ขนาด
ปูเสฉวนบก
  • 11 พฤษภาคม 2564
  • 635

ภัยคุกคามของปูเสฉวนบก

1. การซื้อขายปูเสฉวนบก
          ปูเสฉวนไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย (ยกเว้นในเขตอุทยานแห่งชาติ) ทำให้ถูกจับจากธรรมชาติเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตามธุรกิจการเลี้ยงปูเสฉวนบกก็ไม่ยั่งยืน เพราะปูเสฉวนบกไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์จนถึงจุดคุ้มทุนทางการค้าไดh้

          ปัจจุบันปูเสฉวนบกกำลังได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เลี้ยงนิยมใช้สีทาบนเปลือกหอยให้เป็นสีสันและลวดลายต่าง ๆ อย่างไรก็ดีปูเสฉวนบกค่อนข้างมีความยุ่งยากในการเลี้ยง แม้ว่าจะอาศัยอยู่บนบกแต่ในสถานที่เลี้ยงต้องให้มีความชุ่มชื้นด้วย โดยต้องปูพื้นด้วยกรวดทรายและขอนไม้หรือมะพร้าวผุ และมีความจำเป็นต้องใช้แร่ธาตุจำพวกแคลเซียมประกอบในการเลี้ยงด้วย ไม่เช่นนั้นก็อาจตายได้

          ในประเทศไทย จากการค้นหาข้อมูลในเพจ facebook พบทั้งเพจที่ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปูเสฉวน และค้าขายปูเสฉวน รวมไปถึงอุปกรณ์การเลี้ยง มากกว่า 10 เพจขึ้นไป โดยราคาที่ซื้อขายกันราคาตัวละประมาณ 10 บาท ไปจนถึงตัวละกว่า 1,000 บาทก็มี ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของปูเสฉวนบก

          จากรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 6 (One World One Ocean :New and More Values of the Seas) ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จ. ชลบุรี มีรายงานว่าพบปูเสฉวนบกถึง 3 ชนิดอาศัยอยู่รวมกันที่หาดเกาะกำใหญ่ จ.ระนอง ได้แก่ Coenobita brevimanus, Coenobita violascens และ Coenobita rugosus และกำลังถูกคุกคามจากการจับมาทำการซื้อขายอย่างมากบนเว็บไซต์

2. สารพิษจากขยะทะเล
          ผลการศึกษาล่าสุดระบุว่าปูเสฉวนมากกว่า 500,000 ตัวตายลงเนื่องจากมลพิษพลาสติก นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแทสเมเนียและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนพบว่า ปูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลสัตว์จำพวกครัสเตเชียนนั้นตายหลังจากการถูกขังอยู่ในขยะพลาสติกบนเกาะเขตร้อนสองแห่ง เมื่อปูเสฉวนตายลงจะปล่อยกลิ่นสารเคมีออกมา ซึ่งจะดึงดูดปูเสฉวนตัวอื่นเข้ามาติดในขยะพลาสติกทำให้เกิดการตายเป็นลูกโซ่

3. ไม่มีเปลือกหอยมาเปลี่ยน
          ปูเสฉวนต้องการเปลือกหอยเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และใช้ป้องกันภัย ถึงแม้ว่าปูเสฉวนจะมีกระดองแข็งหุ้มตัวอยู่แต่มีส่วนท้องที่อ่อนนุ่ม ซึ่งหากปูเสฉวนบกอยู่นอกเปลือกหอยจะตายลงภายใน 24 ชั่วโมง ปูเสฉวนบกจะเจริญเติบโตด้วยการลอกคราบ แต่ละครั้งปูเสฉวนบกจะต้องเปลี่ยนเปลือกหอยให้ใหญ่ตามขนาดของร่างกาย
          มนุษย์มีการเก็บเปลือกหอยเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ใช้เป็นเครื่องประดับ ของสะสม และของที่ระลึก รวมไปถึงการนำมาใช้กับงานก่อสร้าง ทำให้ปูเสฉวนหาเปลือกหอยที่มีขนาดเหมาะสมกับการเจริญเติบโตไม่ได้ จึงต้องไปอาศัยในขยะที่มนุษย์ทิ้งไว้ตามชายหาด เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้วแตก กระป๋องเหล็ก และกระป๋องอลูมิเนียม

เราจะช่วยปูเสฉวน....ให้อยู่คู่ชายหาดของเรา ได้อย่างไร
          มีความพยายามของภาครัฐในการอนุรักษ์ปูเสฉวน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์ปูเสฉวน ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 12/2542 ลงวันที่ 7 มกราคม 2542 ให้มีหน้าที่กำหนดแนวทางจัดทำแผนและดำเนินการอนุรักษ์ปูเสฉวน รวมทั้งศึกษาสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัย จำนวน การแพร่กระจาย และข้อมูลทางวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปูเสฉวน รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปูเสฉวน

          ในปี 2563 แฟนเพจของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ ได้โพสรับบริจาคเปลือกหอยเพื่อคืนบ้านให้กับปูเสฉวน ในโครงการ “คืนบ้านให้ปูเสฉวน” หลังมีนักท่องเที่ยวถ่ายภาพปูเสฉวนบกขนาดใหญ่ตัวหนึ่งใช้เศษขวดแก้วเครื่องดื่มชูกำลังในสภาพแตกเป็นปากฉลามอาศัยแทนเปลือกหอย

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2564
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.