ThaiToxicMarineLife
- 14 กุมภาพันธ์ 2563
- 730
แพลงก์ตอนที่สร้างสารชีวพิษ
ชนิดที่ก่อพิษ | ประเภทของสาร ชีวพิษ |
ช่องทางพิษ เข้าสู่ร่างกาย |
สารชีวพิษหลัก | อาการเมื่อได้รับพิษ | วิธีปฐมพยาบาล | การป้องกัน |
---|---|---|---|---|---|---|
Alexandrium catenella, |
พิษอัมพาตในหอย (Paralytic shellfish poisoning |
บริโภคหอยทะเลบางชนิด |
แซกซิท็อกซิน (Saxitoxins) |
พิษมีความรุนแรงต่อระบบประสาทซึ่งหลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 30 นาที จะเริ่มปวดแสบปวดร้อนตามริมฝีปากลิ้นและใบหน้าลามลงถึงคอแขนขาจากนั้นจะมีอาการชาเคลื่อนไหวลาบากคล้ายเป็นอัมพาตในกรณีรุนแรงจะเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจไม่ทางาน (ภายใน 24 ชั่วโมง) |
เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน |
หลีกเลี่ยงการกินสัตว์น้ำประเภทหอยโดยเฉพาะในฤดูกาลที่มีการรายงานว่ามีการปนเปื้อนของพิษเหล่านี้ |
Dinophysis acuminata, รูป: ประเดิม และคณะ (2559) |
พิษที่ทำให้ท้องร่วง (Diarrhetic shellfish poisoning หรือ Diarrhetic shellfish toxic หรือ DSP) |
บริโภคสัตว์ทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำพวกกรองกิน เช่น หอยสองฝา | กรดโอคาดาอิก (Okadoic acid) | ท้องร่วงอาเจียนมีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารอาจก่อให้เกิดมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้ | ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากยังไม่วิธีการรักษาเฉพาะ มีเพียงวิธีการรักษาตามอาการเท่านั้น | หลีกเลี่ยงการกินสัตว์น้ำประเภทหอย โดยเฉพาะในฤดูกาลที่มีการรายงานว่ามีการปนเปื้อนของพิษเหล่านี้ |
Pseudo-nitzschia multiseries, รูป: ประเดิม และคณะ (2559) |
พิษที่ทำให้ความจำเสื่อม (Amnesic shellfish poison หรือ ASP) | บริโภคสัตว์ทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำพวกกรองกิน เช่น หอยสองฝา | กรดโดโมอิก (Domoic acid) | อาการเริ่มภายใน 24 ชั่วโมงมีการหดตัวของกล้ามเนื้อปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียนและง่วงซึมเวียนศีรษะในขั้นรุนแรงอาจมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางทาให้สูญเสียความทรงจาหรืออาจเสียชีวิตได้ | ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากยังไม่วิธีการรักษาเฉพาะ มีเพียงวิธีการรักษาตามอาการเท่านั้น | หลีกเลี่ยงการกินสัตว์น้ำประเภทหอย โดยเฉพาะในฤดูกาลที่มีการรายงานว่ามีการปนเปื้อนของพิษเหล่านี้ |
Azadinium spinosum รูป: กรมประมง. (2561) |
Azaspiracid shellfishpoisoning (AZP) | บริโภคสัตว์ทะเล โดยเฉพาะสัตว์น้ำพวกกรองกิน เช่น หอยสองฝา | คลื่นไส้อาเจียนท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง | ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากยังไม่วิธีการรักษาเฉพาะ มีเพียงวิธีการรักษาตามอาการเท่านั้น | หลีกเลี่ยงการกินสัตว์น้ำประเภทหอย โดยเฉพาะในฤดูกาลที่มีการรายงานว่ามีการปนเปื้อนของพิษเหล่านี้ | |
Gymnodinium breve, Chattonella antiqua และ Heterosigma |
พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin shellfish poisoning หรือ Neurotoxin shellfish toxic หรือ NSP) | บริโภคสัตว์ทะเล | เบรวีท็อกซิน (Brevetoxins) | มีคลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง ชาตามริมฝีปาก ปลายแขนและปลายขา ประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับอุณหภูมิเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม ปวดแสบปวดร้อนตามตัว ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ตาพร่ามัว และเป็นอัมพาต | ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากยังไม่วิธีการรักษาเฉพาะ มีเพียงวิธีการรักษาตามอาการเท่านั้น | หลีกเลี่ยงการกินสัตว์น้ำประเภทหอย โดยเฉพาะในฤดูกาลที่มีการรายงานว่ามีการปนเปื้อนของพิษเหล่านี้ |
Gambierdiscus toxicus, Ostreopsis spp. และ Prorocentrum spp. |
พิษซิกัวเทรา (Ciguatera toxin) | บริโภคสัตว์ทะเล โดยเฉพาะปลาที่อาศัยบริเวณแนวปะการัง เช่น ปลาเก๋า ปลาน้ำดอกไม้ ปลาสาก ปลากะรัง ปลากะพง ปลานกแก้ว เป็นต้น | ซิกัวท็อกซิน (Ciguatoxins) | มีคลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง ชาตามริมฝีปาก ปลายแขนและปลายขา ประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับอุณหภูมิเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม ปวดแสบปวดร้อนตามตัว ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ตาพร่ามัว และเป็นอัมพาต | ควรนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากยังไม่วิธีการรักษาเฉพาะ มีเพียงวิธีการรักษาตามอาการเท่านั้น | หลีกเลี่ยงการกินสัตว์น้ำประเภทปลา ที่อาศัยในบริเวณแนวปะการังโดยเฉพาะในฤดูกาลที่มีการรายงานว่ามีการปนเปื้อนของพิษเหล่านี้ |
เอกสารอ้างอิง
- กรมประมง. 2561. ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการตรวจติดตามคุณภาพแหล่งรับรองหอยสองฝา. 83 หน้า.
- กรมประมง. สารชีวพิษ. https://www.fisheries.go.th/quality/สารชีวพิษ_58-03-14_final.pdf.
- ประเดิม อุทธยานมณี อติชาต อินทองคำ และเสาวลักษณ์ อดทน. 2559. การแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชที่คาดว่าสามารถสร้างสารชีวพิษ. ใน: ประมวลผลงานวิจัย การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 4: วิทยาการของทะเลสีคราม. วันที่ 10-12 มิ.ย. 2557. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา. หน้า 48–58.