ขนาด
ปูเสฉวนบก
  • 11 พฤษภาคม 2564
  • 353

ลักษณะเฉพาะของปูเสฉวนบก

          ลำตัวส่วนหน้าของปูเสฉวนบกปกคลุมด้วยเปลือกไคตินที่แข็งเหมือนปูทั่วไป ส่วนท้องมีลักษณะ​ที่ยาวและนุ่มกว่า ทำให้สามารถปรับช่วงท้องให้เข้ากับเปลือกหอยที่เป็นเกลียวได้ โดยใช้ขาคู่ที่สี่และห้ายึดเกาะกับผนังด้านในของเปลือกหอย​ไม่ให้หลุด โดยการเกร็งกล้ามเนื้อตามโครงสร้างของหอย

          ก้ามขนาดใหญ่ด้านซ้ายใช้ในการป้องกันตัว จับปีนต้นไม้และทรงตัว และยังใช้เป็นฝาปิดเปลือกหอย ส่วนก้ามด้านขวาที่เล็กกว่าใช้หยิบส่งอาหารและน้ำเข้าปาก ผิวของเปลือกที่ขรุขระช่วยยึดปูไว้ในเปลือก

ปูเสฉวนบกมีเหงือกที่ชื้นสำหรับหายใจ โดยช่องเหงือกมีหลอดเลือดที่พัฒนาสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซได้โดยตรงกับอากาศ โดยต้องมีความชื้นในอากาศ 70% ซึ่งทำให้ปูเสฉวนบกต้องอาศัยเปลือกหอยในการเก็บกักความชื้นไว้ หากปูเสฉวนบกอยู่นอกเปลือกหอยเกิน 24 ชั่วโมงก็จะตายได้

          หนวด 2 คู่ไวต่อการรับสัมผัส คู่ที่ยาวกว่าใช้รับความรู้สึก และคู่ที่สั้นกว่าใช้ในการดมกลิ่นและชิมอาหาร ขนที่ปกคลุมภายนอกก็ใช้รับความรู้สึกเช่นกัน เส้นขนและหนวดเหล่านี้ยังเป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือนอีกด้วย

          การเจริญเติบโตของปูเสฉวนบกใช้วิธีการลอกคราบ เพื่อขยายโครงสร้างและร่างกายให้ใหญ่ขึ้น โดยขณะลอกคราบจะสร้างแรงดันน้ำในร่างกายให้มากพอที่จะแยกคราบเก่าออก ปูบางตัวทิ้งเปลือกและฝังตัวเองในทราย บางตัวกักเก็บน้ำไว้ในเปลือกก่อนลอกคราบและยังคงอยู่ในเปลือกตลอดการลอกคราบซึ่งอาจใช้เวลา 45-120 วัน สังเกตได้ว่าปูที่เพิ่งลอกคราบใหม่ๆ ลำตัวจะมีสีฟ้าใสสะอาด ซึ่งอาจเกิดจากการกินคราบเก่าของตัวเองเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุ

การสืบพันธุ์และเติบโต
          ก่อนที่จะผสมพันธุ์ ตัวผู้จะจับตัวเมียดึงออกมาจากเปลือก เมื่อปูทั้งสองตัวโผล่ออกมาจากเปลือก ตัวผู้จะวางท้องเข้าหาตัวเมียเพื่อนำอสุจิลงในอวัยวะ​เพศของตัวเมีย เมื่อไข่ได้รับการผสม ตัวเมียจะปล่อยไข่ลงน้ำทะเล หลังจากไข่ฟักออกมา ตัวอ่อนปูเสฉวนบกซึ่งหน้าตาไม่เหมือนปูเสฉวนบกจะล่องลอยเป็นแพลงก์ตอนและผ่านการลอกคราบหลายครั้ง พัฒนาร่างกายจนขึ้นสู่ฝั่ง หาเปลือกหอยที่พอดีตัว จะใช้ชีวิตบนบก​แล้วก็ไม่สามารถลงไปอยู่ในน้ำได้อีก ปูเสฉวนบกสามารถมีชีวิตได้มากกว่า 60 ปี

อาหาร/ นิสัยการกิน
          ปูเสฉวนบกเป็นสัตว์กินซากพืชซากสัตว์​ เช่น ซากหอย และซากปะการังบนชายหาด หรือเรียกได้ว่ากินทุกอย่าง

การแพร่กระจาย
          ปูเสฉวนบกส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนของภูมิภาคอินโดแปซิฟิก มักอาศัยอยู่ในป่าใกล้ชายฝั่งและมีถิ่นฐาน​ใกล้กับลำธารที่ไหลลงสู่​ทะเล

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2564
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง