ขนาด
วาฬบรูด้า
  • 3 ธันวาคม 2556
  • 524

ซี่กรอง

          คำว่า Baleen หรือเรียกอีกอย่างว่า Whalebone คือซี่กรอง (Baleen plates) ทั้งหมด ซี่กรองประกอบด้วยโปรตีนจำพวก Keratin (Keratin เป็นเส้นใยโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง ผม และเล็บของคน) ซี่กรองนี้มีการเจริญเติบโตจากส่วนฐานอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของวาฬ แม้ว่าซี่กรองด้านนอกจะมีช่องว่างเล็กๆ (มองเห็นจากด้านนอก) แต่ด้านในจะเป็นซี่กรองขนาดเล็กๆ จำนวนมากที่มีประสิทธิภาพมาก ทำหน้าที่ปิดช่องว่างเพื่อกรองอาหารไว้ภายในและสามารถปล่อยน้ำทะเลให้ถูกขับออกจากปากไปตามช่องว่างที่มองเห็นจากภายนอกนั้น

จำนวนซี่กรอง ขนาด รูปร่าง และสีสามารถใช้ในการจำแนกชนิดวาฬ ได้ซี่กรองก็เหมือนกับเล็บของคนที่การเจริญเติบโต หรือความแข็งแรงขึ้นกับคุณค่าของอาหาร

การเจริญเติบโตของซี่กรอง (Growth of baleen plates)

การเจริญเติบโตของซี่กรอง (Growth of baleen plates)

          การศึกษาการเจริญเติบโตของ Baleen plates ในลูกวาฬสีเทา (Gray whale) พบว่าด้านซ้ายและขวามีขนาดเท่ากัน แต่อัตราการงอกยาวของซี่กรองส่วนในสุดที่อยู่ใกล้มุมปากเร็วกว่าตรงกลางและด้านหน้าสุด (ในระยะ 33 สัปดาห์แรกหลังคลอด พบว่าอัตราส่วนความยาวของซี่กรองจากด้านในสุด ตรงกลาง และด้านหน้าสุด คือ 3.9, 2.2 และ 1.9 เท่าของความยาวของส่วนหัวถึงจุดกลางลูกตาตามลำดับ) ระยะแรกหลังคลอดซี่กรองด้านหน้าเจริญช้ามาก ซึ่งอาจขึ้นกับความสะดวกในการกินนมแม่ แต่หลังหย่านม (6-7 เดือน) แล้วพบว่าซี่กรองส่วนหน้าเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีขนาดความยาวเท่าซี่กรองของตัวเต็มวัย

การเจริญเติบโตของซี่กรอง (Growth of baleen plates)

          นอกจากนี้ Baleen plates ยังสามารถงอกหรือเจริญทดแทนส่วนที่ขาดหายไปได้ แต่ไม่พบเอกสารยืนยันว่าสามารถงอกทดแทนส่วนที่ขาดหายไปได้มากน้อยเพียงไร อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบน) พบว่า Baleen plates ของวาฬบรูด้ามีการเจริญเติบโตทดแทนส่วนที่แหว่งไป ตัวอย่างเช่น แม่ข้าวเหนียว

          ส่วน แม่สดใส ที่พบในเดือนพฤศจิกายน 2553 พบซี่กรองด้านซ้ายข้างล่างใกล้มุมปากขาดเป็นรูปตัววี (V- ตะแคง) ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2554 พบว่าในซี่กรองในตำแหน่งเดียวกันนี้ขาดเพิ่มขึ้นมากเป็นรูปตัวยู (U-ตะแคง)

          ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าลักษณะตำหนิบน Baleen plates เพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้พิสูจน์อัตลักษณ์ของวาฬได้ ควรใช้ตำหนิบนครีบหลัง รวมทั้งตำหนิอื่นๆ ประกอบ

การแหว่งของซี่กรองของ แม่สดใส

การแหว่งของซี่กรองของ แม่สดใส

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก