ขนาด
ปฏิทินทะเล
  • 7 พฤศจิกายน 2557
  • 342
ปฏิทินทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

แมงกะพรุนหลากสี หาดแม่รำพึง

ชื่อปรากฎการณ์/เหตุการณ์
ปรากฏการณ์แมงกะพรุนหลากสี

เดือน
กันยายน

พื้นที่
หาดแม่รำพึงตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัด ระยอง

หน่วยงาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศวทอ.)

รายละเอียด
วันที่ 25กันยายน พ.ศ. 2557 พบการสะพรั่งของแมงกะพรุน จากการตรวจสอบเป็นแมงกะพรุนถ้วย ชนิด Catostylus townsendii และแมงกะพรุนหนัง Rhopilema hispidum ตั้งแต่บริเวณห่างจากฝั่งประมาณ 300 เมตรจนถึง 2 กิโลเมตรพบความหนาแน่นสูงสุดประมาณ 10 ตัวต่อตารางเมตร เป็นบางบริเวณ ส่วนแมงกะพรุนหนังที่พบในพื้นที่เดียวกันมีปริมาณน้อย

สาเหตุของการสะพรั่ง
อาจมีสาเหตุมาจากการเพิ่มปริมาณแพงก์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของแมงกะพรุน ประกอบกับกระแสน้ำที่พัดพาแมงกะพรุนเข้ามารวมตัวกันอย่างหนาแน่นในพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะเป็นก้นอ่าว และมีอีกหลายพื้นที่ที่เกิดปรากฎการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ อาทิ หาดเจ้าหลาว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และบริเวณหาดดงตาล อ.สัตหีบ จ. ชลบุรี

แมงกะพรุนบริเวณหาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง แมงกะพรุนบริเวณหาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง

รายละเอียดเพิ่มเติม
- เอกสารแมงกะพรุน

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์