ขนาด
ปฏิทินทะเล
  • 7 พฤศจิกายน 2557
  • 475
ปฏิทินทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ปะการังฟอกขาว

ชื่อปรากฎการณ์/เหตุการณ์
ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่ชายฝั่งน้ำตื้น

เดือน
พฤษภาคม

พื้นที่
เกาะลังกาจิว จ. ชุมพร เกาะเต่าและเกาะนางยวน จ.สุราษฎร์ธานี และหมู่เกาะสุรินทร์ จ. พังงา

หน่วยงาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง

รายละเอียด
พบการเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่ชายฝั่งน้ำตื้นฝั่งอ่าวไทย พบในเขตน้ำตื้น 2-5 เมตร ส่วนใหญ่เกิดกับปะการังโขด อ่าวไทยฝั่งตะวันออก เกิดปะการังฟอกขาวร้อยละ 40 - 60 ของปะการังมีชีวิต บริเวณหมู่เกาะมัน จังหวัดระยองส่วนใหญ่เกิดการฟอกขาวบางส่วนของโคโลนี คิดเป็นร้อยละ 70 และมีการฟอกขาวทั้งโคโลนี คิดเป็นร้อยละ 30 อ่าวไทยฝั่งตะวันตกเกิดการฟอกขาวร้อยละ 10-30 ของปะการังมีชีวิต บริเวณเกาะลังกาจิว จังหวัดชุมพรเกาะเต่าและเกาะนางยวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะการฟอกขาวบางส่วนของโคโลนีทั้งโคโลนีและเกิดสีซีดจางฝั่งทะเลอันดามันเกิดการฟอกขาวในบางพื้นที่บริเวณน้ำตื้น 2-4 เมตร ประมาณร้อยละ 5 บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา

มาตรการระยะสั้น
1) ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น
2) ติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาวจนเข้าสู่ภาวะปกติ
3) ควบคุมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เกิดปะการังฟอกขาว

มาตรการระยะยาว
1) สร้างความทนทานและปกป้องความต้านทานของปะการังโดยจัดการปัจจัยที่มีผลคุกคามและเกิดผลกระทบต่อปะการัง
2) ส่งเสริมการฟื้นตัวของปะการัง
3) ส่งเสริมชุมชนและผู้ได้รับผลกระทบให้มีการปรับตัวของสังคม ชุมชน และภาคธุรกิจ

แนวปะการังบริเวณอ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี แนวปะการังบริเวณอ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

รายละเอียดเพิ่มเติม
- ปะการังฟอกขาว

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง