ขนาด
ปะการัง
  • 10 ตุลาคม 2559
  • 1,785
ปะการัง สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

วิธีการจำแนกชนิดปะการัง

(1) การจำแนกชนิดปะการัง
          มีความจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างเพื่อดูรายละเอียดโครงสร้างหินปูนของปะการังแต่ละก้อน แต่หากชานาญแล้วอาจจาแนกชนิดได้ขณะอยู่ใต้น้ำ ในการศึกษาอย่างละเอียดของโครงสร้างหินปะการังนั้น จำเป็นต้องรู้จักคำศัพท์เฉพาะ ดังนี้

Polyp(โพลิป)

​          Polyp (โพลิป) คือตัวของปะการัง โดยพื้นฐานแล้วมีรูปทรงเป็นทรงกระบอก แต่ละตัวมีหนวดเรียงเป็นวง 6 เส้น หรือ 12 เส้น หรือ 24 เส้น หรือ 48 เส้น แล้วแต่ชนิด - ตัวอ่อนปะการังตัวแรกที่ลงเกาะยึดพื้นแข็ง จะเจริญเติบโตโดยการแบ่งตัว (budding) หรืออาจเรียกว่าแตกหน่อ จนได้เป็นก้อนหรือกอซึ่งประกอบด้วยตัวปะการังจานวนมากมาย เรียกว่าโคโลนี (colony)

Corallum(คอรอลลัม)

Corallum (คอรอลลัม) คือก้อน กิ่งก้านหินปูนปะการังที่เกิดจากปะการังเจริญเติบโตก่อขึ้น

033

(2) ลักษณะของคอรอลไลท์ มีหลายแบบ ได้แก่

Plocoid(โพลคอยด์)

Plocoid (โพลคอยด์) เป็นคอรอลไลท์ที่ผนังยกตัวขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก แบบนี้ผนังคอรอลไลท์แยกกัน ไม่เชื่อมติดกัน

Cerioid(เซอริออยด์)

Cerioid (เซอริออยด์) คอรอลไลท์ที่อยู่ติดกันใช้ผนังร่วมกัน

Ploco-cerioid(โพลโค-เซอริออยด์)

Ploco-cerioid (โพลโค-เซอริออยด์) เป็นพวกที่เป็นแบบกึ่งโพลคอยด์กึ่งเซอริออยด์ กล่าวคือบางคอรอลไลท์อาจเห็นใช้ผนัง

Phaceloid(ฟาซีลอยด์)

Phaceloid (ฟาซีลอยด์) คอรอลไลท์เป็นกระบอกใหญ่แตกขึ้นมาเป็นกิ่ง แต่ละกระบอกค่อนข้างกลมหรือรีเล็กน้อย เป็นที่อยู่ของตัวปะการังหนึ่งหรือสองโพลิบ

Flabelloid(ฟลาเบลลอยด์)

Flabelloid (ฟลาเบลลอยด์) คอรอลไลท์ยกตัวเป็นกระบอกเช่นเดียวกับแบบฟาซีลอยด์ แต่กระบอกหน้าตัดยาวรี เนื่องจากมีตัวปะการังหลายโพลิปในแต่ละกระบอก

Meandroid(มีนดรอยด์)

Meandroid(มีนดรอยด์)

Meandroid(มีนดรอยด์)

Meandroid (มีนดรอยด์) คอรอลไลท์เป็นร่องยาว ในแต่ละร่องมีหลายโพลิป ในรูปขวามือสุดลูกศรชี้ที่ตาแหน่งจุดศูนย์กลางของปะการังแต่ละตัว

Immersed(อิมเมอร์ส)

Immersed (อิมเมอร์ส) คอรอลไลท์เป็นช่องเล็กๆ โดยไม่มีผนังยกตัวขึ้นมาแต่อย่างใด

ประเภทที่คอรอลไลท์ไม่มีผนัง (wall absent) เซ็ปต้าและคอสต้าเรียกรวมกันว่าเซ็ปโตคอสต้า (septo-costa) ซึ่งเชื่อมโยงจากจุดศูนย์กลางของคอรอลไลท์หนึ่งไปสู่อีกคอรอลไลท์ที่อยู่ติดกัน

บางชนิดคอรอลไลท์ไม่มีผนัง แต่สร้างสันนูน (ridge) ขึ้นมาแบบไม่เป็นระเบียบ

(3) รูปทรงของปะการัง มีหลายแบบ ดังนี้

Massive(แมสซีฟ)

Massive (แมสซีฟ) เป็นก้อน โขด หัว หนาทึบ

Sub-massive(ซับแมสซีฟ)

Sub-massive (ซับแมสซีฟ) เป็นกึ่งก้อน ก้อนแตกแขนงเป็นโหนก อาจเป็นกิ่งหนาๆก็ได้ ทาให้ภาพรวมของโคโลนีไม่หนาทึบเหมือนอย่างในพวกแมสซีฟ

Branching(บรานชิ่ง)

Branching (บรานชิ่ง) แตกแขนงเป็นกิ่ง อาจเป็นกิ่งเล็กๆ หรือกิ่งยาว

Foliaceous(โฟลิเอเชียส)

Foliaceous (โฟลิเอเชียส) เป็นแผ่นบาง แผ่คล้ายใบไม้ ถ้าเป็นแผ่นตั้งตรงในแนวดิ่งมักเรียกว่า frond (ฟรอนด์)

Encrusting(เอ็นครัสติ้ง)

Encrusting (เอ็นครัสติ้ง) เป็นชั้นบางๆ ที่ขึ้นเคลือบผิววัตถุ (ผิววัตถุอาจเป็นซากปะการัง หรือหินก็ได้)

Mushroom(มัชรูม)

Mushroom (มัชรูม) เป็นก้อนคล้ายดอกเห็ด พวกนี้เป็นปะการังที่อยู่แบบเดี่ยว (solitary) คือหนึ่งก้อนมีเพียงหนึ่งโพลิป

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2559
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • พะยูน
    พะยูน
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล