ขนาด
นกในเขตชายฝั่งทะเล
  • 3 สิงหาคม 2561
  • 2,887

ความสำคัญ

          นก เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ มีบทบาทที่สำคัญ ในการขยายพันธุ์พืช ช่วยควบคุมแมลงและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยจับกินเป็นอาหารทำให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ นกจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศหนึ่งๆ ยังเป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในบริเวณนั้น เนื่องจากเป็น แหล่งอาหารของนกที่มาอาศัยอยู่เหล่านั้นนั่นเอง นกที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศชายฝั่งของประเทศไทย มีทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพย้ายถิ่นในช่วงฤดูหนาวไม่น้อยกว่า 280 ชนิด ประกอบด้วย กลุ่มนกน้ำ (Water birds) กลุ่มนกป่า (Forest birds) กลุ่มนกชายเลน  (Shorebirds) และกลุ่มนกทะเล (Seabirds) โดยนกอพยพบางจำพวกจะใช้ เกาะขนาดเล็กและกองหินในทะเล เป็นจุดพักหากินและหลบภัยจากคลื่นลมมรสุมที่รุนแรงเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในระหว่างการเดินทางข้ามทะเลเป็นระยะทางไกลบางชนิดยังใช้กองหินในทะเลเป็นแหล่งสร้างรังวางไข่ อาทิ นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ (Black-naped Tern) นกนางนวลแกลบคิ้วขาว (Bridled Tern) โดยเฉพาะนกนางนวลแกลบสีกุหลาบ (Roseate Tern) ซึ่งเป็นนกที่พบเห็นได้ยาก และใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย ปัจจุบันนกหลายชนิดกำลังลดลงเนื่องจากแหล่งที่เคยอยู่อาศัยถูกทำลาย หรือถูกแปรสภาพไป ทั้งได้มีการจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อการถูกคุกคามระดับโลก (IUCN Red List) และระดับประเทศ ชนิดนกที่ถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อ ถูกคุกคามระดับโลก ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง อาทิ นกชายเลน ปากช้อน (Spoon-billed Sandpiper) และนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส (Christmas Island Frigatebird) นกที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ อาทิ นกทะเลขาเขียวลายจุด (Nordmann’s Greenshank) นกน็อทใหญ่ (Great Knot) นกที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม อาทิ นกอีก๋อยใหญ่ (Eurasian Curlew) และ นกหัวโตมลายู (Malaysian Plover) ซึ่งเป็นนกชายเลนชนิดเดียวของไทย ที่มีถิ่นอาศัยและสร้างรังวางไข่เฉพาะหาดทรายตามแนวชายฝั่งเท่านั้น  คู่มือจำแนกชนิดพันธุ์นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเลเล่มนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อ เสริมสร้างความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนก ลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิด เทคนิค ในการสำรวจ ตลอดจนสถานภาพการถูกคุกคาม เพื่อใช้สำหรับการศึกษา สำรวจ ติดตามการเปลี่ยนแปลงประชากรนกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประโยชน์ที่ได้รับจากคู่มือเล่มนี้ จะเป็นแนวทางในการ วางแผนบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ชายฝั่งทะเลให้เกิดความยั่งยืนสืบไป
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • ขยะทะเล
    ขยะทะเล
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • พะยูน
    พะยูน