ทุ่นในทะเล
- 9 มกราคม 2558
- 2,266
ที่มาและความสำคัญ
ในความหมายตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ลอยน้ำสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยน้ำ เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง เป็นต้น พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม พระพุทธศักราช 2456 หมวดที่ 6 ข้อบังคับเบ็ดเตล็ด ภาค 1 ข้อบังคับทั่วไป (ฆ) ว่าด้วยทุ่นและเครื่องสำหรับผูกจอดเรือ มาตรา 113 ห้ามมิให้ผู้ใดมีเรือหรือทุ่นหรือเครื่องสำหรับผูกจอดเรือในน่านน้ำหรือทำเลทอดสมอจอดเรือใด ๆ เว้นไว้แต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า หรือเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่และโดยต้องถือและกระทำตามข้อบังคับกำกับอนุญาตและต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ซึ่งเจ้าหน้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่นั้นจะกำหนด แต่บัญญัติที่ว่านั้นไม่ใช้ตลอดถึงทุ่นและเครื่องหมายหรือเครื่องผูกจอดเรือของกระทรวงทหารเรือ ซึ่งจอดไว้ชั่วคราวในลำน้ำสำหรับการตรวจเซอร์เวย์ทำแผนที่ มาตรา 114 ห้ามมิให้ผู้ใดเอาเรือเก็บสินค้าหรือชนิดใด ๆ ที่คล้ายเรือเก็บสินค้า ซึ่งใช้เป็นเรือทุ่นหรือสำหรับบรรจุสิ่งของต่าง ๆ ทอดสมออยู่เป็นการประจำในน่านน้ำ ลำแม่น้ำ หรือทำเลทอดสมอจอดเรือตำบล ใด ๆ เว้นไว้แต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าหรือจากเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ และโดยต้องถือและกระทำตามข้อบังคับกำกับอนุญาตและต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ซึ่งเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่นั้นจะกำหนด มาตรา 115 ทุ่นหรือเครื่องสำหรับผูกจอดเรือ ซึ่งจะได้อนุญาตตามความในมาตรา 113 นั้น ให้ใช้สำหรับปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท และปรับเป็นรายวัน วันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องและเจ้าท่าเรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จะสั่งให้รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายทุ่นหรือเครื่องสำหรับผูกจอดเรือนั้นด้วยก็ได้