ขนาด
วาฬบรูด้า
  • 3 ธันวาคม 2556
  • 1,023

การจำแนกเพศ

          วาฬบรูด้า (B. edeni) เพศเมียใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย มีความยาวมากกว่าเพศผู้ประมาณ 1 ม. โลมาและวาฬจะมีร่องนม (Mammary slits) 2 ร่องอยู่ใกล้ๆ ช่องเพศ (Genital opening) มีหัวนมเล็ก ๆ อยู่ภายในร่องนม รอบ ๆ ร่องนมจะเป็นต่อมน้ำนม (Mammary gland) ช่องเพศของเพศเมียจะอยู่ใกล้กับรูก้น (Anus) มากกว่าในเพศผู้ ส่วนอวัยวะเพศผู้ (Penis) ปกติอยู่ในช่องท้อง

          เทคนิคการจำแนกเพศ ในโลมาบางชนิดก็ยากที่จะระบุเพศจากตำแหน่งของช่องเพศ จะให้แน่ใจว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมียได้โดยการใช้นิ้วสอดเข้าไปภายในช่องเพศ หากพบปลาย Penis แสดงว่าเป็นเพศผู้

          เราอาจเข้าใจว่าโลมาและวาฬเพศผู้ไม่มีร่องนม แต่ในความเป็นจริงแล้วในเพศผู้ก็มีร่องนม ในบางชนิดร่องนมอาจมีการลดรูป หรือไปรวมกันอยู่ตรงแนวกลางระหว่างช่องเพศและร่องก้น แต่อย่างไรก็ตามโลมาหรือวาฬบางชนิดเพศผู้ไม่มีร่องนม

          จากการศึกษาจำแนกเพศวาฬบรูด้า พบว่ามีร่องนมในทั้งสองเพศ แต่ตำแหน่งของร่องนมอยู่ต่างกัน โดยเพศเมียมีร่องนม 2 ร่องอยู่ด้านขวาและซ้ายของช่องเพศ ส่วนเพศผู้ร่องนมจะอยู่ด้านหลังของช่องเพศ ระหว่างช่องเพศและรูก้น

ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียของวาฬบรูด้า

ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียของวาฬบรูด้า

ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียของวาฬบรูด้า

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • พะยูน
    พะยูน
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin