ขนาด
ความรู้ทั่วไป
  • 23 สิงหาคม 2556
  • 19,108

ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย

          ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ที่ได้มาจากการสำรวจ รวบรวม และจัดจำแนกชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายฝั่งสำคัญ เช่น แนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และป่าชายเลน รวมทั้งให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีความโดดเด่นพิเศษในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผลการศึกษาในด้านชนิดพันธุ์และการแพร่กระจายตลอดจนระดับของความชุกชุม สามารถใช้สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้พื้นฐานด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งยังมีอยู่อย่างจำกัดสำหรับประเทศไทย และผลการศึกษาที่ได้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลหลักในการกำหนด หรือบ่งชี้พื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity hotspot) ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ต้องการมาตรการด้านการอนุรักษ์และคุ้มครองเป็นพิเศษ ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งจัดเป็นฐานของการผลิตและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้น จำเป็นต้องมีการนำมาใช้อย่างชาญฉลาด คุ้มค่า และยั่งยืน ภายใต้แนวทางการจัดการและพัฒนาที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดฐานข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

          จากความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่ได้กล่าวมาข้างต้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินโครงการนำร่องสำหรับการศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในน่านน้ำไทย ได้ดำเนินการสำหรับพื้นที่เฉพาะแห่งที่มีความสำคัญ โดยเน้นพื้นที่มีขอบเขตกว้างในลักษณะของลุ่มน้ำ หรือระบบนิเวศของเกาะ/หมู่เกาะ พื้นที่ที่ได้ดำเนินการศึกษาสถานภาพด้านความหลากหลายแล้วในเบื้องต้นในห้วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมารวม 12 พื้นที่ ดังนี้ 

- ลุ่มน้ำประแสร์ - ลุ่มน้ำบางปะกง  - ลุ่มน้ำตรัง
- ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา - ลุ่มน้ำอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก - พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด
- ระบบนิเวศชายหาดจังหวัดชุมพร - ระบบนิเวศหาดหิน  - ระบบนิเวศหาดทราย
- เกาะพระทอง - หมู่เกาะกระ  - หมู่เกาะมัน 
- พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง    
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง