ขนาด
ปฏิทินทะเล
  • 7 พฤศจิกายน 2557
  • 380
ปฏิทินทะเล สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

โลมาเผือก อ่าวตะเสะ

ชื่อปรากฎการณ์/เหตุการณ์
โลมาเผือก โลมาหลังโหนก อ่าวตะเสะ

เดือน
ธันวาคม-มีนาคม

พื้นที่
อ่าวตะเสะ ตำบล ตะเสะ อำเภอ หาดสำราญ จังหวัด ตรัง

ผู้ให้ข้อมูล
ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์

หน่วยงาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน

รายละเอียด
โลมาเผือก มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า โลมาหลังโหนก (Humpback dolphin, Sousa chinensis) เป็นโลมาประจำถิ่นที่อาศัยบริเวณแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ กินปลาและหมึกเป็นอาหาร อยู่รวมกันเป็นฝูง 10-20 ตัว อาจพบอยู่เป็นคู่หรือเดี่ยว แรกเกิดจะลำตัวสีเทาความยาวประมาณ 1 เมตร เมื่ออายุมากขึ้นจะมีประขาวเพิ่มมากขึ้นและเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวมากถึง 3.2 เมตร หนัก 250 กิโลกรัม โดยลำตัวจะมีสีขาวเทาหรือขาวอมชมพู เป็นที่มาของชื่อ โลมาเผือก

โลมาเผือก
เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง พ.ศ.2535 และอยู่ในบัญชี 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์

พื้นที่อ่าวตะเสะ
เป็นพื้นที่ปากแม่น้ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศหลากหลายชนิดทั้งปะการัง หญ้าทะเล และป่าชายเลน เป็นแหล่งเลี้ยงดูสัตว์น้ำวัยอ่อนที่สำคัญ เป็นที่มาของแหล่งอาหารของโลมาเผือก ชุมชนอ่าวตะเสะมีการรวมตัวกันเพื่อการอนุรักษ์และจัดการฝูงโลมาเผือกในพื้นที่ซึ่งมีมากกว่า 60 ตัว โลมาเผือกในพื้นที่อ่าวตะเสะมีความคุ้นเคยกับชาวประมงชายฝั่งเป็นอย่างดี มักพบว่ายอยู่ใกล้เรือประมงเพื่อรอกินปลาที่ได้จากอวนซึ่งชาวประมงโยนให้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบสัตว์ทะเลหายากชนิดอื่นได้แก่โลมาอิรวดี โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และพะยูน

โลมาเผือก โลมาเผือก

รายละเอียดเพิ่มเติม
- ชนิดพันธุ์โลมา/ปลาวาฬ
- การท่องเที่ยวชมปลาวาฬและโลมา

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • ป่าชายหาดและป่าพรุ
    ป่าชายหาดและป่าพรุ
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล