ขนาด
ปะการังฟอกขาว
  • 25 กุมภาพันธ์ 2559
  • 490

ผลกระทบต่อปะการัง

          ผลกระทบต่อปะการัง การที่ปะการังอยู่ในสภาวะฟอกขาวต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ทำให้ปะการังค่อยๆ ตายไป โดยเฉพาะปะการังในสกุล Acropora spp. เป็นพวกที่เริ่มตายก่อนชนิดอื่นๆ หลังจากที่ฟอกขาวได้ 1 เดือน ปะการังชนิดอื่นค่อยๆ ทยอยตายตามไป ต่อมาในตอนปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 อุณหภูมิเริ่มลดลงมาอยู่ที่ 29 องศาเซลเซียสเศษ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กลับเข้าสู่ภาวะเกือบปกติ ปะการังโขด (Porites lutea) ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของแนวปะการัง เป็นพวกแรกที่เริ่มมีสีน้ำตาลกลับคืนมา แสดงให้เห็นการฟื้นตัวที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ประมาณได้ว่าปะการังโขดที่ฟอกขาวสามารถฟื้นตัวได้ราว 50-75% (นั่นคือ ประมาณหนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่งได้ตายไป)

          แนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีความสมบูรณ์มาก แต่หลังจากเกิดการฟอกขาว ได้ดำเนินการตรวจสอบซ้ำในเดือนธันวาคม พ.ศ.2553 พบว่าแนวปะการังกลับอยู่ในสภาพเสียหายมาก ในขณะที่กลุ่มปะการังเขากวางและปะการังโต๊ะ (Acropora spp.) ในแนวปะการังบริเวณเกาะสิมิลัน ตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน

ปะการังโขด (Porites lutea) เริ่มกลับมามีสีน้ำตาล เมื่ออุณหภูมิน้ำลดลงสู่ปกติ ในปลายเดือนมิถุนายน (ซ้าย) และจากการประเมินในหลายพื้นที่ พบว่าปะการังโขด (P. lutea) ตายจากการฟอกขาว 25-50% (ขวา)

แนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีความสมบูรณ์มาก (ซ้าย) หลังจากเกิดการฟอกขาวทำให้แนวปะการังกลับอยู่ในสภาพเสียหายมาก (ขวา)

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล