ขนาด
ปะการัง
  • 2 กรกฎาคม 2556
  • 936
ปะการัง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ชีววิทยาและระบบนิเวศปะการัง

"ชนิดและการแพร่กระจาย"
          ปะการังเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่มีหินปูนเป็นโครงร่างแข็งที่เปรียบเสมือนกระดูก หินปูนที่ว่านี้เป็นส่วนที่รองรับเนื้อเยื่อตัวปะการัง ซึ่งมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกเล็กๆ และที่ปลายกระบอกจะมีหนวดที่คอยโบกสะพัดเพื่อจับอาหารที่เป็นแพลงก์ตอนในน้ำ อาหารที่ปะการังใช้ในการดำรงชีพส่วนหนึ่งยังมาจากสารอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้น สาหร่ายที่ว่านี้โดยทั่วไปเรียกว่า ซูแซนเทลลี่ (Zooxanthellae) เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว (single cell algae) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเนื้อเยื่อของตัวปะการัง โดยปะการังและสาหร่ายนี้จะอยู่ร่วมกันแบบมีประโยชน์ร่วมกัน โดยปะการังให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่สาหร่าย เช่น ของเสียที่เกิดขึ้น ทั้งก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่เกิดจากขบวนการหายใจของปะการัง และของเสียจากกากอาหารที่ย่อยแล้ว สาหร่ายก็จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารต่อไป

สาหร่ายซูแซนเทลลี่(zooxanthellae)

สาหร่ายซูแซนเทลลี่ (zooxanthellae)
ที่มา : http://coralreef.noaa.gov/aboutcorals/coral101/symbioticalgae/resources/zoox_santos.jpg

          หากสังเกตตามผิวหินปูนของปะการัง จะเห็นช่องที่เป็นที่ฝังตัวของตัวปะการัง ซึ่งอาจจะเป็นช่องเล็กๆ เพียง 1 มิลลิเมตร จนถึงขนาด 2-3 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปะการัง ลักษณะช่องอาจจะเป็นช่องกลม รี เหลี่ยม หรืออาจเป็นร่องยาวก็ได้ โดยช่องที่ว่านี้เป็นที่อยู่ของปะการังแต่ละตัวหรือหลายตัวก็ได้ในกรณีที่เป็นร่องยาว ดังนั้น จะเห็นว่าในปะการังหนึ่งก้อน หนึ่งกอ หรือหนึ่งแผ่น ประกอบขึ้นด้วยตัวปะการังจำนวนมาก โดยมีเนื้อเยื่อเชื่อมติดกัน เราจึงมักเรียกกันว่าปะการังอยู่กันเป็นกลุ่ม (colony) ตัวปะการังจำนวนมากประกอบขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการัง ซึ่งก็คือการแบ่งตัวขยายพันธุ์แบบ cloning นั่นเอง แต่ยังมีปะการังอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีจำนวนชนิดไม่มากนักโดยในหนึ่งก้อนประกอบขึ้นด้วยตัวปะการังเพียงตัวเดียว กล่าวคือ เป็นปะการังประเภท อยู่แบบเดี่ยว (solitary) เช่น ปะการังดอกเห็ด (Mushroom coral)

ปะการังแบบอยู่กันเป็นกลุ่ม(colony) ปะการังแบบอยู่กันเป็นกลุ่ม(colony) ปะการังแบบอยู่กันเป็นกลุ่ม(colony)

ปะการังแบบอยู่กันเป็นกลุ่ม (colony)

ปะการังดอกเห็ด(Mushroom coral)

ปะการังแบบอยู่เดี่ยว (solitary) เช่น ปะการังดอกเห็ด (Mushroom coral)

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2565
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล