ทุ่นในทะเล
- 9 มกราคม 2558
- 1,077
ลักษณะและรูปแบบทุ่น
ทุ่นแต่ละรูปแบบมีข้อดี ข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป โดยพบว่าหน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงานมีวิธีการดำเนินการ เช่น รูปแบบทุ่น วิธีการติดตั้ง งบประมาณ และวัตถุประสงค์ในการติดตั้งทุ่นแตกต่างกันออกไป
ข้อดีและข้อจำกัดของทุ่นแต่ละชนิด
ประเภททุ่น | ข้อดี | ข้อจำกัด |
---|---|---|
ทุ่นเจาะแบบฝังหมุด | - แข็งแรง กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม | - ชุดทุ่นมีราคาสูง - ใช้ได้ในระดับความลึกไม่เกิน 15 เมตร - การติดตั้งต้องใช้เทคนิคเฉพาะ |
ทุ่นเหล็กขนาดใหญ่ | - จอด เรือขนาดใหญ่ที่มีความยาวตั้งแต่ 15-30 เมตรได้ - ติดตั้งได้ที่ระดับความลึกมากกว่า15 เมตร | - ชุดทุ่นมีราคาสูง - ทุ่นลอยทำด้วยเหล็กอาจเกิดสนิมได้ - การติดตั้งต้องใช้เทคนิคเฉพาะ |
ทุ่นแบบผูกฐานวัตถุธรรมชาติ | - ติดตั้งง่าย ประหยัด และราคาถูก ติดตั้งได้ที่ในหลายระดับความลึก - สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น โฟม หรือแกลลอน มาเป็นทุ่นลอยหลักได้ - ดำเนินการได้ง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องใช้เทคโนโลยี - เจ้าหน้าที่ดำเนินการไม่จำเป็นต้องอบรมเทคนิคพิเศษที่ซับซ้อน | - พื้นที่ติดตั้งต้องเป็นปะการัง หรือโขดหินที่เป็นโพรง เท่านั้น - เชือกมีขนาดเล็ก อาจขาดเสียหายได้ง่าย - เชือกขูดกับสิ่งมีชีวิตประเภทเกาะติด - เกิดทัศนียภาพที่ไม่ดีใต้น้ำ |
ทุ่นแบบสมอสามตัว | - ติดในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้วิธีการเจาะ หรือผูกกับวัตถุได้ | - รับน้ำหนักและแรงกระชากได้ไม่มาก |
ทุ่นหมายแนวเขต | - ติดตั้งง่าย และรวดเร็ว - ใช้บอกแนวเขตตามวัตถุประสงค์ เช่น เขตห้ามเรือเข้า | - การกำหนดจุดต้องทำอย่างระมัดระวัง - เชือกสายยึดโยงมีขนาดเล็ก ไม่คงทุน ฉีดขาดง่าย |
ทุ่นสมอทรายมาโนช | - ชุดฐานติดตั้งทุ่นราคาถูก - ทนรับแรงกระชากได้ดี - เหมาะสำหรับการใช้หมายแนวเขต - สามารถกำหนดจุดติดตั้งได้ตามความต้องการ | - การติดตั้งต้องใช้เทคนิคเฉพาะ - ติดตั้งที่ความลึกไม่เกินความยาวของสายท่อเป่าทราย - ฐานทุ่นง่ายต่อการหลุดและฉีกขาดเมื่อได้รับแรงกระชาก |
ทุ่นสมอหกกลับ | - ดำเนินการติดตั้งได้รวดเร็ว - วัสดุที่ใช้คงทนแข็งแรง - ไม่ทำอันตรายต่อปะการัง - ติดตั้งได้ทั้งพื้นที่ ที่เป็นทราย และแนวทรายปะการัง | - ใช้เทคนิคเฉพาะในการติดตั้ง - ติดตั้งได้ในระดับความลึกไม่เกิน 18 เมตร (ไม่เกินความยาวของสายท่อพ่นพลังน้ำ) |
ทุ่นฐานซีเมนต์ลอยน้ำ | - เป็นทุ่นที่สมารถดำเนินการได้สะดวก สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานใต้น้ำได้ - มีวัสดุฐานที่คงทนแข็งแรง - ไม่ทำอันตรายต่อปะการัง | - ต้องใช้ความระมัดระวังสูงในการเคลื่อนย้าย เนื่องจากอาจมีโอกาสที่ทุ่นจะเสียหายจากการขนส่ง และจมลงก่อนจะถึงจุดหมาย - น้ำหนักของฐานทุ่นเมื่ออยู่ใต้น้ำอาจจะไม่เพียงพอสำหรับเรือขนาดใหญ่ |
ทุ่นสว่านทราย | - ติดตั้งในพื้นที่ที่เป็นพื้นทรายได้ - ส่งผลกระทบต่อปะการังน้อย | - ไม่เหมาะสำหรับใช้ผูกเรือ อาจถูกแรงดึงจากเรือไปทำอันตรายต่อปะการังได้ - การติดตั้งทำได้ยาก |
ทุ่นฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก | - สามารถติดตั้งได้ทุกสภาพพื้นที่ - ราคาไม่แพง | - การติดตั้งต้องอาศัยเครนเป็นตัวยกทำให้เกิดความยากลำบากในการติดตั้ง - ขนาดทุ่นจำเพาะต่อขนาดเรือ - หากติดตั้งผิดตำแหน่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อปะการังได้ |
ที่มา : คู่มือแนวทางการบริหารจัดการทุ่นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ,2555
ลักษณะและรูปแบบของทุ่นผูกเรือของหน่วยงานภาครัฐ
รายละเอียดการดำเนินการ |
หน่วยงาน |
|||||
---|---|---|---|---|---|---|
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง/กรมประมง |
กรมอุทยานฯ |
กรมป่าไม้ |
กองเรือ ภาคที่ 2 |
กองเรือ ภาคที่ 3 |
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
1.รูปแบบทุ่นผูกเรือ | ||||||
2..สี | ส้ม | ขาว,แดง,เหลือ | ส้มแสด | ส้ม | แดง,ขาว | ส้ม-น้ำเงิน |
3.วัสดุที่ใช้ทำทุ่น | Fiberglass และพลาสติก (ทุ่นอวน) | Fiberglass และเหล็ก | Polyethylene | Polyethylene เหล็ก | Polyethylene เหล็ก | |
4.ขนาดของทุ่น | เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.20 เมตร 0.25 เมตร และ 0.48 เมตร | เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.45 เมตร และ 1.2 เมตร | เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.42 เมตร และ 0.45 เมตร | เล็ก-ใหญ่ | เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.5 เมตร | เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร (ไฟเบอร์กลาส โพลีเอธิลีน) 1.20 เมตร (ทุ่นเหล็ก) |
5.วิธีการติดตั้ง | ดำน้ำติดตั้งทุ่นผูกเรือกับฐาน และการทิ้งฐานคอนกรีตโดยใช้เรือขนาดใหญ่ | ผูกกับฐานวัตถุธรรมชาติ เจาะฝังหมุด ฐานคอนกรีต และสมอแบบต่างๆ | ติดกับฐานยึดโดยใช้สมอทรายมาโนช | ติดกับฐานที่เป็นแท่งปูนโดยประสานกับท้องถิ่น | ใช้นักปฏิบัติงานใต้น้ำ | เครื่องเจาะไฮดรอลิก ผูกกับก้อนหินใต้น้ำ ใช้แท่นคอนกรีตหนักประมาณ 1 ตันถ่วงใต้น้ำ |
6.งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการติดตั้งทุ่น | 1,500-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบทุ่น | ทุ่นแบบมาตรฐาน ราคาต่อ 1 ทุ่นรวมแล้วไม่เกิน 10,000 บาท ทุ่นแบบพื้นบ้าน ค่าวัสดุอุปกรณ์และการดูแลรักษาไม่เกิน 3,000 บาท ทุ่นแบบประยุกต์ราคาต่อ 1 ทุ่น รวมไม่เกิน 5,000 บาท | 10,000-20,000 บาทขึ้น กับความลึกและสภาพฐานยึดใต้น้ำ | ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดและการใช้งาน | 3,000-4,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดและการใช้งาน | ทุ่นไฟเบอร์กลาสประมาณ 5,000 บาท ต่อ 1 จุด, ทุ่นเหล็กประมาณ 65,000-70,000 บาทต่อ 1 จุด |
7.วัตถุประสงค์หลักของทุ่นที่ติดตั้ง (ใช้ในกิจกรรมประเภทใด) | ป้องกันการทิ้งสมอเรือทำลายแนวปะการังในกิจกรรมท่องเที่ยวและการประมง | เพื่อการอนุรักษ์แนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล | ใช้ผูกเรือ,ใช้เป็นเครื่องมือในการขึ้นลงของนักดำน้ำ และใช้พักน้ำ (Safety Stop), ใช้กำหนดหมายใต้น้ำเพื่องานวิจัยทางทะเล | เพื่อหมายแนวเขตปะการังและเพื่อใช้ผูกเรือ | ทุ่นหมายแนวเขตปะการัง ทุ่นดำน้ำ ทุ่นผูกเรือใหญ่ | เพื่อใช้ผูกเรือแทนการทิ้งสมอ, เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงแนวเขตปะการัง |
8.ขนาดของเรือที่ใช้ทุ่นผูกเรือ | เรือหางยาวขนาดเล็ก เรือเร็ว เรือที่มีขนาดยาวไม่เกิน 20 เมตร | เรือนำเที่ยวขนาด 12-30 เมตร | เรือนำเที่ยวขนาด 20-30 เมตร | เรือประมงขนาดเล็กและขนาดกลาง | - | เรือขนาดเล็ก-เรือท่องเที่ยวขนาดกลาง |
ที่มา : คู่มือแนวทางการบริหารจัดการทุ่นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ,2555