ขนาด
ขยะทะเล
  • 20 ตุลาคม 2565
  • 523
ขยะทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สถานการณ์ขยะทะเลโลกปี 2555

          จากรายงานในปี พ.ศ. 2555 ของ COBSEA (Coordinating Body on the Seas of East Asia) กล่าวว่ามีการประมาณปริมาณ ขยะในทะเลมากถึง 6.4 ล้านตันต่อปี โดยขยะจำนวน 1,800 ตัน ได้ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทุกวัน ซึ่งในจำนวนนี้ ประมาณ 5 ล้านตัน มาจากกิจกรรมในทะเล ขยะในทะเลที่ล่องลอยอยู่ในทะเลเป็นพวก พลาสติก 89% หรือมีขยะพลาสติกประมาณ 46,000 ชิ้นต่อตารางไมล์ ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของปริมาณปลาที่จับได้ นอกจากนี้ยังมีการประมาณว่าทุกๆ ตารางกิโลเมตรของทะเลมีขยะประเภทเศษพลาสติกลอยอยู่มากกว่า 13,000 ชิ้น นอกจากนี้องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ได้รายงานชนิด ขยะในทะเล 10 อันดับแรก ที่เก็บรวบรวมได้มากที่สุดจากชายหาดทั่วโลกระหว่างปี พ.ศ. 2532 - 2555 ซึ่งหากพิจารณาเป็นจำนวนชิ้น พบว่ามามีขยะในทะเลทั่วโลกที่เก็บได้มากถึง 166,144,420 ชิ้น โดยในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 80 เป็นขยะประเภท บุหรี่/ก้นกรองบุหรี่ ฝาและจุกขวด หีบห่อ/ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงกระดาษและพลาสติก ถ้วย จาน ช้อน ส้อม มีด ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ขวดเครื่องดื่มแก้ว กระป๋องเครื่องดื่ม หลอดและแท่งคนเครื่องดื่ม และเชือก เมื่อพิจารณาสัดส่วนของประเภทขยะ พบว่าขยะที่เป็นบุหรี่ก้นกรอง พบในสัดส่วน ร้อยละ 32.2 รองลงมาเป็นฝาและจุกขวด ร้อยละ 9

ตารางขยะในทะเล 10 อันดับแรกที่เก็บรวบรวมได้มากที่สุดจากชายหาดทั่วโลกระหว่าง ปี 2532 - 2555

ลำดับที่ รายการขยะในทะเล จำนวน (ชิ้น) สัดส่วนร้อยละ
1 บุหรี่/ก้นกรองบุหรี่  52,907,756 32%
2 ฝาและจุกขวด  14,766,533 9%
3 หีบห่อ/ภาชนะบรรจุอาหาร  13,585,425 8%
4 ถุง (กระดาษและพลาสติก)  10,112,038 6%
5 ถ้วย จาน ช้อน ส้อม มีด  9,549,156 6%
6 ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก)  7,825,319 5%
7 ขวดเครื่องดื่ม (แก้ว)  7,062,199 4%
8 กระป๋องเครื่องดื่ม  6,753,260 4%
9 หลอดและแท่งคนเครื่องดื่ม  6,263,453 4%
10 เชือก  3,251,948 2%
จำนวนของขยะในทะเล 10 อันดับแรก 132,077,087 80%
จำนวนของขยะในทะเลทั้งหมด 166,144,420 100%

ที่มา: Ocean conservancy (2012)

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว