ขนาด
ปะการังฟอกขาว
  • 25 กุมภาพันธ์ 2559
  • 420

สถานการณ์ปี 2559

          สถานการณ์ปัจจุบัน จากการติดตามสถานการณ์ทางด้านสมุทรศาสตร์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ทราบว่า ชายฝั่งทะเลอันดามัน ขณะนี้มีอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เคยเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (ปี พ.ศ. 2534, 2538, 2541, และ 2553) จากปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของปี จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยฯ พบว่าถ้าหากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นเกินกว่า 30.4 องศาเซลเซียส และต่อเนื่องนานเกิน 3 สัปดาห์ จะมีโอกาสเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว

messageImage_1456384365935

          ภาพด้านบน: ข้อมูลจากดาวเทียมเฝ้าติดตามปะการังฟอกขาวเนื่องจากความเค้นของความร้อน (Satellite Coral Bleaching Thermal Stress Monitoring) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2559 ภายใต้โครงการติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวปะการังด้วยภาพถ่ายดาวเทียม องค์กร NOAA  การประมวลผลจากดาวเทียมแสดงให้เห็นพื้นที่บริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดปะการังฟอกขาว สาหร่ายที่อาศัยอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกันกับปะการังและทำให้ปะการังมีสีสันต่างๆ นั้นไม่สามารถอาศัยอยู่ในเนื่อเยื่อของปะการังได้เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นก็จะทำให้ปะการังซีดขาว ถ้าหากปะการังเกิดการฟอกขาวก็จะเกิดการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อและมีโอกาสตายเป็นบางส่วนหรืออาจจะลุกลามจนตายทั้งก้อนปะการังได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://coralreefwatch.noaa.gov และสามารถติดตามสถานการณ์ผ่านระบบเฝ้าระวังปะการังฟอกขาวได้ที่ เว็บไซต์ www.dmcr.go.th/coralbleaching/

04-Apr-16 5-52-35 PM

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • พะยูน
    พะยูน
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด