ขนาด
ปฏิทินทะเล
  • 19 พฤศจิกายน 2557
  • 465
ปฏิทินทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

หาดทรายดำ

ชื่อปรากฎการณ์/เหตุการณ์
หาดทรายดำ

เดือน
ทั้งปี

พื้นที่
ป่าชายเลนตราด อ.แหลมงอบ จ.ตราด

ผู้ให้ข้อมูล
นายธนิศ แสงวิสุทธิ์

หน่วยงาน
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 (ตราด)

รายละเอียด
หาดทรายดำ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากระบบนิเวศของธรรมชาติ ปัจจุบันมีเพียง 5 แห่งในโลก ซึ่งหนึ่งในห้านั้นก็ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแหลมมะขาม อำเภอแหลมงอบ จ.ตราด ดินแดนภาคตะวันออกของประเทศไทยเราหาดทรายดำหรือหาดหัวสวน(ชื่อเดิม) แห่งนี้มีความเชื่อกันว่า หาดทรายดำสามารถรักษาโรคได้ เพียงแค่ไปนอนหมกตัวอยู่ในทราย ด้วยความเชื่อนี้ทำให้เกิดเสียงเล่าลือกันไปต่าง ๆ นา ๆ จนทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างแห่กันมาที่หาดทรายดำกันมากขึ้น

หาดทรายดำในประเทศไทย หาดทรายดำในประเทศไทย
หาดทรายดำในประเทศไทย หาดทรายดำในประเทศไทย

รายละเอียดเพิ่มเติม
- หาดทรายดำในประเทศไทย

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด