ชื่อสัตว์ทะเล |
การสังเกตลักษณะทั่วไป |
ช่องทางพิษเข้าสู่ร่างกาย |
อาการเมื่อได้รับพิษ |
วิธีปฐมพยาบาล |
การป้องกัน |
แมงกะพรุนกล่อง
(Box Jellyfish)

รูป : อ.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

รูป: ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

รูป : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกตอนบน
|
ลำตัวใส รูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีหนวดยื่นจากแต่ละมุมของร่มหนวดอาจมีการแตกแขนงพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุนกล่องและปริมาณพิษที่ได้รับอาการเมื่อได้รับพิษ มีดังนี้
- รอยแผลเป็นเส้นๆ ไขว้กันไปมาเป็นรอยไหม้อาจมีรอยนูนขีดขวาง มักปวดมากบริเวณที่สัมผัสอาจหมดสติ ตัวเขียว และหัวใจหยุดเต้น
...หรือ...
- รอยแผลเป็นเส้น นูนแดง หรืออาจมีอาการต่อไปนี้ ภายใน 5–40 นาที ได้แก่ ปวดบริเวณแผล เจ็บหน้าอกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก เหงื่อแตก
|
1. ผู้ช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน
2. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำหรือไปยังบริเวณที่ปลอดภัย
3. เรียกให้คนช่วยหรือเรียกรถพยาบาลและควรอยู่กับผู้บาดเจ็บเพราะอาจหมดสติได้ในไม่กี่นาที
4.ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆเพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน
5.ห้ามขัดถูบรเิวณที่ถูกแมงกะพรุน
6.1 ถ้าผู้บาดเจ็บหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร
6.1.1 ช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นดังนี้
6.1.1.1 ถ้าไม่มีชีพจรทำการปั๊มหัวใจโดยกดหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย
6.1.1.2 เปิดทางเดินหายใจโดยการเชยคางขึ้น
6.1.2 ราดบริเวณที่ถูแมงกะพรุนด้วยน้ำส้มสายชูทันที
ให้ทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง นานอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด)
6.1.3 ช่วยฟื้นคืนชีพต่อ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึงหรืออาการดีขึ้น
6.1.4 รีบนำส่งโรงพยาบาล
6.2. ถ้าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี
6.2.1 ราดบริเวณที่ถูแมงกะพรุนด้วยน้ำส้มสายชูทันทีให้ทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง นานอย่างน้อย 30 วินาที
(ห้ามราดด้วยน้ำจืด)
6.2.2 สังเกตอาการอย่างน้อย 45 นาที ว่ามีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อหรือไม่
* ปวดมากบริเวณบาดแผลหลังลำตัวหรือศีรษะ
* กระสับกระส่ายหรือสับสน
* เหงื่อออกมากขนลุกคลื่นไส้หรืออำเจียน
* ใจสั่นเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
* หายใจลำบากหายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย
* หน้าซีดหรือปลายมือปลายเท้าเขียว
6.2.3.1ถ้ามีรีบนำส่งโรงพยาบาล
6.2.3.2 ถ้าไม่มีกลับบ้านได้
|
1. สวมเสื้อผ้าชนิดที่สามารถป้องกันเข็มพิษจากแมงกะพรุนพิษ (ได้แก่ ชุดว่ายน้ำเนื้อผ้าไลก้า ชุดดำน้ำ เป็นต้น)
2. ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
3. ติดตั้งป้ายการปฐมพยาบาลและเสาน้ำส้มสายชู
4. จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัคร และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน
5. ติดตั้งตาข่ายกั้นแมงกะพรุนพิษ
|
แมงกะพรุนหัวขวด

รูป : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน
|
มีรูปร่างสีฟ้าหรือสีม่วงมีหนวดยาว ส่วนบนที่อยู่เหนือน้ำจะโป่รงพองคล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกสในยุคศตวรรษที่ 18หรือเรือรบของโปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นทางฝั่งทะเลอันดามันช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฝั่งทะเลอ่าวไทยช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
- อาจพบแผลเป็นรอยนูนแดงลักษณะที่เด่นถ้าพบคือแผลจะเรียงตัวเหมือนเมล็ดถั่วเป็นรอยนูนรูปไข่แยกเรียงกันและมีรอยแดงล้อมรอบ ในรายที่รุนแรงพบเกิดตุ่มนูนแดงขึ้นได้แต่โดยทั่วไปจะค่อยๆบรรเทาลงภายใน 24 ชั่วโมง
- มีอาการเจ็บปวดอย่างทันทีพร้อมกับการเกิดรอยแดงจากนั้นไม่นานจะเกิดตุ่มนูนแดงกระจัดกระจายความเจ็บปวดจะทวีความรุนแรงขึ้นมาก ซึ่งจะดูอาการมากกว่ารอยแผลที่ปรากฏอาการปวดบริเวณที่โดนจะลดลงภายใน 2 ชั่วโมงอาจพบว่ามีอาการปวดลามไปยังแขนขาหรือลำตัวที่โดนพิษการขยับแขนขาหรือลำตัวที่โดนพิษอาจเพิ่มความเจ็บปวดได้ในรายที่รุนแรงอาจพบมีปวดศัรษะ คลื่นไส้อาเจียนปวดท้องใจเต้นผิดปกติหรือหมดสติในรายที่ตายพบมีหายใจลำบากและหัวใจล้มเหลว
|
ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด) ล้างเมือกด้วยน้ำทะเล (หลีกเลี่ยงการขัดถูหรือขยี้หนวด) หากมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ใจเต้นผิดปกติหายใจลำบากหรือหมดสติควรรีบส่งโรงพยาบาล |
1. หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่พบการเกยตื้นของสัตว์เหล่านี้
2. ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
3. ติดตั้งป้ายการปฐมพยาบาลและเสาน้ำส้มสายชู
4. จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัคร และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน
|
แมงกะพรุนไฟ หรือตำแยทะเล
(Sea nettles)


รูป : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน
|
รูปร่างคล้ายร่ม ลำตัวประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ ล่องลอยไปตามกระแสน้ำและแรงคลื่นลม หนวดบริเวณขอบร่มมีเข็มพิษ |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
บริเวณที่สัมผัสเป็นผื่นหรือปื้นแดง ปวดแสบปวดร้อน |
ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด) ล้างเมือกด้วยน้ำทะเล (หลีกเลี่ยงการขัดถูหรือขยี้หนวด) หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบส่งโรงพยาบาล |
1. หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่พบสัตว์เหล่านี้
2. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเมื่อลงเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่มีรายงานการพบสัตว์เหล่านี้
3. ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
4. ติดตั้งป้ายการพยาบาลเบื้องต้นและเสาน้ำส้มสายชู
5. จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัคร และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน
|
หมึกสายวงน้ำเงิน
(Blue-ringed octopus)

https://toeyty30250.wordpress.com/octopus/
หมึกสายวงน้ำเงิน/
|
เป็นหมึกขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยการถูกกัด |
- ชารอบปากและปลายมือปลายเท้า ตาพร่า กลืนลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
- อาการอ่อนแรงมักจะคงอยู่ประมาณ 4–12 ชั่วโมง
(พิษ tetrodotoxin)
|
- เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
- พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกกัด หรือพันด้วยผ้ายืดด้วยวิธี pressure immobilization
|
หากพบเห็น
หลีกเลี่ยงการสัมผัส |
หอยเต้าปูน (Cone shell)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
เป็นหอยฝาเดียว รูปร่างคล้ายรูปกรวย ปลายวน คล้ายเจดีย์ค่อนข้างแหลม ลวดลายบนเปลือกแตกต่างกันไปตามชนิดหอย อาศัยอยู่ตามซอกโพรงหินในแนวปะการังหรือขุดรูอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือตามพื้นทะเลใกล้แนวปะการัง |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยถูกเข็มพิษทิ่ม |
- ปวดบริเวณที่สัมผัส ผิวหนังที่โดนพิษมักซีด บวม หรือเขียวช้ำจากการขาดเลือด ชาบริเวณที่ถูกทิ่มจากนั้นกระจายทั่วร่างกาย ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
- อาการมักจะอยู่นาน 2–3 ชม.(พิษ conotoxin)
|
- เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
- พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกกัด หรือพันด้วยผ้ายืดด้วยวิธี pressure immobilization
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
- พิจารณานำเข็มพิษออกในโรงพยาบาล
|
หากต้องการจับหอยเต้าปูนที่มีชีวิต ควรจับบริเวณด้านบนหรือด้านหลัง |
ปะการังไฟ (Fire Coral)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
มีลักษณะคล้ายปะการังแข็งทั่วไป มีโครงสร้างหินปูนแต่ไม่แข็งเหมือนปะการัง ส่วนมากกิ่งก้านมีสีเหลืองถึงน้ำตาลอ่อน ส่วนปลายมีสีขาวครีม |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
- มักทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน คัน
- อาการระบบอื่นพบน้อยมาก
|
- ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที
- หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก
|
- หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส |
ดอกไม้ทะเล (Anemones)


รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานยึดเกาะอยู่กับก้อนหิน ก้อนปะการัง หรือฝังตัวลงในพื้นทะเลบริเวณดินเลนหรือดินทราย |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
- มักทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน คัน
- อาการระบบอื่นพบน้อยมาก
|
- ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
- หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก
|
- หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส |
ฟองน้ำไฟ (Sponge)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
ฟองน้ำเป็นสัตว์เกาะนิ่งอยู่กับที่ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง มีลำตัวเป็นรูพรุน ดำรงชีวิตได้โดยอาศัยระบบท่อให้น้ำไหลผ่านลำตัว มีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นหนาม เรียกว่า
ขวากหรือสปิคุล (Spicule) |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
สร้างความระคายเคืองกับผิวหนังเมื่อสัมผัส อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนและคัน |
- ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
- หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก
|
- หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส
|
ขนนกทะเล
(Sea feather, Hydroid)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
เป็นสัตว์คล้ายพืชหรือขนนก ยึดติดกับบางสิ่ง มักพบตามแนวปะการัง เกาะกับหลักที่ปักริมชายฝั่ง เสาสะพานท่าเรือ ตลอดจนเศษวัสดุที่ลอย |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง |
สร้างความระคายเคืองกับผิวหนังเมื่อสัมผัส อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนและคัน |
- ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
- หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก
|
- หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส |
เม่นทะเล (Sea urchin)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
รูปร่างกลมมนหรือค่อนข้างแบน รอบ ๆ ตัวมีหนามแหลมปกคลุมลำตัว หนามมีสองขนาด หนามใหญ่ใช้ในการผลักดันพื้นแข็งขุดคุ้ยสิ่งต่างๆหรือช่วยในการฝังตัว หนามเล็กใช้ยึดเกาะเวลาปีนป่าย อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆตามพื้นทราย ซอกหิน แนวหินปะการัง และกองหินใต้น้ำ |
ทางการสัมผัสถูกหนามทิ่มเข้าผิวหนัง |
- หนามทำให้ปวด
บวมแดง
- ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีความดันโลหิตต่ำ ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
|
- ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อนำหนามออกให้มากที่สุด
- เลี่ยงการทุบหนาม โดยเฉพาะบริเวณใกล้ข้อ เส้นเลือด หรือเส้นประสาท
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
|
หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณที่มีสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ |
ดาวมงกุฎหนาม
(Multi-rayed starfish)


รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
ลักษณะคล้ายกับดาวทะเล แต่มีจำนวนแขนมากกว่า คือมีจำนวนระหว่าง 13–16 แฉก บริเวณแขนมีหนามแหลมยาว ค่อนข้างแข็ง เนื่องจากมีส่วนประกอบของหินปูน ซึ่งบริเวณผิวของหนามเหล่านี้มีสารพิษเคลือบอยู่ โดยทั่วไปมักพบดาวหนามบริเวณหาดหินและแนวปะการัง |
ทางการสัมผัส ถูกหนามทิ่มเข้าผิวหนัง |
- หนามทำให้ปวด
บวมแดง
- ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
|
- ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อนำหนามออกให้มากที่สุด
- เลี่ยงการทุบหนาม โดยเฉพาะบริเวณใกล้ข้อ เส้นเลือด หรือเส้นประสาท
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
|
หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณที่มีสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ |
บุ้งทะเล (Fireworms)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
เป็นหนอนปล้องจำพวกเดียวกับแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเล ตามลำตัวมีขนยาวมาก อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลใต้ก้อนหินใต้ซอกปะการัง ตามลำคลองในเขตป่าชายเลน หรือตามพื้นทะเล |
ทางการสัมผัส ถูกขนทิ่มเข้าผิวหนัง |
คัน ปวดแสบปวดร้อน |
- ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
- หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำขนออก
|
- หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส |
ปลาสิงโต (Lionfish)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
|
หัวมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูก และมีหนามจำนวนมาก เกล็ดขนาดเล็ก ครีบหลัง และครีบอกขนาดใหญ่แผ่กว้าง โดยทั่วไปครีบอกมีความยาวถึงโคนหาง ก้านครีบแข็งของครีบหลัง และครีบอกมีขนาดใหญ่แหลมคม แต่ละชนิดมีก้านครีบแข็งจำนวนแตกต่างกัน หัวและลำตัวมีแถบลายสีน้ำตาลปนแดง มักว่ายช้า ๆ หรือลอยตัวนิ่ง ๆ ตามแนวปะการัง และบริเวณแนวหินในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทั่วไป |
ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงหรือก้านครีบทิ่มแทง |
- ปวดและชาบริเวณที่ถูกเงี่ยงตำ
- ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
|
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
- รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
|
- ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน |
ปลาหิน
(Stonefish)

https://wonderful-th.blogspot.com/
2017/10/stone-fish.html |
ลำตัวป้อมเกือบกลม หัวขนาดใหญ่ส่วนหัวมีหนามจำนวนมาก สีลำตัวคล้ำมีลายเลอะ ทำให้แลดูคล้ายก้อนหิน ลำตัวสากและมีหนามเล็ก ๆ หนังหนาและเป็นปุ่ม เกล็ดละเอียด บางชนิดไม่มีเกล็ด ครีบหลังยาว ครีบอกกว้าง มีก้านครีบแข็งขนาดใหญ่ที่ครีบหลัง ครีบอก และครีบท้อง ก้านครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม |
ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงหรือก้านครีบทิ่มแทง |
- เมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน
- พิษทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก ปวดท้อง ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ บางรายมีความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
|
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
- รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
|
- ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน |
ปลาดุกทะเล
(Sea catfish)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ |
รูปร่างเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวดสีคู่ บริเวณ รอบปากมีหนามพิษแหลมที่ก้านครีบ อันแรกของครีบอก และครีบหลัง มีพิษ |
ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงหรือก้านครีบทิ่มแทง |
- ส่วนใหญ่มักมีอาการเฉพาะที่ โดยทำให้เกิดอาการปวด บวม เขียวช้ำ และมีอาจมีการติดเชื้อที่แผลได้ อาการปวดมัก จะอยู่หลายชั่วโมง ส่วนมากนานกว่า 24 ชั่วโมง
- พิษในระบบอื่นพบได้น้อย
|
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
- รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
|
- ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน |
ปลากระเบน
(Stingray)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ |
ลำตัวแบน มีครีบอกขนาดใหญ่แผ่ออกข้างตัว ทำให้เห็นลำตัวเป็นแผ่น มีหางเรียวยาว มีหนามแหลมบริเวณโคนหาง ด้านบนลักษณะหนามเป็นแท่งแบนยาว ปลายแหลม ขอบหนาม มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย |
ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงทิ่มแทง |
- เมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน
- พิษทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก ปวดท้อง ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ บางรายมีความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
|
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
- การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
- รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
|
- ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน |
งูทะเล (Sea snake)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ |
ลำตัวยาว ปกคลุมด้วยเกล็ดเหมือนงูบก มีหางแตกต่างจากงูบก เป็นแผ่นแบน ๆ ในแนวตั้งคล้ายใบพาย งูทะเลสามารถลอยตัวบนผิวน้ำได้เป็นเวลานานโดยไม่เคลื่อนไหว มีปอดเฉพาะข้างขวาใช้หายใจ งูทะเลมีขนาดเล็กกว่างูบก ขนาดยาวสุดประมาณ 3 เมตร เฉลี่ย 1–2 เมตร ไม่มีเสียงขู่ |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยการถูกกัด |
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของงูและปริมาณพิษที่ได้รับอาการจะแสดงหลังจากการถูกกัด 30 นาที
- ลิ้นแข็ง กลืนลำบาก ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปัสสาวะสีเข้ม
|
- รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
- พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกกัด หรือพันด้วยผ้ายืดด้วยวิธี pressure immobilization
|
- ระมัดระวังการเล่นน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำ
- ไม่ควรถูกต้องตัวและเหยียบบนตัวงูทั้งในทะเลและบนชายหาด
|
ปลาไหลมอร์เรย์

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ |
มีลำตัวยาว รูปร่างเหมือนงู ผิวหนังเรียบ หนา ลื่น ไม่มีเกล็ด มีสีเหลืองอมน้ำตาล แต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป เขี้ยวแหลมคม มักซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน หรือโพรงในแนวปะการัง |
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยการถูกกัด |
ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ โดยทำให้เลือดไหลออกมากจนหมดสติได้พิษระบบอื่นพบได้น้อย
|
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
- ห้ามเลือด
- รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
|
ห้ามสัมผัส
หรือเข้าใกล้ |
ปลาปักเป้า (Puffer fish)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ |
ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก ว่ายน้ำช้า ป้องกันตัวโดยการพองออก บริเวณผิวหนังมีหนามแหลมคม บางชนิดเป็นปุ่มแข็งบริเวณที่พบ: บริเวณแนวปะการัง และท้องทะเลทั่วไป
|
บริโภค |
ชารอบปากและปลายมือปลายเท้า ตาพร่า กลืนลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ (พิษ tetrodotoxin)
|
เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
|
หลีกเลี่ยงการกินสัตว์ที่มีพิษเหล่านี้ |
แมงดาทะเลหางกลมหรือแมงดาถ้วย
(แมงดาไฟ หรือเหรา)

https://phuketaquarium.org/horseshoe-crab/

http://www.thaihealth.or.th/Content/41546-สธ.เตือน%20กินไข่แมงดาหน้าร้อนระวังพิษ.html
|
แมงดาทะเลมีรูปร่างเหมือนชามกะละมังคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม แมงดาทะเลมีเปลือกหนาแข็ง ห่อหุ้มอยู่ทั่วทั้งตัว มีหางกลม แข็งยาว ปลายแหลม ยื่นออกมาหาส่วนท้ายของลำตัว ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก ไข่เป็นเม็ดกลมสีเหลืองขนาดเม็ดสาคู และมีจำนวนหลายร้อยฟอง |
บริโภค |
ชารอบปากและปลายมือปลายเท้า ตาพร่า กลืนลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ (พิษ tetrodotoxin)
|
เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน |
หลีกเลี่ยงการกินแมงดาถ้วย |