - - - / - - - - / /* / / / /
หญ้าใบมะกรูด / - / /* - (/) / /* / / / - /* /* /* /* / /
หญ้ากุยช่ายเข็ม / / /* / - (/) / / / / / /* / / / /* / /
หญ้ากุยช่ายทะเล / /* / / - / - / / - - - / /* /* / / /
หญ้าต้นหอมทะเล - - - - - - - / - - - - / / (/) / / /
หญ้าชะเงาเต่า (/) - - / - - - / / - - - / /* / / / /
หญ้าตะกานน้ำเค็ม - - - - (/) - - - - - - - - - - - - -
พื้นที่ (ไร่) 5,903 2,892 7,447 5,209 - 4 11,425 16,480 163 1,727 2,364 534 2,924 26,600 4,883 34,236 34,870 2,967
รวมจำนวนชนิด 10 5 7 8 1 3 5 10 5 3 3 2 11 12 12 12 12 12

หมายเหตุ ชนิดหญ้าทะเลที่พบ ดังนี้ หญ้าชะเงาใบมน (Cymodocea rotundata: Cr) หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata: Cs) หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides: Ea) หญ้าใบพาย (Halophila beccarii: Hb) หญ้าเงาใส (Halophila decipiens: Hd) หญ้าเงาใบใหญ่ (Halophila major: Hj) หญ้าเงาใบเล็ก (Halophila minor: Hm) หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis: Ho) หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia: Hp) หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis: Hu) หญ้าต้นหอมทะเล (Syringodium isoetifolium: Si) และหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii: Th) 

ความหมายของสัญลักษณ์    / แสดงชนิดหญ้าทะเลที่พบปัจจุบัน    (/) แสดงชนิดหญ้าที่พบในอดีต    และ    * ชนิดหญ้าทะเลที่พบได้บ่อยในเกือบทุกแหล่งของจังหวัด

 

ตัวอย่างหญ้าทะเลชนิดต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

 
   
   
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2565
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์