ขนาด
สมุทรศาสตร์
  • 25 สิงหาคม 2556
  • 410
สมุทรศาสตร์ สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

การจัดการคุณภาพน้ำทะเล

          สภาพปัญหาและภาวะคุกคามน้ำทะเลชายฝั่ง ความเชื่อมโยงของสายน้ำจากบกสู่ทะเล เป็นระบบนิเวศทางน้ำที่ธรรมชาติสร้างมาให้สอดคล้องและสมดุล แต่เมื่อเมืองขยายตัวขึ้น ผู้คนมากขึ้น ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่งทะเลก็ตามมา ทั้งท่าเทียบเรือโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้กระทั้งชุมชนนอกจากนี้ปัญหาการระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำผิวดิน ทั้งจากอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบ้านเรือน ก็ไหลต่อเนื่องลงสู่แหล่งน้ำทะเลในท้ายที่สุด คุณภาพน้ำชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย พื้นที่สำคัญที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่บริเวณปากแม่น้ำสำคัญ โดยเฉพาะอ่าวไทยตอนบนที่มีแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเล เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและพื้นที่ชุมชน อยู่ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ชายหาด เกาะ โดยเฉพาะปัญหาการเพิ่มขึ้นตะกอน แบคทีเรีย และสารอาหารอินทรีย์สารในน้ำทะเล ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการจัดการคุณภาพน้ำทะเลและชายฝั่งมีดังนี้

          1. เฝ้าระวังติดตามพื้นที่เสี่ยงและเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา แจ้งผลการศึกษาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ได้ทราบ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการต่อไป

          2. มีระบบฐานข้อมูลซึ่งสามารถใช้ในการวิเคราะห์ผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดการพื้นที่ที่มีปัญหา

          3. มีการดูแลและควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ปัญหาอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

          4. ให้มีการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • ขยะทะเล
    ขยะทะเล
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa