น้ำทะเลเปลี่ยนสี
- 22 สิงหาคม 2556
- 975
การเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี พ.ศ.2550-2554
การติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2550-2554 การเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในประเทศไทย พบว่า แพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุหลักของน้ำทะเลเปลี่ยนสีในช่วง 5 ปีนี้ มีดังนี้
1. ไดโนแฟลกเจลเลท ชนิด Noctiluca scintillans ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม
2. Ceratium furca ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ
3. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุล Oscillatoria spp. ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
4. ไดอะตอมสกุล Chaetoceros spp. ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือน้ำตาลขึ้นกับชนิด
พื้นที่ที่พบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีระหว่างปี พ.ศ.2550-2554 มีดังนี้
1. พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก มีรายงาน 9 ครั้ง โดยมักเกิดในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
2. พื้นที่อ่าวไทยตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่ปากแม่น้ำต่างๆ พบมากที่สุด มีรายงานจากการแจ้งเหตุถึง 63 ครั้ง
3. พื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง มีรายงาน 9 ครั้ง โดยเกิดในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
4. พื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ไม่เคยมีรายงานการเกิดน้ำเปลี่ยนสี
5. พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยปกติจะมีรายงานน้อยมาก ยกเว้นในปี พ.ศ.2550 ที่พบเหตุการณ์มากผิดปกติ โดยมีรายงานการเกิดตลอดพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (กลางฤดูแล้งถึงก่อนเข้าฤดูฝน)
Noctiluca scintillans และ Ceratium furca
ตัวอย่างไดโนแฟลกเจลเลทชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี
ที่มา : http://forum.mikroscopia.com/uploads/monthly_06_2007/post-3-1182414835.jpg http://media.victoriaadvocate.com/)
Oscillatoria sp. และ Chaetoceros sp.
ตัวอย่างสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุลOscillatoria sp.และไดอะตอมสกุลChaetoceros sp.ที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี
ที่มา : 1. classconnection.s3.amazonaws.com , 2. oceana.org/sites/default/files/explore/creatures/ocean235chadan_002.jpg