ขนาด
วาฬบรูด้า
  • 4 ธันวาคม 2556
  • 1,073

อาหารของวาฬบรูด้า

          บริเวณที่พบวาฬบรูด้า จะพบฝูงปลาขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น ปลากะตักแก้ว ปลากะตักควาย และปลาไส้ตัน เป็นต้น ฝูงปลาเหล่านี้จะกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำ และกระโดดข้างเรือสำรวจเสมอ ๆ นอกจากนี้ยังพบฝูงนกนางนวลบินตามกินปลาใกล้ ๆ ตัววาฬและท้ายเรืออีกด้วย

อาหารของวาฬ
          ชาวประมงที่พบวาฬบรูด้าหากินในบริเวณอ่าวไทยตอนบน กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่คลื่นสงบและมีฝูงปลาเหยื่อ จะมีโอกาสพบวาฬได้มากในช่วงเวลาหัวน้ำขึ้น (น้ำกำลังขึ้น) เพราะฝูงปลาขนาดเล็กจะรวมฝูงและลอยขึ้นหน้าน้ำ ซึ่งวาฬสามารถว่ายน้ำต้อนกินได้ง่าย แต่ถ้ามีคลื่นลมแรง ปลาขนาดเล็กเหล่านี้จะไม่รวมฝูงกัน

          วาฬบรูด้าจะกินปลาที่รวมกันเป็นฝูงแต่ว่ายน้ำไม่เร็วนัก เช่น ปลากะตัก ปลาอกกะแล้ ปลาอีโกย (ปลาหลังเขียวชนิดหนึ่ง) ปลาทูขนาดเล็ก เป็นต้น

          ปลาที่รวมฝูงชนิดอื่นในบริเวณอ่าวไทยตอนบน เช่น ปลาหลังเขียว ปลาสีกุน และปลาข้างเหลือง ส่วนใหญ่จะรวมตัวใกล้ปีกโป๊ะ ซึ่งวาฬไม่เข้าไปกินในบริเวณนั้น ส่วนปลาหัวตะกั่วจะรวมฝูงกันในช่วงเวลากลางคืน

          นอกจากนี้ยังพบวาฬกินกุ้งเคยที่มีขนาดใหญ่ในสกุล Acetes spp. เคยชนิดนี้เรียกว่า เคยโกร่ง เคยหยาบ หรือเคยใหญ่ มีขนาดความยาว 7.0-32.9 มม. ชาวประมงเคยพบวาฬเสยกินเคยโกร่งใกล้ ๆ เรือรุนเคย

ขนาดและความเร็วในการว่ายน้ำของปลา
          ปลาทูจะรวมฝูงกันกลางทะเลหรือห่างชายฝั่งออกไป วาฬจะกินปลาทูขนาดเล็ก เพราะปลาทูขนาดเล็กจะว่ายน้ำช้า ส่วนปลาทูที่มีขนาดใหญ่จะว่ายน้ำเร็วทำให้วาฬบรูด้าว่ายน้ำไล่กินปลาไม่ทัน

          ปลาอีโกย (ปลาหลังเขียวชนิดหนึ่ง) วาฬบรูด้าจะกินเฉพาะขนาดเล็กเช่นกัน (ขนาดความยาวประมาณ 10-12 ซม.) เมื่อปลาขนาดใหญ่ขึ้น (ขนาดความยาวมากกว่า 13-14 ซม.) วาฬจะว่ายน้ำไล่กินปลาไม่ทัน

          ปลากุเรา เป็นปลารวมฝูงเช่นกัน แต่ว่ายน้ำเร็ว วาฬบรูด้าไม่สามารถว่ายน้ำไล่กินได้ทัน

ฝูงปลากะตักควาย อาหารของวาฬบรูด้า

ฝูงปลากะตักควาย อาหารของวาฬบรูด้า

ปลากะตักควาย, ไส้ตันควาย, กังฮื้อ (Stolepphorus indicus)

ปลากะตักควาย, ไส้ตันควาย, กังฮื้อ (Stolepphorus indicus)

ปลากะตักแก้ว, กะตักขาว, แป๊ะกัง (Escualosa thoracata)

ปลากะตักแก้ว, กะตักขาว, แป๊ะกัง (Escualosa thoracata)

ปลาอกกะแล้, กุแล, หลังเขียว (Sardinella sp.)

ปลาอกกะแล้, กุแล, หลังเขียว (Sardinella sp.)

ปลาหลังเขียว (ตัวอย่างจากอวนลอย)

ปลาหลังเขียว (ตัวอย่างจากอวนลอย)

เคยขนาดใหญ่ หรือเคยโกร่ง

เคยขนาดใหญ่ หรือเคยโกร่ง

ปลากะตักในปากวาฬ

ปลากะตักในปากวาฬ

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล