ขนาด
ทุ่นในทะเล
  • 9 มกราคม 2558
  • 3,222
ทุ่นในทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของทุ่น

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของทุ่น โดยทั่วไปทุ่นในทะเลมีวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้
          1. ทุ่นผูกเรือ เพื่อให้เรือจอดแทนการทอดสมอ อันเป็นการป้องกันไม่ให้ปะการังเสียหายจากการทิ้งสมอเรือ หรือเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบการจอดเรือชนิดต่างๆ ทั้งเรือท่องเที่ยวและเรือประมงภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้ปะการังเสียหายจากการทิ้งสมอเรือ โดยทั่วไปเรือหรือวัตถุที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา เนื่องจากการเคลื่อนไหวของมวลน้ำ แรงลมหรือแรงคลื่นที่กระทำ เมื่อชาวเรือต้องการจอดเรือให้อยู่กับที่จึงต้องมีการยึดโยงเรือกับวัตถุใดก็ตามที่ยึดมั่นคงอยู่กับพื้นทะเล ซึ่งปกติชาวเรือจะใช้สมอเรือที่มีรูปร่างคล้ายตะขอทิ้งลงไปในทะเลเพื่อให้สมอยึดติดกับพื้น โดยทั่วไปสมอเรือจะทำด้วยเหล็กที่มีน้ำหนักและขนาดใหญ่มาก พอที่จะยึดเรือให้อยู่กับที่ได้ เมื่อเรือนำนักท่องเที่ยวเข้ามาดูปะการัง จึงจำเป็นต้องทิ้งสมอลงในบริเวณแนวปะการัง สมอซึ่งมีน้ำหนักมากจะกระแทกปะการัง ซึ่งถึงแม้จะมีโครงสร้างแข็ง แต่ก็เปราะบางทำให้ปะการังหักลง และมักจะตายในเวลาต่อมา ส่งผลให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ ดังนั้นทุ่นผูกเรือจึงเป็นสิ่งที่เราได้ติดตั้งไว้ถาวรคล้ายกับการทิ้งสมอเพื่อให้เรือมาผูกแทนการทิ้งสมอ ช่วยให้ปะการังปลอดภัยจากการถูกทำลายโดยสมอเรือ

          2. ทุ่นแสดงแนวเขต เป็นการแสดงเขตพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติทางทะเลในพื้นที่นั้น ๆ หากไม่มีเครื่องหมายแสดงเขตของอุทยานแห่งชาติ อาจทำให้บางครั้งชาวเรือที่นำเรือมาจากบริเวณอื่นไม่ทราบถึงกฎระเบียบในการปฏิบัติ การมีทุ่นผูกเรือซึ่งติดตราเครื่องหมายของอุทยานแห่งชาติ จะเป็นเสมือนเครื่องหมายบอกให้ชาวเรือตระหนักถึงเขตรับผิดชอบของหน่วยงาน (อัมรินทร์, 2551)

          3. เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวในการเข้ามาท่องเที่ยว การทิ้งและเก็บสมอเป็นงานที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับชาวเรือ เนื่องจากต้องเสียเวลาและแรงงานในการทิ้งและเก็บสมอ บางครั้งสมออาจติดหินใต้น้ำทำให้เกิดความยุ่งยากเพิ่มขึ้น การผูกเชือกเรือไว้กับทุ่นจะเป็นการลดเวลา แรงงานและความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ลงได้

          4. ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบการจอดเรือชนิดต่าง ๆ ทั้งเรือท่องเที่ยวและเรือประมง โดยเฉพาะภายในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ โดยทั่วไปในท้องทะเลข ชาวเรือมักจอดทิ้งสมอตามใจชอบ ทำให้บางครั้งเกิดภาพที่ไม่น่าดู เป็นการกีดขวางการเดินเรือของเรือลำอื่น และไม่สามารถควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการพื้นที่ ดังนั้นการติดตั้งทุ่นผูกเรือที่ได้รับการวางแผน และกำหนดตำแหน่งเป็นอย่างดีแล้ว รวมถึงการกำหนดบริเวณให้จอดเรือได้เฉพาะบริเวณที่ติดตั้งทุ่นหรือบริเวณที่กำหนดไว้ให้เท่านั้น จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสามารถควบคุมการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin