ขนาด
แมงกะพรุนพิษ
  • 15 สิงหาคม 2560
  • 358
แมงกะพรุนพิษ สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

แมงกะพรุนพิษในกลุ่ม Scyphozoa และกลุ่ม Hydrozoa

แมงกะพรุนไฟในกลุ่ม Scyphozoa

          แมงกะพรุนไฟในกลุ่ม Scyphozoa ได้แก่ แมงกะพรุนในสกุล Chrysaora (ไครซาโอรา) และ Pelagia (เพลาเกีย) แมงกะพรุนไฟมีลำตัวสีขาว สีส้มหรือหลากหลายสีสัน รูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ ผิวภายนอกของร่มเรียกว่า เอ็กซ์อัมเบรลลา (exumbrella) มีริ้วขอบร่ม (lappets) มีหนวดที่ขอบร่ม (marginal tentacle) เป็นสายยาว และมีหนวดรอบปาก (oral arms) (Cornelius 1995) พิษจากแมงกะพรุนไฟทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน (พจมาน 2553) แมงกะพรุนไฟสามารถพบได้ทั่วไปในทะเลเขตร้อนทั่วโลก เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมักพบบริเวณชายฝั่งทะเล อ่าวและปากแม่น้ำ (Martinet al. 1997; Hale 1999; Kwang et al. 2009)

ลักษณะสัณฐานวิทยาของแมงกะพรุนไฟ (Pelagia sp.)

แมงกะพรุนไฟในกลุ่ม Scyphozoa

แมงกะพรุนหัวขวดในกลุ่ม Hydrozoa

          แมงกะพรุนหัวขวดในกลุ่ม Hydrozoa เป็นแมงกะพรุนในสกุล Physalia มีลำตัวสีฟ้าอมชมพู ม่วง น้ำเงินหรือเขียว ร่ม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทุ่นลอย หรือ นิวมาโทฟอร์ (pneumatophore) รูปร่างเหมือนเรือใบ และมีกลุ่มหนวดออกมาจากด้านล่างของร่มเป็นสายยาว (บพิธและนันทพร 2547; Whitelegge 1899; Bardi and Marques 2007) จากรายงานความเป็นพิษที่รุนแรงที่สุด คือ ทำให้เสียชีวิต ซึ่งมีรายงานในชนิด Physalia physalis ที่มีความกว้างของร่ม ประมาณ 25-30 เซนติเมตร หรือมีความยาวหนวดมากกว่า 30 เมตร (Fenner 1997) อย่างไรก็ตามจากสถิติที่ผ่านมาโอกาสที่ผู้สัมผัสแมงกะพรุน P. physalis จะมีอาการมากจนถึงกับเสียชีวิตนั้นพบได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง โดยทั่วไปหากได้รับพิษควรได้รับการพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี รักษาตามอาการและระวังการติดเชื้อซ้ำบริเวณบาดแผล (พจมาน 2553)

ลักษณะสัณฐานวิทยาของแมงกะพรุนไฟ (Physalia sp.)

แมงกะพรุนไฟในกลุ่ม Hydrozoa

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2563
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล