ขนาด
น้ำทะเลเปลี่ยนสี
  • 18 มิถุนายน 2564
  • 618
น้ำทะเลเปลี่ยนสี สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

การเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี พ.ศ.2557-2558

          จากสถิติในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่าปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเกิดขึ้นทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย แต่มักเกิดบริเวณฝั่งอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดบางแสน หาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี จะพบแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans และกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp. ที่เป็นสาเหตุให้เกิดปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสี

สถานที่เกิด ปริมาณแพลงก์ตอนที่พบ คุณภาพน้ำโดยสรุป วันที่เก็บข้อมูล

หน้าโรงแรมกะตะธาน หาดกะตะน้อย
จ.ภูเก็ต

แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลท ชนิด  Noctiluca scintillans ความหนาแน่นประมาณ  66,000 เซลล์/ ลิตร ไม่มีรายงานสัตว์น้ำตายเนื่องจาก เป็นการสะพรั่งในพื้นที่แคบและในช่วงเวลาสั้น คุณภาพน้ำโดยทั่วไป พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ  ม.ค 2557
บริเวณแหลมหนัน
อ.เกาะสมุย
จ.สุราษฎร์ธานี
แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจล แลตชนิด Noctiluca scintilans ซึ่งเป็นชนิดที่ท้าให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีเขียว ความหนาแน่นเฉลี่ย 3,491 เซลล์/ลิตร   ก.พ. 2557
บริเวณชายฝั่งท่าเรือ แหลมฉบัง ถึงหาด พัทยาใต้ จ.ชลบุรี  แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น ได้แก่ แพลงก์ตอนกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans ความหนาแน่น ประมาณ 23,400 เซลล์ต่อลิตร, Ceratium furca ความหนาแน่น ประมาณ 18,533 เซลล์ต่อลิตร และ แพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอม Pseudonitzschia spp. ความหนาแน่น ประมาณ 17,316 เซลล์ต่อลิตร   11-12 ก.ย. 2557
ลานหินขาว
หาดแม่รำพึง
จ.ระยอง 
แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นได้แก่ สาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Trichodesmium erythraeum ความ หนาแน่นประมาณ 55,154เซลล์/ลิตร Chaetoceros pseudosurvisetus ความหนาแน่นประมาณ 80,939 เซลล์/ลิตร และ Odontella sinensis ความหนาแน่นประมาณ 55,154 เซลล์/ลิตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 19 เม.ย. 2558
ชายฝั่ง จ.เพชรบุรี สมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร แพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตเป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ได้แก่ Noctiluca scintillans   20-21 เม.ย. 2558
ชายฝั่ง จ.เพชรบุรี สมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร แพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต เป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ได้แก่ Noctiluca scintillans  อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน ้าทะเล (กรมควบคุมมลพิษ ,2549) คือไม่น้อย กว่า 4 มิลลิกรัม/ ลิตร  22-24 เม.ย. 2558
ชายหาดสอ
ฐานทัพเรือสัตหีบ
แสมสาร จ.ชลบุรี
แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ชนิด Trichodesmium erythraeum อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 28 พ.ค. 2558
หน้าศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่า ฐานทัพเรือสัตหีบ
จ.ชลบุรี 
แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Trichodesmium erythraeum มีความหนาแน่น 1,660,812,860 เซลล์/ลิตร (เกินความหนาแน่นที่ควรเฝ้าระวัง 10,000 เซลล์/ลิตร)  อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549)  30 พ.ค. 2558
ชายหาดจอมเทียน
จ.ชลบุรี
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น คือ ไดอะตอมชนิด Chaetoceros spp. (เกินความหนาแน่นที่ควรเฝ้าระวัง 10,000 เซลล์/ลิตร) นอกจากนั้น ยังพบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกลุ่ม Ciliate protozoa สกุล Chlamydodon sp. เป็นจำนวนมาก อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 2 มิ.ย. 2558
ชายหาดบางแสน
จ.ชลบุรี
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่าย กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans 2,244-183,714 เซลล์/ ลิตร พบสาหร่ายกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp. เป็นชนิดเด่น ความหนาแน่น 160,449 เซลล์/ลิตร  อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 6 ก.ค. 2558
ชายหาดบางแสน
จ.ชลบุรี
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่าย กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans 2,147-732,000 เซลล์/ลิตร พบสาหร่ายกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp. เป็นชนิดเด่น ความหนาแน่น 481,500 เซลล์/ลิตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 9 ส.ค. 2558
เกาะสีชัง จ.ชลบุรี พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่าย กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans 0-2,261เซลล์/ลิตร พบสาหร่ายกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp. เป็นชนิดเด่น ความหนาแน่น 1,297- 4,915 เซลล์/ลิตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 28 ส.ค. 2558
หาดทุ่งวัวแล่น
จ.ชุมพร 
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่าย กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans 27,291 เซลล์/ลิตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ (กรมควบคุมมลพิษ, 2549) 12 ต.ค. 2558

 

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • ขยะทะเล
    ขยะทะเล
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง