ขนาด
นกในเขตชายฝั่งทะเล
  • 3 สิงหาคม 2561
  • 1,262

ชีววิทยาของนก

          เมื่อประมาณ 150 ล้านปีที่แล้ว บรรพบุรุษของนกในยุคปัจจุบันได้ถือกำเนิดขึ้น มีลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน เดินสองขามีขนที่ปีกและหาง ชื่อว่า อาร์คีออฟเทอริกซ์ (Archaeopteryx) เมื่อกาลเวลาผ่านไปถึงปัจจุบัน มีจำนวนชนิดพันธุ์นกที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกประมาณ 11,000 ชนิด สิ่งที่ทำให้นกอยู่รอดและมีชนิดพันธุ์ที่หลากหลายมาถึงปัจจุบัน คือ กระบวนการ ปรับตัว ที่เรียกว่า “วิวัฒนาการ” (Evolution) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนต้องมีการปรับตัวไปตามสภาพภูมิอากาศ ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร รวมทั้งการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับธรรมชาติได้มากที่สุดเท่านั้นจึงจะมีชีวิตอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ก็จะค่อย ๆ ลดจำนวนลง และสูญพันธุ์ในที่สุด เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การคัดเลือกทางธรรมชาติ” (Natural selection) ซึ่งส่งผลให้มีการกำเนิดชนิดพันธุ์ใหม่ ๆ (Speciation) พร้อมกับการสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (Extinction)  ด้วยเหตุนี้ นกที่พบในยุคปัจจุบันจึงมีชนิดพันธุ์ที่หลากหลายและมีลักษณะ ภายนอกแตกต่างไปจากสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ อย่างชัดเจน

ชื่อเรียกตำแหน่งสำคัญที่ใช้ในการจำแนกชนิด

1. โคนปากล่าง / Malar point
2. ปากล่าง / Lower mandible
3. มุมสันปากล่าง / Gonydeal angle
4. สันปากล่าง / Gonys
5. สันปากบน / Culmen
6. ปากบน / Upper mandible
7. โคนปากบน / Loral point
8. คาง / chin
9. คอ / Throat10. หัวตา / lore
11. หน้าผาก / Forehead
12. กระหม่อม / Crown
13. ขนคลุมหู / Ear-coverts
14. ท้ายทอย / Nape
15. หลังตอนบน / Mantle
16. อก / Breast
17. สีข้าง / Flank
18. ท้อง / Belly

19. ขนคลุมไหล่ด้านบน / Upper scapulars
20. ขนคลุมไหล่ด้านล่าง / Lower scapulars
21. ขนปลายขนคลุมไหล่ / Sub-scapular
22. ขนโคนปีก / Tertials
23. ขนปลายปีก / Primaries
24. หาง / Tail
25. ขนคลุมปีกแถวบน / Lesser coverts
26. ขนคลุมปีกแถวกลาง / Median coverts
27. ขนคลุมปีกแถวล่าง / Geater converts
28. โคนขา / Thigh
29. น่อง / Tibia
30. เข่า / Knee
31. แข้ง / Tarsus
32. นิ้วตีนหลัง / Hind-toe
33. นิ้วตีนนอก / Outer-toe
34. นิ้วตีนกลาง / Middle-toe
35. นิ้วตีนใน / Inner-toe
36. ข้อตีน / Ankle 

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม