ขนาด
ThaiToxicMarineLife
  • 14 กุมภาพันธ์ 2563
  • 1,132

สัตว์ทะเลมีพิษ

ชื่อสัตว์ทะเล การสังเกตลักษณะทั่วไป ช่องทางพิษเข้าสู่ร่างกาย อาการเมื่อได้รับพิษ วิธีปฐมพยาบาล การป้องกัน

แมงกะพรุนกล่อง
(Box Jellyfish)

รูป : อ.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง


รูป: ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน


รูป : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกตอนบน

 

ลำตัวใส รูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีหนวดยื่นจากแต่ละมุมของร่มหนวดอาจมีการแตกแขนงพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง

ความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุนกล่องและปริมาณพิษที่ได้รับอาการเมื่อได้รับพิษ มีดังนี้
 - รอยแผลเป็นเส้นๆ ไขว้กันไปมาเป็นรอยไหม้อาจมีรอยนูนขีดขวาง มักปวดมากบริเวณที่สัมผัสอาจหมดสติ ตัวเขียว และหัวใจหยุดเต้น
...หรือ...
 - รอยแผลเป็นเส้น นูนแดง หรืออาจมีอาการต่อไปนี้ ภายใน 5–40 นาที ได้แก่ ปวดบริเวณแผล เจ็บหน้าอกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก เหงื่อแตก

1. ผู้ช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน
2. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำหรือไปยังบริเวณที่ปลอดภัย
3. เรียกให้คนช่วยหรือเรียกรถพยาบาลและควรอยู่กับผู้บาดเจ็บเพราะอาจหมดสติได้ในไม่กี่นาที
4.ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆเพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน
5.ห้ามขัดถูบรเิวณที่ถูกแมงกะพรุน
6.1 ถ้าผู้บาดเจ็บหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร
 6.1.1 ช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นดังนี้
 6.1.1.1 ถ้าไม่มีชีพจรทำการปั๊มหัวใจโดยกดหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย
 6.1.1.2 เปิดทางเดินหายใจโดยการเชยคางขึ้น
 6.1.2 ราดบริเวณที่ถูแมงกะพรุนด้วยน้ำส้มสายชูทันที
ให้ทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง นานอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด)
 6.1.3 ช่วยฟื้นคืนชีพต่อ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึงหรืออาการดีขึ้น
 6.1.4 รีบนำส่งโรงพยาบาล
6.2. ถ้าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี
 6.2.1 ราดบริเวณที่ถูแมงกะพรุนด้วยน้ำส้มสายชูทันทีให้ทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง นานอย่างน้อย 30 วินาที
(ห้ามราดด้วยน้ำจืด)
 6.2.2 สังเกตอาการอย่างน้อย 45 นาที ว่ามีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อหรือไม่
 * ปวดมากบริเวณบาดแผลหลังลำตัวหรือศีรษะ
 * กระสับกระส่ายหรือสับสน
 * เหงื่อออกมากขนลุกคลื่นไส้หรืออำเจียน
 * ใจสั่นเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
 * หายใจลำบากหายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย
 * หน้าซีดหรือปลายมือปลายเท้าเขียว
  6.2.3.1ถ้ามีรีบนำส่งโรงพยาบาล
  6.2.3.2 ถ้าไม่มีกลับบ้านได้

1. สวมเสื้อผ้าชนิดที่สามารถป้องกันเข็มพิษจากแมงกะพรุนพิษ (ได้แก่ ชุดว่ายน้ำเนื้อผ้าไลก้า ชุดดำน้ำ เป็นต้น)
2. ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
3. ติดตั้งป้ายการปฐมพยาบาลและเสาน้ำส้มสายชู
4. จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัคร และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน
5. ติดตั้งตาข่ายกั้นแมงกะพรุนพิษ

แมงกะพรุนหัวขวด

รูป : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

มีรูปร่างสีฟ้าหรือสีม่วงมีหนวดยาว ส่วนบนที่อยู่เหนือน้ำจะโป่รงพองคล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกสในยุคศตวรรษที่ 18หรือเรือรบของโปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นทางฝั่งทะเลอันดามันช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฝั่งทะเลอ่าวไทยช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง

 - อาจพบแผลเป็นรอยนูนแดงลักษณะที่เด่นถ้าพบคือแผลจะเรียงตัวเหมือนเมล็ดถั่วเป็นรอยนูนรูปไข่แยกเรียงกันและมีรอยแดงล้อมรอบ ในรายที่รุนแรงพบเกิดตุ่มนูนแดงขึ้นได้แต่โดยทั่วไปจะค่อยๆบรรเทาลงภายใน 24 ชั่วโมง
 - มีอาการเจ็บปวดอย่างทันทีพร้อมกับการเกิดรอยแดงจากนั้นไม่นานจะเกิดตุ่มนูนแดงกระจัดกระจายความเจ็บปวดจะทวีความรุนแรงขึ้นมาก ซึ่งจะดูอาการมากกว่ารอยแผลที่ปรากฏอาการปวดบริเวณที่โดนจะลดลงภายใน 2 ชั่วโมงอาจพบว่ามีอาการปวดลามไปยังแขนขาหรือลำตัวที่โดนพิษการขยับแขนขาหรือลำตัวที่โดนพิษอาจเพิ่มความเจ็บปวดได้ในรายที่รุนแรงอาจพบมีปวดศัรษะ คลื่นไส้อาเจียนปวดท้องใจเต้นผิดปกติหรือหมดสติในรายที่ตายพบมีหายใจลำบากและหัวใจล้มเหลว

ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด) ล้างเมือกด้วยน้ำทะเล (หลีกเลี่ยงการขัดถูหรือขยี้หนวด) หากมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ใจเต้นผิดปกติหายใจลำบากหรือหมดสติควรรีบส่งโรงพยาบาล

1. หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่พบการเกยตื้นของสัตว์เหล่านี้
2. ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
3. ติดตั้งป้ายการปฐมพยาบาลและเสาน้ำส้มสายชู
4. จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัคร และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน

แมงกะพรุนไฟ หรือตำแยทะเล
(Sea nettles)


รูป : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

รูปร่างคล้ายร่ม ลำตัวประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ ล่องลอยไปตามกระแสน้ำและแรงคลื่นลม หนวดบริเวณขอบร่มมีเข็มพิษ ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง บริเวณที่สัมผัสเป็นผื่นหรือปื้นแดง ปวดแสบปวดร้อน ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด) ล้างเมือกด้วยน้ำทะเล (หลีกเลี่ยงการขัดถูหรือขยี้หนวด) หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบส่งโรงพยาบาล

1. หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่พบสัตว์เหล่านี้
2. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเมื่อลงเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่มีรายงานการพบสัตว์เหล่านี้
3. ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
4. ติดตั้งป้ายการพยาบาลเบื้องต้นและเสาน้ำส้มสายชู
5. จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัคร และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน

หมึกสายวงน้ำเงิน
(Blue-ringed octopus)

https://toeyty30250.wordpress.com/octopus/
หมึกสายวงน้ำเงิน/

เป็นหมึกขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยการถูกกัด

 - ชารอบปากและปลายมือปลายเท้า ตาพร่า กลืนลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
 - อาการอ่อนแรงมักจะคงอยู่ประมาณ 4–12 ชั่วโมง
(พิษ tetrodotoxin)

 - เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
 - พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกกัด หรือพันด้วยผ้ายืดด้วยวิธี pressure immobilization

หากพบเห็น
หลีกเลี่ยงการสัมผัส

หอยเต้าปูน (Cone shell)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

เป็นหอยฝาเดียว รูปร่างคล้ายรูปกรวย ปลายวน คล้ายเจดีย์ค่อนข้างแหลม ลวดลายบนเปลือกแตกต่างกันไปตามชนิดหอย อาศัยอยู่ตามซอกโพรงหินในแนวปะการังหรือขุดรูอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือตามพื้นทะเลใกล้แนวปะการัง ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยถูกเข็มพิษทิ่ม

 - ปวดบริเวณที่สัมผัส ผิวหนังที่โดนพิษมักซีด บวม หรือเขียวช้ำจากการขาดเลือด ชาบริเวณที่ถูกทิ่มจากนั้นกระจายทั่วร่างกาย ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
 - อาการมักจะอยู่นาน 2–3 ชม.(พิษ conotoxin)

 - เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
 - พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกกัด หรือพันด้วยผ้ายืดด้วยวิธี pressure immobilization
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
 - พิจารณานำเข็มพิษออกในโรงพยาบาล

หากต้องการจับหอยเต้าปูนที่มีชีวิต ควรจับบริเวณด้านบนหรือด้านหลัง

ปะการังไฟ (Fire Coral)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

มีลักษณะคล้ายปะการังแข็งทั่วไป มีโครงสร้างหินปูนแต่ไม่แข็งเหมือนปะการัง ส่วนมากกิ่งก้านมีสีเหลืองถึงน้ำตาลอ่อน ส่วนปลายมีสีขาวครีม  ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง

 - มักทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน คัน
 - อาการระบบอื่นพบน้อยมาก

 - ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที
 - หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก

 - หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส

ดอกไม้ทะเล (Anemones)


รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานยึดเกาะอยู่กับก้อนหิน ก้อนปะการัง หรือฝังตัวลงในพื้นทะเลบริเวณดินเลนหรือดินทราย ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง

 - มักทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ ได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน คัน
 - อาการระบบอื่นพบน้อยมาก

 - ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
 - หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก

 - หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส

ฟองน้ำไฟ (Sponge)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

ฟองน้ำเป็นสัตว์เกาะนิ่งอยู่กับที่ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง มีลำตัวเป็นรูพรุน ดำรงชีวิตได้โดยอาศัยระบบท่อให้น้ำไหลผ่านลำตัว มีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นหนาม เรียกว่า
ขวากหรือสปิคุล (Spicule) 
ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง สร้างความระคายเคืองกับผิวหนังเมื่อสัมผัส อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนและคัน

- ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
 - หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก

 - หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส

ขนนกทะเล
(Sea feather, Hydroid)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

 

เป็นสัตว์คล้ายพืชหรือขนนก ยึดติดกับบางสิ่ง มักพบตามแนวปะการัง เกาะกับหลักที่ปักริมชายฝั่ง เสาสะพานท่าเรือ ตลอดจนเศษวัสดุที่ลอย ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง สร้างความระคายเคืองกับผิวหนังเมื่อสัมผัส อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนและคัน

 - ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
 - หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำ spicule ออก

 - หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส

เม่นทะเล (Sea urchin)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

รูปร่างกลมมนหรือค่อนข้างแบน รอบ ๆ ตัวมีหนามแหลมปกคลุมลำตัว หนามมีสองขนาด หนามใหญ่ใช้ในการผลักดันพื้นแข็งขุดคุ้ยสิ่งต่างๆหรือช่วยในการฝังตัว หนามเล็กใช้ยึดเกาะเวลาปีนป่าย อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆตามพื้นทราย ซอกหิน แนวหินปะการัง และกองหินใต้น้ำ ทางการสัมผัสถูกหนามทิ่มเข้าผิวหนัง

 - หนามทำให้ปวด
บวมแดง
 - ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีความดันโลหิตต่ำ ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

 - ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อนำหนามออกให้มากที่สุด
 - เลี่ยงการทุบหนาม โดยเฉพาะบริเวณใกล้ข้อ เส้นเลือด หรือเส้นประสาท
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)

หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณที่มีสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่

ดาวมงกุฎหนาม
(Multi-rayed starfish)


รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

ลักษณะคล้ายกับดาวทะเล แต่มีจำนวนแขนมากกว่า คือมีจำนวนระหว่าง 13–16 แฉก บริเวณแขนมีหนามแหลมยาว ค่อนข้างแข็ง เนื่องจากมีส่วนประกอบของหินปูน ซึ่งบริเวณผิวของหนามเหล่านี้มีสารพิษเคลือบอยู่ โดยทั่วไปมักพบดาวหนามบริเวณหาดหินและแนวปะการัง  ทางการสัมผัส ถูกหนามทิ่มเข้าผิวหนัง

 - หนามทำให้ปวด
บวมแดง
 - ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

 - ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อนำหนามออกให้มากที่สุด
 - เลี่ยงการทุบหนาม โดยเฉพาะบริเวณใกล้ข้อ เส้นเลือด หรือเส้นประสาท
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)

หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณที่มีสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่

บุ้งทะเล (Fireworms)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

 

เป็นหนอนปล้องจำพวกเดียวกับแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเล ตามลำตัวมีขนยาวมาก อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลใต้ก้อนหินใต้ซอกปะการัง ตามลำคลองในเขตป่าชายเลน หรือตามพื้นทะเล ทางการสัมผัส ถูกขนทิ่มเข้าผิวหนัง คัน ปวดแสบปวดร้อน

 - ใช้น้ำส้มสายชู ราดลงไปบนบริเวณที่สัมผัสต่อเนื่ออย่างน้อย 30 วินาที
 - หากอาการปวดไม่ดีขึ้น พิจารณาส่งโรงพยาบาลเพื่อนำขนออก

 - หากพบเห็น ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส

ปลาสิงโต (Lionfish)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

 

หัวมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูก และมีหนามจำนวนมาก เกล็ดขนาดเล็ก ครีบหลัง และครีบอกขนาดใหญ่แผ่กว้าง โดยทั่วไปครีบอกมีความยาวถึงโคนหาง ก้านครีบแข็งของครีบหลัง และครีบอกมีขนาดใหญ่แหลมคม แต่ละชนิดมีก้านครีบแข็งจำนวนแตกต่างกัน หัวและลำตัวมีแถบลายสีน้ำตาลปนแดง มักว่ายช้า ๆ หรือลอยตัวนิ่ง ๆ ตามแนวปะการัง และบริเวณแนวหินในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทั่วไป ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงหรือก้านครีบทิ่มแทง

 - ปวดและชาบริเวณที่ถูกเงี่ยงตำ
 - ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

 - ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
 - รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

 - ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน
ปลาหิน
(Stonefish)

https://wonderful-th.blogspot.com/
2017/10/stone-fish.html
ลำตัวป้อมเกือบกลม หัวขนาดใหญ่ส่วนหัวมีหนามจำนวนมาก สีลำตัวคล้ำมีลายเลอะ ทำให้แลดูคล้ายก้อนหิน ลำตัวสากและมีหนามเล็ก ๆ หนังหนาและเป็นปุ่ม เกล็ดละเอียด บางชนิดไม่มีเกล็ด ครีบหลังยาว ครีบอกกว้าง มีก้านครีบแข็งขนาดใหญ่ที่ครีบหลัง ครีบอก และครีบท้อง ก้านครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงหรือก้านครีบทิ่มแทง

 - เมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน
 - พิษทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก ปวดท้อง ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ บางรายมีความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

 - ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
 - รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

 - ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน
ปลาดุกทะเล
(Sea catfish)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
รูปร่างเรียวยาว ไม่มีเกล็ด มีหนวดสีคู่ บริเวณ รอบปากมีหนามพิษแหลมที่ก้านครีบ อันแรกของครีบอก และครีบหลัง มีพิษ ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงหรือก้านครีบทิ่มแทง

 - ส่วนใหญ่มักมีอาการเฉพาะที่ โดยทำให้เกิดอาการปวด บวม เขียวช้ำ และมีอาจมีการติดเชื้อที่แผลได้ อาการปวดมัก จะอยู่หลายชั่วโมง ส่วนมากนานกว่า 24 ชั่วโมง
 - พิษในระบบอื่นพบได้น้อย

 - ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
 - รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

 - ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน
ปลากระเบน
(Stingray)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
ลำตัวแบน มีครีบอกขนาดใหญ่แผ่ออกข้างตัว ทำให้เห็นลำตัวเป็นแผ่น มีหางเรียวยาว มีหนามแหลมบริเวณโคนหาง ด้านบนลักษณะหนามเป็นแท่งแบนยาว ปลายแหลม ขอบหนาม มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย ทางการสัมผัสถูกเงี่ยงทิ่มแทง

 - เมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน
 - พิษทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก ปวดท้อง ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ บางรายมีความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

 - ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
 - การแช่น้ำอุ่นสามารถลดอาการปวดได้ (อุณหภูมิน้ำ 45–50 องศาเซลเซียส แช่นาน 20 นาที)
 - รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

 - ไม่ควรใช้มือพยายามจับตัวปลามีเงี่ยง ปลากลุ่มนี้แม้ว่าตายหลายชั่วโมงแล้ว แต่เงี่ยงยังคงมีพิษอยู่ ควรระมัดระวังในการปลดตัวมันจากเบ็ดหรืออวน
งูทะเล (Sea snake)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
ลำตัวยาว ปกคลุมด้วยเกล็ดเหมือนงูบก มีหางแตกต่างจากงูบก เป็นแผ่นแบน ๆ ในแนวตั้งคล้ายใบพาย งูทะเลสามารถลอยตัวบนผิวน้ำได้เป็นเวลานานโดยไม่เคลื่อนไหว มีปอดเฉพาะข้างขวาใช้หายใจ งูทะเลมีขนาดเล็กกว่างูบก ขนาดยาวสุดประมาณ 3 เมตร เฉลี่ย 1–2 เมตร ไม่มีเสียงขู่   ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยการถูกกัด

ความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของงูและปริมาณพิษที่ได้รับอาการจะแสดงหลังจากการถูกกัด 30 นาที
 - ลิ้นแข็ง กลืนลำบาก ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
 - ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 - ปัสสาวะสีเข้ม

 - รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
 - พยายามไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกกัด หรือพันด้วยผ้ายืดด้วยวิธี pressure immobilization

 - ระมัดระวังการเล่นน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำ
 - ไม่ควรถูกต้องตัวและเหยียบบนตัวงูทั้งในทะเลและบนชายหาด

ปลาไหลมอร์เรย์

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ
มีลำตัวยาว รูปร่างเหมือนงู ผิวหนังเรียบ หนา ลื่น ไม่มีเกล็ด มีสีเหลืองอมน้ำตาล แต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป เขี้ยวแหลมคม มักซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน หรือโพรงในแนวปะการัง  ทางการสัมผัสผ่านผิวหนังโดยการถูกกัด

ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ โดยทำให้เลือดไหลออกมากจนหมดสติได้พิษระบบอื่นพบได้น้อย

 - ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
 - ห้ามเลือด
 - รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

ห้ามสัมผัส
หรือเข้าใกล้
ปลาปักเป้า (Puffer fish)

รูป : ดร. สเมตต์ ปุจฉาการ

ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก ว่ายน้ำช้า ป้องกันตัวโดยการพองออก บริเวณผิวหนังมีหนามแหลมคม บางชนิดเป็นปุ่มแข็งบริเวณที่พบ: บริเวณแนวปะการัง และท้องทะเลทั่วไป

บริโภค

ชารอบปากและปลายมือปลายเท้า ตาพร่า กลืนลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ (พิษ tetrodotoxin)

เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

หลีกเลี่ยงการกินสัตว์ที่มีพิษเหล่านี้

แมงดาทะเลหางกลมหรือแมงดาถ้วย
(แมงดาไฟ หรือเหรา)

https://phuketaquarium.org/horseshoe-crab/

http://www.thaihealth.or.th/Content/41546-สธ.เตือน%20กินไข่แมงดาหน้าร้อนระวังพิษ.html

แมงดาทะเลมีรูปร่างเหมือนชามกะละมังคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม แมงดาทะเลมีเปลือกหนาแข็ง ห่อหุ้มอยู่ทั่วทั้งตัว มีหางกลม แข็งยาว ปลายแหลม ยื่นออกมาหาส่วนท้ายของลำตัว ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก ไข่เป็นเม็ดกลมสีเหลืองขนาดเม็ดสาคู และมีจำนวนหลายร้อยฟอง บริโภค

ชารอบปากและปลายมือปลายเท้า ตาพร่า กลืนลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้ (พิษ tetrodotoxin)

เปิดทางเดินหายใจ ช่วยหายใจและรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน หลีกเลี่ยงการกินแมงดาถ้วย 
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 3 เมษายน 2562
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • ขยะทะเล
    ขยะทะเล
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า